บทวิเคราะห์ USD/JPY วันที่ 10 เมษายน 2566

บทวิเคราะห์ USD/JPY วันที่ 10 เมษายน 2566
Create at 1 year ago (Apr 10, 2023 11:03)

เศรษฐกิจญี่ปุ่นโดยรวมยังทรงตัว

เช้าวันนี้ Kazuo Ueda ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นคนใหม่เข้าดำรงตำแหน่ง หลัง Haruhiko Kuroda กำกับดูแลนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษมายาวนานกว่าทศวรรษ ส่งผลให้ตลาดจับตาดูถ้อยคำแถลงรับตำแหน่งจาก Ueda ถึงความเป็นไปได้ในการปรับนโยบายการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (YCC) ในอนาคต

ทางด้านค่าจ้างที่แท้จริงของญี่ปุ่นลดลงในเดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่ 11 แม้ว่าอัตราการลดลงจะชะลอตัวลงเนื่องจากมาตรการอุดหนุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของรัฐบาลในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ โดยค่าจ้างที่แท้จริง (Real wage) ที่ตัดปัจจัยด้านอัตราเงินเฟ้อออก ลดลง 2.6% ในเดือนกุมภาพันธ์จากปีก่อน หลังจากลดลงถึง 4.1% ในเดือนมกราคม สูงสุดในรอบเกือบ 9 ปี โดยค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน (Nominal wage) เพิ่มขึ้น 1.1% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนกุมภาพันธ์ สูงกว่าการเติบโตในเดือนมกราคมที่ 0.8% ในขณะที่จำนวนแรงงานมีการปรับเพิ่มขึ้น 1.8%

อย่างไรก็ตาม แม้บริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นหลายแห่งจะตกลงสรุปการเจรจาค่าจ้างแรงงานประจำปีด้วยการขึ้นค่าจ้างครั้งใหญ่ที่สุดเกือบ 4% ในรอบ 3 ทศวรรษ แต่ทว่าอัตราเงินเฟ้อหรือราคาสินค้าที่สูงขึ้นกลับบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ส่งผลให้ญี่ปุ่นยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอนจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลก

ทั้งนี้ ทางด้านอดีตรองผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น Hiroshi Nakaso ได้ให้สัมภาษณ์กับนิเคอิที่เผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ว่า ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นอาจมีแนวโน้มที่จะแก้ไขหรือยุตินโยบายการควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเนื่องจากผลกระทบต่ออัตรากำไรของสถาบันการเงินที่ถูกจำกัดอย่างต่อเนื่อง โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือมาตรการในการยุติภาวะเงินฝืดจาก Kuroda ยังคงล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายราคาของธนาคารกลางที่ 2% อย่างยั่งยืน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์จากทั้งประชาชนและภาคธุรกิจยังคงอยู่ในระดับต่ำ

ทางด้านบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นพลิกกลับมาเกินดุลในเดือนกุมภาพันธ์ที่ 2.1972 ล้านล้านเยน (16.59 พันล้านดอลลาร์) น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.5357 ล้านล้านเยน จากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าและการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกที่ช่วยผลักดันให้รายได้หลักจากการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ หลังจากขาดดุลในเดือนก่อนหน้าที่ 1.9893 ล้านล้านเยนจากผลกระทบในช่วงวันหยุดตรุษจีน สะท้อนถึงแนวโน้มที่ญี่ปุ่นพึ่งพารายได้ที่เพิ่มขึ้นจากต่างประเทศมากกว่าการขายสินค้าและบริการภายในประเทศ แม้ความกังวลเกี่ยวกับกำลังซื้อของประเทศที่อ่อนแอจะลดลง

อย่างไรก็ดี บัญชีรายได้ที่เกินดุล 3.4407 ล้านล้านเยน ได้ช่วยชดเชยการขาดดุลการค้าที่ 604.1 พันล้านเยนไว้ได้ โดยการนำเข้าของญี่ปุ่นคาดว่าจะปรับตัวลดลงจากเงินเยนที่อ่อนค่าและต้นทุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น คาดว่าจะส่งผลให้การขาดดุลการค้าปรับตัวลดลง แม้ดุลการค้าโดยรวมจะยังคงกดดันเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่พึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงและวัตถุดิบ รวมถึงการส่งออกที่ลดลงจากการย้ายฐานผลิตไปยังต่างประเทศ ในขณะที่การฟื้นตัวในภาคการท่องเที่ยวคาดว่าจะช่วยให้การขาดดุลในภาคบริการหดตัวลง และส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ทางด้านคู่สกุลเงินดอลลาร์ยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอีกเล็กน้อยในช่วงนี้เมื่อเทียบกับเงินเยน หลังจากที่ข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯยังคงแข็งแกร่ง อาจส่งผลให้เฟดมีแนวโน้มปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกในอนาคต แม้ปัจจัยหนุนอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯจะเริ่มส่งสัญญาณถูกจำกัดในช่วงนี้ จากการลดลงของจำนวนงานที่เปิดรับ และอัตราเฉลี่ยค่าจ้างรายชั่วโมงที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาด

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD USD/JPY

แนวต้านสำคัญ : 132.75, 132.97, 133.31

แนวรับสำคัญ : 132.07, 131.85, 131.51                  

5H Outlook

วิเคราะห์ USD/JPY ที่มา: Investing.com                                     

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 132.02 – 132.07 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 132.07 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 132.85 และ SL ที่ประมาณ 131.97 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 132.75 – 132.80 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 132.75 และ SL ที่ประมาณ 131.35 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 132.75 – 132.80 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 132.80 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 133.15 และ SL ที่ประมาณ 132.02 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 132.02 – 132.07 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 131.75 และ SL ที่ประมาณ 132.80 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Apr 10, 2023 10:46AM GMT+7

Name S3 S2 S1 Pivot Points R1 R2 R3
Classic 131.19 131.51 132.08 132.41 132.98 133.31 133.88
Fibonacci 131.51 131.85 132.07 132.41 132.75 132.97 133.31
Camarilla 132.40 132.48 132.56 132.41 132.73 132.81 132.89
Woodie's 131.31 131.57 132.20 132.47 133.10 133.37 134.00
DeMark's - - 132.24 132.49 133.14 - -

Sources: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

Forex News

ARTICLES