ภาพรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่นปัจจุบัน
ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) ประมาณการว่า ความต่างของผลผลิตทางเศรษฐกิจ (Output gap) ซึ่งวัดความแตกต่างระหว่างผลผลิตที่เกิดขึ้นจริงและผลผลิตตามศักยภาพของญี่ปุ่นจะอยู่ที่ -0.06% ในไตรมาสที่สามของปีที่แล้ว ลดลงเป็นไตรมาสที่สี่ติดต่อกัน โดยจะเป็นตัวเลขที่ดีที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน ปี 2563 เมื่อการระบาดของโควิด 19 เริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และนั่นหมายความว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มส่งสัญญาณให้เห็นถึงการปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น และเป็นไปตามการคาดการณ์หรือศักยภาพโดยรวมของประเทศ
โดย Output gap เป็นหนึ่งในข้อมูลที่ BOJ เฝ้าดูอย่างใกล้ชิด เพื่อพิจารณาว่าเศรษฐกิจกำลังขยายตัวได้มากพอที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากอุปสงค์หรือไม่ ซึ่งภายใต้การคาดการณ์ในปัจจุบัน BOJ คาดว่า Output gap จะขยายตัวไปในทิศทางบวกในระดับปานกลางต่อไป
นักวิเคราะห์มองเห็นว่าการปรับดีขึ้นของ Output gap จะส่งผลให้เกิดการปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้น และจะสามารถผลักดันอัตราเงินเฟ้อให้สูงกว่าเป้าหมาย 2% ของ BOJ ได้
จากผลสำรวจของรอยเตอร์ ดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคมในอัตราเร่งที่เร็วที่สุดในรอบเกือบ 41 ปี ขณะที่ตลาดและนักลงทุนต่างจับตามองอัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องเพื่อคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินที่อาจเกิดขึ้น
นักวิเคราะห์คาดว่า เนื่องจากการเริ่มปรับราคาเพิ่มขึ้นของราคาขายปลีกจากภาคธุรกิจเอกชน ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (CPI) ในโตเกียว ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วประเทศ อาจจะเพิ่มขึ้นถึง 3.8% ในเดือนธันวาคมจากปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นจาก 3.6% ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งจะกลายเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2525 ที่ 4.2%
ผลสำรวจยังชี้เพิ่มเติมว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นน่าจะกลับมาเกินดุลที่ 471.1 พันล้านเยน ในเดือนพฤศจิกายน หลังจากขาดดุล 64.1 พันล้านเยนในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นการขาดดุลครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมกราคมปีก่อนหน้า
โดยในสัปดาห์นี้ รัฐบาลจะเปิดเผยข้อมูล CPI ของโตเกียวและข้อมูลการใช้จ่ายของครัวเรือนในวันที่ 10 มกราคม เวลา 6.30 น. และข้อมูลบัญชีเดินสะพัดในวันที่ 12 มกราคม เวลา 06:50 น. ตามเวลาประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ทิศทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นในอนาคต คาดว่าจะมีเป้าหมายคือการวางรากฐานสำหรับการออกจากนโยบายการเงินแบบผ่อนปรนเป็นพิเศษของ BOJ ที่ใช้มาอย่างยาวนานนับสิบปี ผ่านการบรรลุเสถียรภาพด้านราคาและการเติบโตของค่าจ้างที่สูงขึ้น (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความนี้) จึงคาดว่าจะยังไม่มีการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วๆนี้ โดย BOJ มองว่าจะสนับสนุนเศรษฐกิจต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อที่ถูกผลักดันจากต้นทุนในปัจจุบัน จะเปลี่ยนเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์พร้อมกับค่าจ้างที่สูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันค่าจ้างมีการปรับขึ้นที่ช้ากว่าอัตราเงินเฟ้อ โดยค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน (Nominal wage) มีการปรับเพิ่มขึ้นเพียง 0.5% เท่านั้นในเดือนพฤศจิกายนจากปีก่อนหน้า
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ : 131.98, 132.13, 132.39
แนวรับสำคัญ : 131.46, 131.31, 131.05
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 131.36 - 131.46 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 131.46 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 132.12 และ SL ที่ประมาณ 131.30 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 131.98 - 132.08 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 132.40 และ SL ที่ประมาณ 131.45 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 131.98 - 132.08 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 131.98 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 131.40 และ SL ที่ประมาณ 132.15 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 131.36 - 131.46 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 131.08 และ SL ที่ประมาณ 132.00 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jan 09, 2023 01:08PM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 130.79 | 131.05 | 131.45 | 131.72 | 132.12 | 132.39 | 132.79 |
Fibonacci | 131.05 | 131.31 | 131.46 | 131.72 | 131.98 | 132.13 | 132.39 |
Camarilla | 131.67 | 131.73 | 131.79 | 131.72 | 131.91 | 131.97 | 132.03 |
Woodie's | 130.85 | 131.08 | 131.51 | 131.75 | 132.18 | 132.42 | 132.85 |
DeMark's | - | - | 131.58 | 131.78 | 132.25 | - | - |
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog