ภาพรวมเศรษฐกิจอังกฤษปัจจุบัน
ล่าสุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (BoE) ได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 50 จุด มาอยู่ที่ 4% สูงสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตทางการเงินในปี 2008 โดยเตือนว่าการต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อยังไม่สิ้นสุด และผลของนโยบายยังไม่ได้มีผลอย่างที่คาดหวังไว้เต็มที่ แต่มีความเป็นไปได้ที่จะยุตินโยบายที่เข้มงวดเร็วกว่าที่คิด
ทั้งนี้ ตลาดได้คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยที่ BoE จะปรับสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 4.5% ในช่วงกลางปีนี้ และคาดว่าจะผลักดันอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2% ได้ในระยะกลาง จึงมีการคาดการณ์กันว่า BoE อาจไม่เห็นความจำเป็นที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกมากนัก แม้จะยังมีตัวแปรและความไม่แน่นอนอื่นๆอยู่อีกในระดับสูง
โดยนักวิเคราะห์ยังคงไม่ตัดความเป็นไปได้ที่ BoE จะปรับอัตราดอกเบี้นขึ้นอีก 25 จุดในเดือนมีนาคมนี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษที่ยังสูงกว่าในสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่ 10.5% ในเดือนธันวาคม รวมถึงตลาดแรงงานที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันด้านราคาและค่าจ้างในประเทศที่แข็งแกร่งกว่าที่คาด รวมถึงแรงกดดันการเพิ่มขึ้นค่าจ้างจากการนัดหยุดงานในวงกว้างกว่ารอบกว่าทศวรรษ โดยข้าราชการ ครู และพนักงานภาครัฐอื่นๆ ก็ได้บ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้ออาจจะฝังแน่นอยู่ในเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ดี หากการเคลื่อนไหวของราคาพลังงานและสินค้าอื่นๆไม่ได้เผชิญกับความผันผวนอีกมากนัก ก็อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเริ่มกลับมาลดลง และมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างรวดเร็วในปีนี้ โดยนักวิเคราะห์มองว่าหากมีสัญญาณการชะลอตัวของการปรับเพิ่มขึ้นราคา และการตึงตัวในตลาดแรงงานที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง BoE อาจจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4% ในเดือนมีนาคมและตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้
ทั้งนี้ เนื่องด้วยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่มีสัญญาณชะลอตัวในช่วงปลายปีที่ผ่านมา จึงทำให้การปรับเพิ่มดอกเบี้ยในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเพิ่มต้นทุนสินเชื่อผู้บริโภคให้สูงขึ้นไปอีก ยังเป็นการตอกย้ำว่า BoE ได้เหยียบเบรคลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจอังกฤษที่เดิมทีชะลอตัวอยู่แล้ว โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าสหราชอาณาจักรจะเป็นประเทศเดียวในกลุ่ม G7 ที่เศรษฐกิจจะหดตัวในปีนี้
ทางด้านคู่สกุลเงินดอลลาร์ได้ดีดตัวแข็งค่ากว่า 1.5% เมื่อค่ำวันศุกร์ที่ผ่านมา เนื่องจากข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจอย่างอัตราการจ้างงานของสหรัฐฯที่เผยแพร่เมื่อวันศุกร์ได้เร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนมกราคม ส่งผลให้อัตราการว่างงานแตะระดับต่ำสุดในรอบ 53 เดือนครึ่งที่ 3.4% บ่งชี้ถึงตลาดแรงงานที่ตึงตัวอย่างหนัก และจำนวนงานที่เปิดรับในปีที่ผ่านมาที่แข็งแกร่งกว่าที่คาดไว้มาก แม้อัตราการเติบโตของค่าจ้างจะอ่อนตัวลงในเดือนมกราคม แต่รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงในปี 2022 ก็ได้เพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ส่งผลให้ตลาดปรับมุมมองใหม่และเปลี่ยนความคิดที่ว่าเฟดอาจจะชะลอนโยบายการเงินที่เข้มงวดเร็วๆนี้
ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรฯจะเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในวันศุกร์นี้ ซึ่งคาดว่าจะแสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจที่ทรงตัวในไตรมาสที่สี่ โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว BoE กล่าวว่าอังกฤษอาจเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ในปีนี้ แต่มีแนวโน้มว่าจะไม่รุนแรงอย่างที่คิด เนื่องจากราคาพลังงานที่เริ่มปรับลดลงและกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอตัว
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD GBP/USD
แนวต้านสำคัญ : 1.2060, 1.2066, 1.2074
แนวรับสำคัญ : 1.2044, 1.2038, 1.2030
1H Outlook
15Min Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.2036 - 1.2044 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.2044 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2065 และ SL ที่ประมาณ 1.2033 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2060 - 1.2068 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2074 และ SL ที่ประมาณ 1.2044 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2060 - 1.2068 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.2060 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2043 และ SL ที่ประมาณ 1.2071 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.2036 - 1.2044 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2030 และ SL ที่ประมาณ 1.2062 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Feb 06, 2023 10:25AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.2021 | 1.2030 | 1.2043 | 1.2052 | 1.2065 | 1.2074 | 1.2087 |
Fibonacci | 1.2030 | 1.2038 | 1.2044 | 1.2052 | 1.2060 | 1.2066 | 1.2074 |
Camarilla | 1.2048 | 1.2050 | 1.2052 | 1.2052 | 1.2057 | 1.2059 | 1.2061 |
Woodie's | 1.2021 | 1.2030 | 1.2043 | 1.2052 | 1.2065 | 1.2074 | 1.2087 |
DeMark's | - | - | 1.2047 | 1.2054 | 1.2069 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog