BOJ กับการเข้ามามีบทบาทในตลาดตราสารหนี้
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ดอลลาร์ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือนเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ขณะที่เงินเยนแข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน เนื่องจากนักลงทุนต่างคาดหวังว่าธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) อาจปรับเปลี่ยนนโยบาย YCC หรือนโยบายการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรซึ่งเป็นกรอบมาตรฐานสำหรับผลตอบแทนพันธบัตรทั่วโลกในการประชุมของ BOJ ในเช้าวันพุธที่จะถึงนี้
โดยนักลงทุนในตลาดพันธบัตรรัฐบาล ต่างกดดันให้ BOJ ออกจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของญี่ปุ่นทะลุเพดานที่ 0.5% ถึง 2 ครั้งในเวลาไล่เลี่ยกัน ซึ่งนับว่าเป็นการเคลื่อนไหวจากนักลงทุนในตลาดฯครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 7 ปี ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของตลาดพันธบัตรญี่ปุ่นในขณะนี้ ซึ่งที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่นมีการออกพันธบัตรมากกว่า 1,000 ล้านล้านเยน โดยตลาดพันธบัตรรัฐบาลของญี่ปุ่นถือว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก
อย่างไรก็ตาม จากคำกล่าวของกรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เมื่อสัปดาห์ก่อน เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นยังคงเผชิญกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในระดับต่ำอยู่ ซึ่งที่ผ่านมาญี่ปุ่นยังไม่มีตัวขับเคลื่อนเงินเฟ้อในเศรษฐกิจ และยังไม่ได้เผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนัก ก็ได้สอดคล้องกับเป้าหมายของนโยบายการเงินที่ BOJ เคยชี้แจงและเน้นย้ำ คือการวางรากฐานสำหรับการออกจากนโยบายการเงินแบบผ่อนปรนเป็นพิเศษผ่านการบรรลุเสถียรภาพด้านราคาและการเติบโตของค่าจ้างที่สูงขึ้น ทำให้ BOJ จำต้องเข้ามามีบทบาทในตลาดฯอย่างเลี่ยงไม่ได้
โดย BOJ ได้ซื้อพันธบัตรเกือบ 5 ล้านล้านเยน ในวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการซื้อแบบรายวันที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ และเมื่อเช้าวันจันทร์ที่ผ่าน ธนาคารฯก็มีการเสนอซื้อ JGB อีก 1.3 ล้านล้านเยน ทำให้อัตราผลตอบแทนขณะสิ้นสุดเซสชันอยู่ที่ 0.51%
แม้นักลงทุนในตลาดจะพยายามชอร์ตเซลล์สวนทางกับ BOJ เพราะคาดหวังว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นเร็วๆนี้ ซึ่งตามกลไกแล้วจะทำให้ราคาพันธบัตรลดลง และยีลด์สูงขึ้น แต่การเข้าซื้อพันธบัตรของ BOJ ดังกล่าว ซึ่งเป็นการทำให้ราคาพันธบัตรเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยลดลง ก็เรียกว่าเป็นการลดบทบาทหน้าที่ที่แท้จริงของตลาดที่มีกลไกเพื่อเป็นตัวกลางสำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนและกำหนดราคาพันธบัตรและอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทั้งยังทำให้ปริมาณการซื้อขายจากนักลงทุนในตลาดลดลง
ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนทั่วโลกจึงต่างจับตาการประชุมของ BOJ ในวันพุธที่จะถึงนี้ ตามเวลาประเทศไทย เพื่อประเมินท่าทีของ BOJ และจุดยืนในตลาดฯ รวมถึงทิศทางการออกนโยบายการเงินต่อไป
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 128.94, 129.09, 129.34
แนวรับสำคัญ : 128.44, 128.29, 128.04
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 128.34 - 128.44 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 128.44 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 128.97 และ SL ที่ประมาณ 128.31 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 128.94 - 129.04 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 129.30 และ SL ที่ประมาณ 128.47 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 128.94 - 129.04 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 128.94 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 128.45 และ SL ที่ประมาณ 129.07 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 128.34 - 128.44 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 128.20 และ SL ที่ประมาณ 128.90 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jan 17, 2023 09:34AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 127.78 | 128.04 | 128.43 | 128.69 | 129.08 | 129.34 | 129.72 |
Fibonacci | 128.04 | 128.29 | 128.44 | 128.69 | 128.94 | 129.09 | 129.34 |
Camarilla | 128.63 | 128.69 | 128.75 | 128.69 | 128.87 | 128.93 | 128.99 |
Woodie's | 127.84 | 128.07 | 128.49 | 128.72 | 129.14 | 129.37 | 129.78 |
DeMark's | - | - | 128.56 | 128.75 | 129.20 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog