ภาพรวมตลาดหุ้นสหรัฐฯและเศรษฐกิจโลกผ่านรายงาน IMF
ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 1% ในวันอังคาร และปิดเดือนมกราคมบวก 6.2% นับเป็นการปิดบวกของเดือนมกราคมครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2562 โดยทั้ง 11 ภาคส่วนธุรกิจของดัชนี S&P 500 จบลงในแดนบวก นำโดยกลุ่มธุรกิจวัสดุหรือวัตถุดิบสำหรับการผลิตและกลุ่มธุรกิจสินค้าฟุ่มเฟือย ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 2%
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังจับตาดูรายงานผลประกอบการ ท่ามกลางความกังวลว่าเศรษฐกิจอาจเผชิญกับภาวะถดถอย โดยจากการรายงานผลประกอบการของบริษัทมากกว่า 140 แห่ง ผลประกอบการโดยรวมของดัชนี S&P 500 คาดว่าจะลดลง 3% ในไตรมาสที่สี่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามข้อมูลของ Refinitiv IBES ทั้งนี้ ในสัปดาห์นี้ ตลาดยังคงรอคอยบริษัทอีกมากกว่า 100 แห่งในดัชนี S&P 500 ที่คาดว่าจะรายงานผลประกอบการ รวมถึงข่าวความเคลื่อนไหวหรือทิศทางการประชุมธนาคารกลางในสหรัฐอเมริกาและยุโรป
ล่าสุด เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2566 เล็กน้อย เนื่องจากอุปสงค์โดยรวมของผู้ประกอบการและผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่ค่อนข้างสูง รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ลดลง และการเปิดเศรษฐกิจของจีนอีกครั้งหลังการยกเลิกข้อจำกัดโควิดที่เข้มงวด
โดย IMF กล่าวว่าการเติบโตทั่วโลกจะยังคงลดลงจาก 3.4% ในปี 2565 แต่คาดว่าจะเติบโตที่ 2.9% ในปี 2566 แทนการคาดการณ์ของ World Economic Outlook เมื่อเดือนตุลาคม ที่การคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจทั่วโลกจะเติบโตเพียง 2.7%
สำหรับปี 2567 IMF กล่าวว่าการเติบโตทั่วโลกจะมีการเร่งตัวขึ้นเล็กน้อยเป็น 3.1% แต่ทว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนตุลาคมปีที่แล้วถึง 10% เนื่องจากผลของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง ที่จะส่งผลต่ออุปสงค์ที่จะชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดมากขึ้น
โดย IMF ยังคงเน้นย้ำถึงความสำคัญในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับปัจจัยหรือตัวแปรอื่นๆที่คาดไม่ถึง อาทิเช่น การหยุดชะงักของระบบเศรษฐกิจและห่วงโซ่อุปทานที่อาจมาจากสงครามที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในยูเครน รวมถึงการต่อสู้กับโควิด-19 ของจีนที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม แม้ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะลดลงก็ตาม
ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ GDP ปี 2566 IMF คาดว่า GDP ของสหรัฐฯ จะเติบโตที่ 1.4% เพิ่มขึ้นจาก 1.0% ที่คาดการณ์ไว้ในเดือนตุลาคม และลดลงจาก 2.0% ในปี 2565 ที่มีการบริโภคและการลงทุนที่แข็งแกร่งเกินคาดในไตรมาสที่สามของปี 2565 รวมถึงตลาดแรงงานที่ยังคงตึงตัว
อย่างไรก็ดี IMF กล่าวว่า อัตราการออมที่เพิ่มขึ้นก็ได้สร้างความเป็นไปได้ต่อการเติบโตของอุปสงค์ที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับภาคการท่องเที่ยว อีกทั้งการผ่อนคลายแรงกดดันจากตลาดแรงงานในประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วบางประเทศ ก็ได้ช่วยให้อัตราเงินเฟ้อที่ร้อนแรงผ่อนกำลังลง รวมถึงอาจช่วยลดความจำเป็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่รุนแรงในอนาคตได้
ทว่า ตัวแปรสำคัญอย่างความร้อนแรงของสงครามในยูเครนที่อาจทวีคูณขึ้นได้ทุกเมื่อ ก็อาจทำให้ราคาพลังงานและอาหารพุ่งสูงขึ้น เช่นเดียวกับฤดูหนาวในปีหน้า ที่อาจส่งผลให้ยุโรปต้องดิ้นรนพยายามจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลวแข่งกับจีน
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญๆที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯในช่วงนี้ จะยังคงอยู่ที่ทิศทางการออกนโยบายการเงินจากเฟดในสัปดาห์นี้ รวมถึงรายงานผลประกอบการของบริษัทและองค์กรต่างๆในดัชนีสหรัฐฯช่วงต้นปี นโยบายการคลังสหรัฐฯที่อาจมีการปรับลดลงของการใช้จ่ายภาครัฐและหนี้สาธารณะ และข้อจำกัดจากประเทศคู่เศรษฐกิจที่อาจส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานสำคัญๆอย่างประเทศจีน จึงทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯในช่วงนี้ค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากปัจจัยและทิศทางหลายๆอย่างที่ยังไม่แน่ชัด
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD US 500 [S&P 500]
แนวต้านสำคัญ : 4076.3, 4083.8, 4095.9
แนวรับสำคัญ : 4052.1, 4044.6, 4032.5
5H Outlook
1H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 4044.1 - 4052.1 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 4052.1 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 4083.0 และ SL ที่ประมาณ 4041.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 4076.3 - 4084.3 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 4093.0 และ SL ที่ประมาณ 4050.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 4076.3 - 4084.3 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 4076.3 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 4051.0 และ SL ที่ประมาณ 4087.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 4044.1 - 4052.1 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 4036.0 และ SL ที่ประมาณ 4079.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Feb 01, 2023 09:33AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 4019.7 | 4032.5 | 4051.4 | 4064.2 | 4083.1 | 4095.9 | 4114.8 |
Fibonacci | 4032.5 | 4044.6 | 4052.1 | 4064.2 | 4076.3 | 4083.8 | 4095.9 |
Camarilla | 4061.6 | 4064.5 | 4067.4 | 4064.2 | 4073.2 | 4076.1 | 4079.0 |
Woodie's | 4022.7 | 4034.0 | 4054.4 | 4065.7 | 4086.1 | 4097.4 | 4117.8 |
DeMark's | - | - | 4057.8 | 4067.4 | 4089.5 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog