เงินบาทไทยอาจมีแนวโน้มอ่อนตัวมากกว่านี้
เมื่อวานที่ผ่านมา ณ เวลา 19:30 น. ได้มีการประกาศดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ผลที่ได้คือตามการคาดการณ์ทั้งคู่ โดยที่ Core CPI จะอยู่ที่ 5.5% และ CPI จะอยู่ที่ 6% โดยที่มีการเพิ่มขึ้น 0.5%MOM และ 0.4%MOM ตามลำดับ
การประกาศในครั้งนี้ส่งผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นจนไปอยู่ที่ราคา 34.499 THB/USD (ณ เวลา 09:17 GMT+7) โดยที่จุดสูงสุดของวันนี้อยู่ที่ 34.608 THB/USD และมีจุดต่ำสุดอยู่ที่ 34.474 THB/USD ซึ่งไม่ได้เกิดความผันผวนมากนักเพราะ CPI เป็นไปตามที่คาดการณ์ แต่สุดท้ายแล้วตลาดก็มีการเก็งการขึ้นอัตราดราดอกเบี้ยกันว่าจะขึ้น 0.25% หรือ 0.5% กันแน่เนื่องจากตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่งมากและยังถือว่าร้อนแรงอยู่
ส่วนของประเทศไทยนั้นในไตรมาส 4 ที่ผ่านมาได้ขยายตัวเพียง 1.4% แต่การส่งออกติดลบถึง 10.5% เมื่อเทียบจากไตรมาส 3 พบว่าติดลบถึง 1.5% ส่งผล GDP ปี 2565 ขยายตัวแค่ 2.6% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ 3.2% ซึ่งนี่เองก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าในช่วงเดือนที่ผ่านมาและคาดว่าการส่งออกของไทยในไตรมาสต่อไปอาจจะไม่ได้ดีขึ้นมากนักเนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อและเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยสู้ดีนัก
การขึ้นดอกเบี้ยของประเทศไทยเรานั้นจะมีการกำหนดประชุมกำหนดนโยบายการเงิน 6 ครั้งต่อปี เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยนโยบายกับของสหรัฐอเมริกายังต่างกันอีกมาก โดย CPI ของไทยเมื่อมีการประกาศ ณ วันที่ 3 มีนาคม 2566 ลดลงมาเหลือเพียง 3.79% เท่านั้นซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ ทำให้การขึ้นดอกเบี้ยในรอบนี้ยังคงขึ้นที่ 0.25% เหมือนเดิม
ดอกเบี้ยนโยบาย ณ วันนี้อยู่ที่ 1.5% โดยคาดว่าจะมีการเพิ่ม 0.25% อีกครั้งเป็น 1.75% ในการประชุมรอบต่อไป เนื่องจากไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยว แต่ความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่คาด ซึ่งมาจากการส่งผ่านต้นทุนไปสู่ผู้บริโภค
นายศรชัย สุเนต์ตา รองประธานบริหาร SCB CIO กล่าวไว้ว่า “ค่าเงินสหรัฐคาดว่าจะแข็งค่าขึ้นในระยะสั้น ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลง หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ส่งสัญญาณว่าจะต่อสู้กับเงินเฟ้อต่อไปผ่านการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและคาดว่า FED จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งสุดท้ายในเดือนพฤษภาคม” ทั้งนี้การเข้าไปซื้อพัณธบัตรรัฐบาลของอเมริกายังคงให้ดอกเบี้ยที่ดีกว่าในประเทศไทยจึงมีโอกาศที่ทำให้เงินบาทกลับมาอ่อนค่าอีกครั้ง
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H)
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 15 มีนาคม 2566 เวลา 19:26 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 34.556 | 34.608 | 34.656 | 34.708 | 34.756 | 34.808 | 34.856 |
Fibonacci | 34.608 | 34.646 | 34.670 | 34.708 | 34.746 | 34.770 | 34.808 |
Camarilla | 34.678 | 34.687 | 34.696 | 34.708 | 34.714 | 34.723 | 34.733 |
Woodie's | 34.556 | 34.608 | 34.656 | 34.708 | 34.756 | 34.808 | 34.856 |
DeMark's | - | - | 34.683 | 34.721 | 34.783 | - | - |
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 15 มีนาคม 2566 เวลา 19:26 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 64.063 | ซื้อ |
STOCH(9,6) | 57.923 | ซื้อ |
STOCHRSI(14) | 90.783 | ซื้อมากเกินไป |
MACD(12,26) | 0.032 | ซื้อ |
ADX(14) | 32.265 | ซื้อ |
Williams %R | -22.951 | ซื้อ |
CCI(14) | 157.1758 | ซื้อ |
ATR(14)
|
0.0782
|
ผันผวนมากขึ้น
|
Highs/Lows(14)
|
0.0921
|
ซื้อ
|
Ultimate Oscillator
|
61.719
|
ซื้อ
|
ROC
|
0.347
|
ซื้อ
|
Bull/Bear Power(13)
|
0.1540
|
ซื้อ
|
ซื้อ:10 ขาย:0 ถือหุ้นไว้:0 สรุป:ซื้อทันที |