เศรษฐกิจในญี่ปุ่นเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น
ดัชนีราคาผู้บริโภคในเมืองโตเกียวของญี่ปุ่นมีอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าที่คาดไว้ในเดือนมีนาคมเล็กน้อย เนื่องจากผลกระทบของการอุดหนุนราคาสาธารณูปโภคของรัฐบาลถูกลดทอนลงอย่างมากด้วยการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาสินค้าอื่น ๆ ส่วนใหญ่
โดยที่ Core CPI ของโตเกียวเพิ่มขึ้น 3.2% ในช่วง 12 เดือนจนถึงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ข้อมูลจากสำนักงานสถิติเผยว่า มีการคาดการณ์ไว้ว่า Core CPI ของโตเกียวจะปรับลดลงสู่ 3.1% จากเดือนก่อนที่ 3.3% ทั้งนี้ CPI โดยรวมของโตเกียวลดลงเป็น 3.3% ในเดือนมีนาคม โดยลดลงเล็กน้อยจาก 3.4% ในเดือนก่อนหน้า
โดยข้อมูลเงินเฟ้อทั่วประเทศที่เผยแพร่ออกมาในภายหลัง บ่งชี้ว่าแม้การอุดหนุนด้านสาธารณูปโภคของรัฐบาลจะช่วยบรรเทาแรงกดดันด้านต้นทุนได้บ้าง แต่ราคาอาหารและของใช้ในครัวเรือนที่ยังคงสูงอยู่ ทำให้อัตราเงินเฟ้อในโตเกียวสูงขึ้นจนถึงเดือนมีนาคม
ถึงกระนั้น CPI ที่ได้ประกาศในเดือนมีนาคมถือเป็นเดือนที่สองติดต่อกันที่อัตราเงินเฟ้อของโตเกียวได้ถอยกลับหลังจากแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีที่ 4.3% ในเดือนมกราคม Core CPI ของโตเกียวเองก็อยู่ที่ระดับต่ำสุดเช่นกันนับตั้งแต่เดือนตุลาคม
การลดลงของอัตราเงินเฟ้อมีสาเหตุหลักมาจากการอุดหนุนราคาไฟฟ้าของรัฐบาล ซึ่งลดลง 6% ในเดือนมีนาคม เมื่อต้นปีที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกเงินเพิ่มอีก 2 ล้านล้านเยน (ณ ที่ 1 ดอลลาร์ = 133.01 เยน) เพื่อเสนอเงินอุดหนุนค่าสาธารณูปโภคและช่วยควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่สูง แต่สิ่งนี้กลับถูกขัดขวางด้วยการขึ้นราคาสินค้าอื่นๆ ส่วนใหญ่อย่างต่อเนื่อง ราคาอาหารพุ่งขึ้น 7.6% ขณะที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นกว่า 12% โดยได้มีคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายปี 2566 ซึ่งอาจทำให้ BOJ พิจารณานโยบายที่เข้มงวดขึ้นอีกครั้ง
ทั้งนี้ ผลสำรวจภาคเอกชนพบว่า กิจกรรมภาคบริการของญี่ปุ่นขยายตัวสูงสุดในรอบกว่า 9 ปีในเดือนมีนาคม ซึ่งบ่งชี้ว่า กำลังมีการฟื้นตัวเร็วขึ้นหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 และช่วยชดเชยภาคการผลิตที่ยังอ่อนแอไปได้บ้าง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สำหรับภาคบริการ เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 55.0 ในเดือนมีนาคม จาก 54.0 ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดตั้งแต่เดือนตุลาคท 2013 และเพิ่มขึ้นจากข้อมูลเบื้องต้นที่ 54.2 และสูงกว่าระดับ 50 ที่แบ่งแยกระหว่างการขยายตัวและการหดตัวเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันแล้ว
ดัชนี PMI คอมโพสิตที่ครอบคลุมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ ขยายตัวมากที่สุดตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2022 โดยเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 52.9 ในเดือนมีนาคม จาก 51.1 ในเดือนกุมภาพันธ์ และดัชนีเคลื่อนตัวสูงกว่าระดับ 50 ที่แบ่งแยกระหว่างการขยายตัวและการหดตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันแล้ว
นายอุซามาห์ พัตตี นักเศรษฐศาสตร์จากเอสแอนด์พี โกลบอล มาร์เก็ต อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า "เศรษฐกิจภาคบริการของญี่ปุ่นส่งสัญญาณว่า ภาวะอุปสงค์ปรับตัวดีขึ้นอย่างมากแล้วในช่วงปลายไตรมาสแรก เนื่องจากผลกระทบที่เบาบางลงจากโควิด-19 และความเชื่อมั่นที่แข็งแกร่งขึ้นของผู้บริโภคร่วมกันหนุนการผลิตและยอดสั่งซื้อ"
"แต่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงในช่วงขาลงที่สำคัญในญี่ปุ่น โดยเฉพาะเนื่องจากข้อมูลสถิติของทางการบ่งชี้ว่า อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบกว่า 40 ปี ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดจากภาวะเงินฝืดที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา"
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 132.98, 133.31, 133.88
แนวรับสำคัญ: 132.08, 131.51, 131.19
ที่มา: Investing.com
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 131.19 | 131.51 | 132.08 | 132.41 | 132.98 | 133.31 | 133.88 |
Fibonacci | 131.51 | 131.85 | 132.07 | 132.41 | 132.75 | 132.97 | 133.31 |
Camarilla | 132.40 | 132.48 | 132.56 | 132.41 | 132.73 | 132.81 | 132.89 |
Woodie's | 131.31 | 131.57 | 132.20 | 132.47 | 133.10 | 133.37 | 134.00 |
DeMark's | - | - | 132.24 | 132.49 | 133.14 | - | - |
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 59.867 | ซื้อ |
STOCH(9,6) | 72.677 | ซื้อ |
STOCHRSI(14) | 94.787 | ซื้อมากเกินไป |
MACD(12,26) | 0.120 | ซื้อ |
ADX(14) | 21.095 | ซื้อ |
Williams %R | -9.767 | ซื้อมากเกินไป |
CCI(14) | 160.3587 | ซื้อ |
ATR(14) | 0.4450 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.6225 | ซื้อ |
Ultimate Oscillator | 67.059 | ซื้อ |
ROC | 0.844 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | 1.0680 | ซื้อ |
ซื้อ:9 ขาย:0 ถือหุ้นไว้:0 สรุป:ซื้อทันที |