SVB กับตลาดหุ้นสหรัฐฯ
ตลาดหุ้นสหรัฐฯล่าสุด ได้รับผลกระทบจากการล้มของ SVB Financial Group ธนาคารผู้รับเงินฝากและให้สินเชื่อบริษัทสตาร์ทอัพจำนวนมาก อย่างกะทันหันเมื่อวันศุกร์ สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อตลาดทั่วโลก นับเป็นเป็นความล้มเหลวที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ธนาคารของสหรัฐฯ นับตั้งแต่วิกฤตการเงินปี 2551 ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมตลาดกังวลว่าจะเกิดการหยุดชะงักในระบบสถาบันการเงิน และสร้างผลกระทบเป็นโดมิโน่ในวงกว้าง
ธนาคารแห่งซิลิคอนแวลลีย์ (SVB) ซึ่งเป็นฐานหลักสำหรับเศรษฐกิจสตาร์ทอัพ ได้กำเนิดมาจากพฤติกรรมการเสาะหาเงินทุนราคาถูกที่มีมานานหลายทศวรรษ โดยมีความเสี่ยงเฉพาะตัวจากเงินฝากที่ไม่มีหลักประกันจำนวนมาก และผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง ที่ทำให้ธนาคารได้รับความเสี่ยงเป็นพิเศษ จึงส่งผลให้ขณะนี้ Federal Deposit Insurance Corp (FDIC) หรือหน่วยงานรับประกันเงินฝากสหรัฐฯ เริ่มเฝ้าระวังและจับตาดูธนาคารในภูมิภาคอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันจากปัจจัยดังกล่าวที่มีส่วนทำให้ SVB ล้มอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ หนึ่งในเหตุการณ์ที่คาดว่าได้นำไปสู่ความล้มเหลวของ SVB มาจากการขายพันธบัตรรัฐบาลฯเพื่อล็อคต้นทุนทางการเงิน และเพิ่มสภาพคล่องอันเนื่องจากการคาดการณ์ของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา หลายฝ่ายคาดว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้การเข้าถึงเงินทุนราคาถูกมีจำกัด และสร้างความเปราะบางในระบบเศรษฐกิจบางส่วน ส่งผลให้เกิดการขาดทุนถึง 1.8 พันล้านดอลลาร์ รวมทั้ง SVB ซึ่งทำธุรกิจในฐานะธนาคารแห่งซิลิคอนแวลลีย์ มีเงินฝากที่ไม่มีหลักประกัน ณ สิ้นปี 2565 มากถึง 89% ของมูลค่าเงินฝากจำนวน 175,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งตามกฎ FDIC มีการรับประกันเงินฝากที่ 250,000 ดอลลาร์
ล่าสุด นักลงทุนและเหล่าลูกค้าของธนาคารกำลังเผชิญกับความกังวลว่า SVB จะหาผู้ซื้อได้เร็วๆนี้หรือไม่ ซึ่งหากเทียบในช่วงวิกฤตการเงินปี 2551 Washington Mutual พบผู้ซื้อทันที แต่สำหรับ IndyMac ในปี 2009 ใช้เวลาในการหาผู้ซื้อประมาณแปดเดือน
ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ดังกล่าว คาดว่าจะส่งกระทบต่อบริษัทต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทที่พึ่งพาธนาคารในการจ่ายค่าจ้างพนักงาน และผู้ผลิตวิดีโอเกม Roblox Corp และผู้ผลิตอุปกรณ์สตรีมมิ่ง Roku (NASDAQ:ROKU) Inc ที่มีเงินฝากหลายร้อยล้านดอลลาร์ที่ธนาคาร ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีหลักประกัน และส่งผลให้หุ้นของบริษัทร่วงลง 10%
ล่าสุด ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ว่า จะเข้ามาจัดการกับวิกฤตการธนาคารในเช้าวันจันทร์ ซึ่งในขณะเดียวกัน เพื่อพยุงความเชื่อมั่นในระบบธนาคาร โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ร่วมทุนและชุมชนสตาร์ทอัพ หน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐฯ อย่างธนาคารกลางสหรัฐฯ และ FDIC กำลังพิจารณาที่จะจัดตั้งกองทุนที่จะช่วยให้หน่วยงานกำกับดูแลสามารถรับประกันเงินฝากจำนวนมากในธนาคารที่อาจประสบปัญหาหลังจากการล่มสลายของ Silicon Valley Bank ได้ โดยจะเปิดช่องทางและเครื่องมือใหม่ๆเพื่อให้ธนาคารต่างๆสามารถเข้าถึงกองทุนฉุกเฉิน รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐฯ จะช่วยให้ธนาคารสามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารกลางได้ง่ายขึ้น และให้ความเชื่อมั่นว่าลูกค้าของธนาคาร SVB จะสามารถเข้าถึงเงินฝากทั้งหมดได้ตั้งแต่วันจันทร์
อย่างไรก็ดี หน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐฯ ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันพบสัญญาณเพียงเล็กน้อยที่บ่งบอกถึงวิกฤตการเงินแบบปี 2008 ซึ่งการล้มลงของสถาบันการเงินเพียงแห่งเดียวได้ก่อให้เกิดวิกฤตในระบบการเงินในวงกว้าง โดยเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังของสหรัฐฯ และทำเนียบขาวต่างก็ตั้งข้อสังเกตว่าระบบธนาคารของสหรัฐฯ ยังคงมีความยืดหยุ่นมากกว่าที่เคยเป็นในวิกฤตการเงินในปี 2551 รวมถึงผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็ให้ความเห็นตรงกันว่า ผลกระทบที่ส่งต่อแรงกระเพื่อมไปยังภาคธนาคารและสถาบันการเงินที่เหลืออาจมีจำกัด เนื่องจากสถาบันการเงินขนาดใหญ่มีพอร์ตการลงทุนและลูกค้าเงินฝากที่หลากหลายมากกว่า SVB
ทั้งนี้ การประกาศเข้าช่วยเหลือและมาตรการจากหน่วยงานกำกับดูแล ในการจำกัดผลกระทบของ Silicon Valley Bank ล่าสุด ได้ส่งผลให้ฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวพุ่งขึ้นในการซื้อขายในเอเชียเซสชั่นเมื่อเช้าวันจันทร์ โดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า S&P 500 ของสหรัฐฯ พุ่งขึ้น 1.2% และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า Nasdaq พุ่งขึ้น 1.3% ในขณะที่นักลงทุนเดิมพันว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯในอนาคตอาจมีความรุนแรงน้อยลง
อย่างไรก็ตาม ความล้มเหลวของ Silicon Valley Bank ครั้งนี้ มีแนวโน้มที่จะเพิ่มแรงกดดันให้บริษัทต่างๆ ในการทำกำไรในอนาคต และอาจสิ้นสุดยุคที่บริษัทเทคโนโลยีขนาดเล็กหรือบริษัทสตาร์ทอัพจะสามารถต่อสายป่าน และยอมทนต่อการขาดทุนเป็นเวลาหลายปีเพื่อขยายส่วนแบ่งการตลาด จึงอาจส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักทางเทคโนโลยี หรือซัพพลายเชนทางเทคโนโลยี รวมถึงลดการแข่งขัน และเพิ่มต้นทุนการดำเนินงานและคงที่ในกิจการเป็นวงกว้างได้ในอนาคตระยะยาว
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD US30 DJIA
แนวต้านสำคัญ : 32354.7, 32420.7, 32527.7
แนวรับสำคัญ : 32140.7, 32074.7, 31967.7
5H Outlook
1H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 32130.7 - 32140.7 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 32140.7 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 32400.0 และ SL ที่ประมาณ 32125.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 32354.7 - 32364.7 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 32470.0 และ SL ที่ประมาณ 32135.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 32354.7 - 32364.7 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 32354.7 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 32140.0 และ SL ที่ประมาณ 32369.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 32130.7 - 32140.7 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 32010.0 และ SL ที่ประมาณ 32357.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Mar 13, 2023 12:48PM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 31862.4 | 31967.7 | 32142.4 | 32247.7 | 32422.4 | 32527.7 | 32702.4 |
Fibonacci | 31967.7 | 32074.7 | 32140.7 | 32247.7 | 32354.7 | 32420.7 | 32527.7 |
Camarilla | 32240.0 | 32265.7 | 32291.3 | 32247.7 | 32342.7 | 32368.3 | 32394.0 |
Woodie's | 31897.0 | 31985.0 | 32177.0 | 32265.0 | 32457.0 | 32545.0 | 32737.0 |
DeMark's | - | - | 32195.0 | 32274.0 | 32475.0 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2, Investing 3
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog