เศรษฐกิจออสเตรเลียช่วงนี้
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางของออสเตรเลียได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและการเติบโตของค่าจ้าง รวมถึงเน้นย้ำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มอีก สร้างความกังวลต่อเศรษฐกิจที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย
ล่าสุด นายฟิลิป โลว์ ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จะถูกเชิญเข้าร่วมการไต่สวนของรัฐสภาในสัปดาห์นี้ หลังจากสร้างความประหลาดใจให้กับหลายฝ่ายจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างฉุกละหุกที่ผ่านมา ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงขึ้นถึง 325 จุดในระยะเวลาเพียง 10 เดือน
ทั้งนี้ จากรายงานประจำไตรมาสของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) กล่าวว่า แรงกดดันด้านต้นทุนที่มาจากในประเทศยังคงเพิ่มขึ้น แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจากดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวมอาจพุ่งไปสู่จุดสูงสุดในไตรมาสที่แล้วก็ตาม และแม้ว่าการเติบโตของราคาสินค้าทั่วโลกจะเย็นลง แต่ราคาสินค้าในออสเตรเลียกลับยังคงอยู่ในระดับสูง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในภาคบริการก็เพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้
อย่างไรก็ดี เมื่อวันอังคารที่แล้ว RBA ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 9 ติดต่อกันเป็นระดับสูงสุดในรอบทศวรรษที่ 3.35% และยังส่งสัญญาณเพิ่มเติมถึงความจำเป็นในการปรับเพิ่มขึ้นอีกหลังรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในไตรมาสสี่ ส่งผลให้ตลาดจำต้องปรับมุมมองใหม่ถึงอัตราสุดท้ายที่อาจสูงถึง 4% โดยนักวิเคราะห์คาดว่าจะมีการปรับเพิ่มขึ้น 25 จุดอีกสองครั้งเร็วๆนี้ และกล่าวว่าความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 25%
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อราคาผู้บริโภคอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 32 ปีที่ 7.8% และขณะนี้ คาดว่าจะชะลอตัวมาอยู่ที่เพียง 6.7% ภายในเดือนมิถุนายนปีนี้ เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่ 6.3% โดยคาดว่าจะชะลอตัวลงไปอยู่ในกรอบเป้าหมายของ RBA ที่ 2-3% ได้ภายในกลางปี 2568
ด้านการเติบโตของค่าจ้างประจำปี คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 4.2% ณ สิ้นปีนี้ เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 3.9% ก่อนที่จะลดลงมาอยู่ที่ 3.8% ภายในกลางปี 2568 โดยจากข้อมูลของ RBA พบว่า บริษัทเอกชนราวหนึ่งในสามรายงานว่า ได้มีการปรับขึ้นของค่าจ้างกว่า 5% ในไตรมาสที่สี่ที่ผ่านมา และอัตราการว่างงานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 4.4% ภายในกลางปี 2568 จากปัจจุบันที่ 3.5%
นอกจากนี้ RBA ยังได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้เป็น 1.6% เทียบกับการคาดการณ์ที่ 1.4% ก่อนหน้านี้ ซึ่งการผ่อนคลายมาตรการโควิดของจีน ก็ได้ส่งผลดีต่อการเติบโตของอุปสงค์ทั่วโลกและเงื่อนไขทางการค้ารวมถึงรายได้ประชาชาติของออสเตรเลีย
ล่าสุด ดอลลาร์ออสเตรเลียที่อ่อนไหวต่อความเสี่ยง ได้อ่อนค่าลงเล็กน้อยพร้อมกับตลาดหุ้นเอเชียเนื่องจากความกังวลถึงอัตราดอกเบี้ยที่อาจมีการปรับสูงขึ้นอีกของสหรัฐฯ และการหดตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจ
โดยดอลลาร์เคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 5 สัปดาห์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักในเช้าวันจันทร์ ก่อนการรายงาน CPI ที่จะมาถึงในวันอังคาร เป็นผลจากตัวเลขราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคมแทนที่จะลดลงตามที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า โดยจากผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ติดตาม แสดงให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์หนึ่งปีอยู่ที่ 4.2% ซึ่งสูงกว่าตัวเลขผลสำรวจในเดือนที่แล้ว
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6914, 0.6920, 0.6928
แนวรับสำคัญ : 0.6896, 0.6890, 0.6882
5H Outlook
1H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6886 - 0.6896 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6896 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6919 และ SL ที่ประมาณ 0.6881 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6914 - 0.6924 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6928 และ SL ที่ประมาณ 0.6896 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6914 - 0.6924 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6914 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6896 และ SL ที่ประมาณ 0.6929 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6886 - 0.6896 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6882 และ SL ที่ประมาณ 0.6919 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Feb 13, 2023 01:55PM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6873 | 0.6882 | 0.6896 | 0.6905 | 0.6919 | 0.6928 | 0.6943 |
Fibonacci | 0.6882 | 0.6890 | 0.6896 | 0.6905 | 0.6914 | 0.6920 | 0.6928 |
Camarilla | 0.6904 | 0.6906 | 0.6908 | 0.6905 | 0.6912 | 0.6914 | 0.6916 |
Woodie's | 0.6875 | 0.6883 | 0.6898 | 0.6906 | 0.6921 | 0.6929 | 0.6945 |
DeMark's | - | - | 0.6889 | 0.6901 | 0.6912 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog