อัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นยังคงส่งสัญญาณสูงขึ้น
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตของญี่ปุ่นเดือนมีนาคม (PMI) หดตัวน้อยสุดในรอบ 5 เดือน จากการขยายตัวของสินค้าคงคลัง โดยเพิ่มขึ้นเป็น 49.2 ในเดือนมีนาคม จาก 47.7 ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและคำสั่งซื้อใหม่ยังคงหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 บ่งชี้ว่ายังคงได้รับผลกระทบจากความต้องการที่ลดลงทั้งในตลาดในประเทศและต่างประเทศ
ในขณะเดียวกัน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือนมีนาคมพบการขยายตัวในอัตราที่เร็วที่สุดในรอบกว่า 9 ปี เพิ่มขึ้นเป็น 55.0 จาก 54.0 ในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากผลกระทบที่ลดลงของการระบาดของ COVID-19 และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ดีขึ้น ช่วยชดเชยภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงอ่อนแอ ส่งผลให้ดัชนี PMI แบบรวมตัวเลขภาคการผลิตและบริการ ขยายตัวเร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 โดยดัชนีมีการปรับเพิ่มขึ้นเป็น 52.9 ในเดือนมีนาคม จาก 51.1 ของเดือนก่อนหน้า เหนือระดับตัวเลขมาตรฐานที่ 50 เป็นเวลาสามเดือนติดต่อกัน
ทางด้านดัชนีการจ้างงานพบการขยายตัวเป็นเดือนที่สองและเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดในรอบ 10 เดือน เนื่องจากปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นและธุรกิจที่เริ่มขยายตัวอีกครั้ง
ทั้งนี้ จากการการสำรวจ พบว่าบริษัทต่างๆในญี่ปุ่นได้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับอัตราเงินเฟ้อที่จะอยู่เหนือกรอบเป้าหมาย 2% ในหลายปีจากนี้ โดยอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์จากบริษัทและองค์กรในญี่ปุ่น คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะแตะ 2.8% ต่อปีนับจากนี้ และลดลงเหลือ 2.3% ในอีก 3 ปีข้างหน้า และเหลือ 2.1% ในอีก 5 ปี ว่า
ในขณะเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า ได้เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGBs) มูลค่าสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 135.989 ล้านล้านเยน (1.02 ล้านล้านดอลลาร์) ในไตรมาสแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าของปีที่แล้ว ที่ 72.87 ล้านล้านเยน จากความพยายามในการป้องกันการโจมตีอัตราดอกเบี้ยจากบรรดานักลงทุน โดยการเข้าซื้อพันธบัตรเป็นเครื่องมือที่ BOJ ใช้ในการรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในกรอบต่ำตามที่กำหนดและเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ ในขณะที่การเทขายพันธบัตรจากนักลงทุนจะเป็นการให้ผลในทางตรงกันข้าม
ทางด้านคู่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนเมื่อวันอังคาร เนื่องจากข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ในขณะที่คำสั่งซื้อภาคการผลิตหดตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจำนวนตำแหน่งงานว่างประจำเดือนกุมภาพันธ์ของสหรัฐฯที่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี มาอยู่ที่ 9.9 ล้านคนในเดือนกุมภาพันธ์ จากก่อนหน้าอยู่ที่ 10.824 ล้านคน และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์อยู่ที่ 10.4 ล้านคน ส่งผลให้นักลงทุนเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐฯอาจใกล้จะยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้ว่าธนาคารกลางในประเทศอื่น ๆ ยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อเอาชนะอัตราเงินเฟ้อที่สูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้แม้เงินเยนจะยังคงมีแนวโน้มอ่อนค่ากว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯในระยะกลาง เนื่องจากอัตราผลตอบแทนที่ต่างกันมาก แต่ในระยะสั้นอาจพบการปรับตัวขึ้นลงในกรอบได้สูงจากข้อมูลตัวเลขและดัชนีทางเศรษฐกิจที่เผยแพร่
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 131.72, 131.82, 131.99
แนวรับสำคัญ : 131.38, 131.28, 131.11
5H Outlook
1H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 131.33 – 131.38 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 131.38 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 131.78 และ SL ที่ประมาณ 131.30 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 131.72 – 131.77 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 131.90 และ SL ที่ประมาณ 131.35 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 131.72 – 131.77 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 131.72 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 131.34 และ SL ที่ประมาณ 131.80 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 131.33 – 131.38 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 131.18 และ SL ที่ประมาณ 131.75 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Apr 05, 2023 09:59AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 130.90 | 131.11 | 131.34 | 131.55 | 131.78 | 131.99 | 132.23 |
Fibonacci | 131.11 | 131.28 | 131.38 | 131.55 | 131.72 | 131.82 | 131.99 |
Camarilla | 131.45 | 131.49 | 131.53 | 131.55 | 131.62 | 131.66 | 131.70 |
Woodie's | 130.92 | 131.12 | 131.36 | 131.56 | 131.80 | 132.00 | 132.25 |
DeMark's | - | - | 131.22 | 131.49 | 131.66 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog