เงินดอลลาร์ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
เงินดอลลาร์สหรัฐได้มีการแข็งค่าขึ้นในการซื้อขายช่วงเช้าวันนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องภาวะเงินเฟ้อว่าสามารถปรับลดลงได้หรือไม่ และจากการที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) จะปรับลดการผลิตน้ำมัน
กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) ได้มีการประกาศในวันอาทิตย์ที่ 2 เมษายนที่ผ่านมาว่า กลุ่มโอเปกพลัสจะปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงไปอีกราว 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยจะเริ่มปรับลดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงสิ้นปีนี้ โดยประกาศใหม่นี้แสดงให้เห็นว่า กลุ่มโอเปกพลัสตั้งใจที่จะปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงรวมกันประมาณ 3.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือราว 3.7% ของอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลก ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในช่วงเช้าที่ผ่านมา
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 133.45 เยน (ณ เวลา 16:22) ส่วนทางด้านดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับขึ้นสู่ 102.592 โดยดัชนีดอลลาร์พยายามจะพุ่งขึ้นเหนือระดับ 103 ให้ได้เป็นครั้งแรกในรอบ 1 สัปดาห์ซึ่งได้มีการขึ้นไปแตะและได้ปรับตัวลดลงมาเล็กน้อย
นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าคาดว่า มีโอกาสราว 37.4% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 2-3 พฤษภาคม และมีโอกาสราว 62.6% ที่เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 2-3 พฤษภาคม โดยโอกาสดังกล่าวปรับขึ้นจากระดับ 48% ที่เคยคาดไว้ในวันศุกร์ อย่างไรก็ดี นักลงทุนคาดว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงหลังจากนั้น โดยอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงราว 0.40% ก่อนสิ้นปีนี้
ทางด้านกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ ได้มีการรายงานในวันศุกร์ที่ผ่านมาไว้ว่า ปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค ซึ่งครองสัดส่วนสูงกว่า 2 ใน 3 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสหรัฐ มีการปรับขึ้น 0.2% ในเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากพุ่งขึ้นถึง 2.0% ในเดือนมกราคม
ส่วนดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดนิยมใช้ มีการปรับขึ้น 0.3% ในเดือนกุมภาพันธ์เมื่อเทียบรายเดือน (MoM) หลังจากปรับขึ้น 0.6% ในเดือนมกราคม และอยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ไว้ในโพลล์รอยเตอร์ที่ +0.4% สำหรับเดือนกุมภาพันธ์ ในขณะที่ดัชนี PCE แบบเทียบรายปี (YoY) มีการปรับขึ้น 5.0% ในเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากพุ่งขึ้นถึง 5.3% ในเดือนมกราคม ในส่วนทางด้านดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน มีการปรับขึ้น 4.6% ในเดือนกุมภาพันธ์เมื่อเทียบรายปี (YoY) หลังจากทะยานขึ้น 4.7% ในเดือนมกราคม
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 133.70, 133.93, 134.37
แนวรับสำคัญ: 133.03, 132.59, 132.36
ที่มา: Investing.com
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 132.36 | 132.59 | 133.03 | 133.26 | 133.70 | 133.93 | 134.37 |
Fibonacci | 132.59 | 132.85 | 133.00 | 133.26 | 133.52 | 133.67 | 133.93 |
Camarilla | 133.28 | 133.34 | 133.40 | 133.26 | 133.53 | 133.59 | 133.65 |
Woodie's | 132.46 | 132.64 | 133.13 | 133.31 | 133.80 | 133.98 | 134.47 |
DeMark's | - | - | 133.15 | 133.32 | 133.82 | - | - |
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 132.59 - 133.03 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 133.03 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 133.93 และ SL ที่ประมาณ 132.36 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 133.70 - 133.93 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 134.37 และ SL ที่ประมาณ 132.59 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 133.70 - 133.93 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 133.70 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 132.59 และ SL ที่ประมาณ 134.37 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 132.59 - 133.03 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 132.36 และ SL ที่ประมาณ 133.93 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 65.437 | ซื้อ |
STOCH(9,6) | 62.399 | ซื้อ |
STOCHRSI(14) | 98.183 | ซื้อมากเกินไป |
MACD(12,26) | 0.440 | ซื้อ |
ADX(14) | 56.398 | ซื้อ |
Williams %R | -16.993 | ซื้อมากเกินไป |
CCI(14) | 171.9951 | ซื้อ |
ATR(14) | 0.5679 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.3036 | ซื้อ |
Ultimate Oscillator | 59.170 | ซื้อ |
ROC | 0.755 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | 1.3180 | ซื้อ |
ซื้อ:9 ขาย:0 ถือหุ้นไว้:0 สรุป:ซื้อทันที |