ตลาดน้ำมันดิบยังคงผันผวนและถูกจำกัด
หลังจากราคาน้ำมันดิบร่วงติดต่อกันสามเซสชั่น ส่งผลให้ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้ร่วงสู่ระดับที่เลวร้ายที่สุดของปี โดยวันก่อน สัญญาซื้อขายล่วงหน้าทั้งสอง อย่าง WTI และ Brent ตกลงมากกว่า $1 ต่อบาร์เรล ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือน ล่าสุด ราคาน้ำมันดิบดีดตัวกลับ หลังจากมีรายงานว่าซาอุดีอาระเบียและรัสเซียมีการพูดคุยเพื่อหารือเกี่ยวกับการปรับปรุงเสถียรภาพของตลาดพลังงาน แม้ว่าความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่เกิดจากวิกฤตภาคการธนาคารยังคงกดดันราคา
โดยสื่อของทางการซาอุดีอาระเบียรายงานว่า รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของประเทศ และรองนายกรัฐมนตรีของรัสเซียพบกันที่เมืองหลวงของซาอุดิอาระเบียเพื่อหารือเกี่ยวกับความพยายามของกลุ่ม OPEC+ ในการรักษาสมดุลของตลาด ซึ่งจะยังคงเดินหน้าตามความตกลงร่วมกันในกลุ่ม OPEC+ เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ที่จะลดเป้าหมายการผลิตลง 2 ล้านบาร์เรลต่อวันจนถึงสิ้นปี 2566
ทั้งนี้ เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงในวันพฤหัสบดี ทำให้การซื้อน้ำมันด้วยสกุลเงินดอลลาร์มีราคาถูกลงสำหรับผู้ซื้อต่างประเทศ ก็ได้ช่วยกระตุ้นอุปสงค์น้ำมันขึ้นมาเล็กน้อย แม้ว่าการตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 50 จุด ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ล่าสุดจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน รวมถึง ความเสี่ยงจากผลกระทบการลุกลามในกลุ่มธนาคารยังคงทำให้นักลงทุนหวาดกลัวว่าจะเกิดภาวะถดถอยทั่วโลก และส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันโดยรวมลดลง แต่ราคาน้ำมันล่าสุด พลิกกลับมารับแรงหนุนจากการฟื้นตัวในวงกว้างในตลาดการเงิน หลังจากเครดิต สวิสได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานกำกับดูแลของสวิส และจากเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ที่ให้คำมั่นว่าระบบธนาคารของสหรัฐฯยังคงแข็งแกร่งอยู่
นอกจากนี้ OPEC และสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ได้คาดการณ์ว่าอุปสงค์น้ำมันจะแข็งแกร่งขึ้นในสัปดาห์ต่อจากนี้ จากการฟื้นตัวในประเทศจีน ที่คาดว่าจะผลักดันอุปสงค์น้ำมันดิบขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ แต่ในทางกลับกัน ความกังวลเกี่ยวกับอุปทานส่วนเกินก็ยังคงส่งผลกระทบต่อตลาดอยู่มาก โดยปริมาณน้ำมันดิบคงคลังในกลุ่มประเทศพัฒนา (OECD) ได้พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือนในเดือนกุมภาพันธ์ อีกทั้ง ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ มีการขยายตัวมากกว่าที่คาดไว้ เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ที่ชะลอตัวของผู้อุปโภคน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก ในขณะที่ปริมาณการผลิตจากรัสเซียยังคงทรงตัว แม้ว่าจะมีการขู่ถึงการปรับลดอุปทานลงอีกในอนาคตก็ตาม ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบมีความผันผวนสูงตามภาวะตลาดเงินทั่วโลกในช่วงนี้ ซึ่งปัจจัยสำคัญๆที่จะส่งผลกระทบต่อราคา ก็จะยังคงเป็นทิศทางนโยบายการเงินจากสหรัฐฯ และมาตรการช่วยเหลือและยับยั้งการลุกลามจากวิกฤติการธนาคาร รวมถึงอุปสงค์จากประเทศจีนเป็นหลัก
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ : 75.24, 75.42, 75.72
แนวรับสำคัญ : 74.64, 74.46, 74.16
5H Outlook
1H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 74.56 - 74.64 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 74.64 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 75.35 และ SL ที่ประมาณ 74.53 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 75.24 - 75.32 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 75.60 และ SL ที่ประมาณ 74.61 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 75.24 - 75.32 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 75.24 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 74.66 และ SL ที่ประมาณ 75.35 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 74.56 - 74.64 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 74.35 และ SL ที่ประมาณ 75.27 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Mar 17, 2023 11:02AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 73.88 | 74.16 | 74.66 | 74.94 | 75.44 | 75.72 | 76.22 |
Fibonacci | 74.16 | 74.46 | 74.64 | 74.94 | 75.24 | 75.42 | 75.72 |
Camarilla | 74.96 | 75.03 | 75.10 | 74.94 | 75.24 | 75.31 | 75.38 |
Woodie's | 74.00 | 74.22 | 74.78 | 75.00 | 75.56 | 75.78 | 76.34 |
DeMark's | - | - | 74.80 | 75.01 | 75.58 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog