เศรษฐกิจออสเตรเลียฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงปลายปี-ต้นปี
จากข้อมูลจากสำนักงานสถิติออสเตรเลีย (ABS) เมื่อวันอังคาร ระบุว่า ยอดค้าปลีกของออสเตรเลียมีการดีดตัวขึ้นสูงในเดือนมกราคม โดยเพิ่มขึ้น 1.9% ในเดือนมกราคม หลังจากที่ลดลงถึง 4.0% ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เปลี่ยนไปรวมถึงธุรกิจแบบอีคอมเมิร์ซ บ่งชี้ถึงการบริโภคโดยรวมที่ค่อยๆฟื้นตัว
นอกจากนี้ บัญชีเดินสะพัดออสเตรเลียก็มีเกินดุลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในไตรมาสที่สี่ จากการส่งออกทรัพยากรที่ฟื้นตัว และการนำเข้าที่ชะลอตัวลง กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจออสเตรเลียไปในทางที่ดีขึ้น
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติออสเตรเลียเมื่อวันอังคารเปิดเผยว่า บัญชีเดินสะพัดได้เกินดุลเพิ่มขึ้นเป็น 14.1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในไตรมาสที่สี่ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สามที่เกินดุลที่ 0.8 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย และดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 6.5 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
ทั้งนี้ สำหรับการเกินดุลที่ผ่านมา มาจากแรงหนุนจากการนำเข้าที่ชะลอตัว และการส่งออกที่แข็งแกร่งมากที่สุด จากอุปสงค์ของจีนที่ฟื้นตัวในช่วงปลายปีช่วยสนับสนุนการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ โดยจีนเป็นปลายทางการส่งออกที่ใหญ่ที่สุด และเป็นผู้อุปโภคบริโภคสินค้าโภคภัณฑ์หลักของออสเตรเลีย
เศรษฐกิจออสเตรเลียจึงคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของจีนในปีนี้ หลังจากที่สองปีครึ่งที่ผ่านมา ข้อจำกัดทางการค้าของจีนส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ของออสเตรเลียตั้งแต่ถ่านหินไปจนถึงไวน์ ซึ่งการตกลงทางการทูตระหว่างทั้งสองประเทศจะช่วยเพิ่มความหวังในการฟื้นฟูการส่งออกและสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าใหม่อีกครั้ง แม้ผู้ผลิตหลายรายจะเริ่มวางแผนที่จะหลีกเลี่ยงการพึ่งพาจีนมากเกินไปในอนาคต
นอกจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นแล้ว การปรับลดลงของการขาดดุลในรายได้หลักสุทธิของออสเตรเลียยังสนับสนุนการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดล่าสุด โดยรายได้หลักสุทธิขาดดุลลดลงเหลือ 2.64 หมื่นล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย จากยอดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.04 หมื่นล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการจ่ายเงินปันผลที่น้อยลงแก่นักลงทุนต่างชาติ รวมถึงการได้รับผลตอบแทนบางส่วนจากการลงทุนต่างประเทศ
ทั้งนี้ การเกินดุลการค้าคาดว่าจะมีส่วนช่วยเพิ่ม GDP ประจำไตรมาสที่สี่ของออสเตรเลียได้ 1.1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 1.3% เล็กน้อย โดยแนวโน้มดังกล่าวยังคงสะท้อนถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจออสเตรเลีย แม้คาดว่าในปี 2566 นี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจของออสเตรเลียจะชะลอตัว จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจในปีนี้
ทางด้านคู่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ร่วงลงจากระดับสูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา จากการลดลงของข้อมูลตัวเลขยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ ที่ -4.5% ในเดือนมกราคม สวนทางกับการพุ่งขึ้นสูงในเดือนธันวาคมที่ +5.1% จากยอดคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากบริษัท Boeing ส่งผลให้ดอลลาร์ออสเตรเลียปรับตัวขึ้นเล็กน้อยช่วงนี้ ในขณะที่ตลาดยังคงรอข้อมูลตัวเลขเพิ่มเติมจากข้อมูลการจ้างงานและดัชนีราคาผู้บริโภคประจำเดือนกุมภาพันธ์ของสหรัฐฯ
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6749, 0.6752, 0.6757
แนวรับสำคัญ : 0.6739, 0.6736, 0.6731
1H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6733 - 0.6739 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6739 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6750 และ SL ที่ประมาณ 0.6728 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6749 - 0.6755 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6763 และ SL ที่ประมาณ 0.6737 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6749 - 0.6755 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6749 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6737 และ SL ที่ประมาณ 0.6759 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6733 - 0.6739 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6725 และ SL ที่ประมาณ 0.6750 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Feb 28, 2023 10:02AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6725 | 0.6731 | 0.6737 | 0.6744 | 0.6750 | 0.6757 | 0.6763 |
Fibonacci | 0.6731 | 0.6736 | 0.6739 | 0.6744 | 0.6749 | 0.6752 | 0.6757 |
Camarilla | 0.6741 | 0.6742 | 0.6743 | 0.6744 | 0.6745 | 0.6746 | 0.6747 |
Woodie's | 0.6725 | 0.6731 | 0.6737 | 0.6744 | 0.6750 | 0.6757 | 0.6763 |
DeMark's | - | - | 0.6741 | 0.6746 | 0.6754 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog