ดอลลาร์/เยน ผันผวนจากการประชุมที่จะถึง
เงินเยนของญี่ปุ่นในตอนนี้อยู่ในช่วงที่ไม่ค่อยสู้ดีนักเนื่องจากมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายทั้งในประเทศและนอกประเทศเองก็ตาม รวมถึงการล้มของธนาคารทั้ง 3 แห่งในในสหรัฐก็เห็นหนึ่งในปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้
สำนักข่าวนิกเกอิ เอเชีย รายงานว่า ความระส่ำระสายในตลาดการเงินโลกในระยะหลังนี้ส่งผลกระทบต่อธนาคารในญี่ปุ่นอย่างมาก โดยธนาคารชั้นนำ 3 แห่งของญี่ปุ่นสูญเสียมูลค่าตลาดกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ธนาคารในญี่ปุ่นได้รับผลกระทบหนักเพราะธนาคารเหล่านี้ได้ซื้อพันธบัตรไว้เป็นจำนวนมาก เมื่อเกิดวิกฤตการเงินจากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย จึงทำให้พันธบัตรเหล่านี้มีมูลค่าลดลง ส่วนสาเหตุที่ธนาคารในญี่ปุ่นถือพันธบัตรมากก็เนื่องจากญี่ปุ่นแทบไม่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจมานานหลายทศวรรษ ทำให้โอกาสในการปล่อยสินเชื่อลดลง และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) แก้ปัญหาด้วยการอัดฉีดสภาพคล่องแทน
ชุนอิจิ ซูซูกิ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังกล่าวไว้ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังประสานงานอย่างใกล้ชิดกับธนาคารกลางญี่ปุ่นและหน่วยงานการเงินในต่างประเทศ เพื่อป้องกันผลกระทบจากปัญหาการธนาคารของธนาคารตะวันตกหลายแห่ง
แคโรล คอง นักยุทธศาสตร์การลงทุนสกุลเงินของธนาคารคอมมอนเวลธ์ แบงก์ ออฟ ออสเตรเลีย (CBA) ระบุว่า "ความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐในวงเงินสว็อปของเฟดอยู่ในระดับต่ำในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นสัญญาณในทางบวก อย่างไรก็ดี ยังคงมีสัญญาณบ่งชี้ถึงภาวะตึงเครียดในตลาดการระดมทุน ดังนั้นนักลงทุนในสกุลเงินจะยังคงใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมากต่อไป" และเธอกล่าวเสริมว่า "ดิฉันคิดว่าสิ่งที่จะมีความสำคัญสำหรับนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟด ก็คือการรับประกันต่อนักลงทุนว่า ระบบการเงินสหรัฐมีความแข็งแกร่งและสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วมาก"
ทั้งนี้สายตาส่วนใหญ่กำลังจับตามองไปที่นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่กำลังจะมีการประชุมในเร็วๆนี้ โดยมีความคาดหวังเพิ่มขึ้นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกเพื่อบรรเทาแรงกดดันในภาคการเงิน
ในส่วนของนักลงทุนเองรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของเฟดประจำวันที่ 21-22 มี.ค. โดยเครื่องมือ CME FedWatch tool ระบุว่า นักลงทุนในตลาดคาดการณ์ว่า มีโอกาส 26.2% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.50-4.75% ในการประชุมวันที่ 21-22 มีนาคม และมีโอกาส 73.8% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 21-22 มีนาคม
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 130.80 | 130.98 | 131.35 | 131.53 | 131.90 | 132.08 | 132.45 |
Fibonacci | 130.98 | 131.19 | 131.32 | 131.53 | 131.74 | 131.87 | 132.08 |
Camarilla | 131.55 | 131.60 | 131.65 | 131.53 | 131.76 | 131.81 | 131.86 |
Woodie's | 130.88 | 131.02 | 131.43 | 131.57 | 131.98 | 132.12 | 132.53 |
DeMark's | - | - | 131.44 | 131.57 | 131.99 | - | - |
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 130.98 - 131.35 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 131.35 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 132.08 และ SL ที่ประมาณ 130.80 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 131.90 - 132.08 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 132.45 และ SL ที่ประมาณ 130.98 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 131.90 - 132.08 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 131.90 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 130.98 และ SL ที่ประมาณ 132.45 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 130.98 - 131.35 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 130.80 และ SL ที่ประมาณ 132.08 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 21 มีนาคม 2566 17:43 น. GMT+7ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 47.165 | ถือหุ้นไว้ |
STOCH(9,6) | 43.854 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 100.000 | ซื้อมากเกินไป |
MACD(12,26) | -0.740 | ขาย |
ADX(14) | 30.770 | ขาย |
Williams %R | -41.440 | ซื้อ |
CCI(14) | -2.8366 | ถือหุ้นไว้ |
ATR(14) | 0.7779 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0000 | ถือหุ้นไว้ |
Ultimate Oscillator | 53.505 | ซื้อ |
ROC | -0.913 | ขาย |
Bull/Bear Power(13) | -0.1320 | ขาย |
ซื้อ:2 ขาย:5 ถือหุ้นไว้:3 สรุป:ขาย |