ภาพรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่นช่วงนี้
การนำเข้าของญี่ปุ่นแซงหน้าการส่งออกในเดือนมีนาคม เนื่องจากต้นทุนถ่านหิน น้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์น้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น รวมทั้งเป็นผลจากการอ่อนค่าของเงินเยนถึง 16.5% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ยอดขาดดุลการค้าประจำปีแตะระดับ 21.7 ล้านล้านเยน (161 พันล้านดอลลาร์) เกินสถิติเดิมที่ 13.7 ล้านล้านเยนในปีงบประมาณ 2556 ในขณะที่ดุลการค้าในเดือนมีนาคมขาดดุล 7.545 แสนล้านเยน ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 1.29 ล้านล้านเยน และตัวเลขเดือนก่อนหน้าที่ 8.97 แสนล้านเยน
ในขณะเดียวกันการส่งออกของญี่ปุ่นชะลอตัวลงในเดือนมีนาคม เนื่องจากผู้ส่งออกญี่ปุ่นได้ย้ายการผลิตไปต่างประเทศในช่วงที่เงินเยนแข็งค่าก่อนหน้านี้ และล่าสุดจากการส่งออกรถยนต์และเหล็กไปยังจีนที่ลดลง เน้นย้ำถึงความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ทั่วโลกที่หดตัวท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น รวมถึงความวุ่นวายในภาคธนาคารในประเทศแถบตะวันตก
โดยการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาขยายตัว 9.4% ในปีจนถึงเดือนมีนาคม ชะลอตัวลงจาก 14.9% ในเดือนก่อนหน้า และการส่งออกไปยังจีน ซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ลดลง 7.7% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน
ทั้งนี้ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น คาซูโอะ อูเอดะ ได้ส่งสัญญาณเมื่อวันอังคารที่จะบรรลุเป้าหมายหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางที่ 2% ด้วยการผ่อนคลายทางการเงินต่อไป ในขณะที่ BOJ ยังคงเดินหน้าเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGBs) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายควบคุมผลตอบแทนและการผ่อนคลายเชิงปริมาณ และเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่บริษัทและองค์กรญี่ปุ่นควรปรับขึ้นค่าจ้างที่สูงขึ้นเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ดี ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นยังคงประเมินเศรษฐกิจในเชิงบวก ซึ่งปัจจุบันพบการปรับขึ้นค่าจ้างในวงกว้างแม้แต่ในบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่ทวีความรุนแรงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ตอกย้ำความเชื่อมั่นของธนาคารว่าประเทศญี่ปุ่นอาจกำลังเดินอยู่บนเส้นทางที่จะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ได้อย่างยั่งยืน
ทางด้านความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่นยังคงไม่ดีขึ้นในเดือนเมษายนเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกัน จากราคาต้นทุนวัตถุดิบและวัสดุอื่น ๆ รวมถึงพลังงานและอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น และจากความกังวลเกี่ยวกับภาคการธนาคารในตะวันตกที่อาจทำให้การเติบโตทั่วโลกชะลอตัว ส่งผลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของการส่งออกที่ลดลง
อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นในภาคบริการมีการปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่สองติดต่อกันเป็นระดับสูงสุดในรอบสี่เดือน ส่งสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังโควิด จากการฟื้นตัวการบริโภคของภาคเอกชนและครัวเรือน นำโดยการท่องเที่ยวขาเข้า ที่ช่วยหนุนร้านอาหารและผู้ค้าปลีก
ทางด้านคู่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นในวันพฤหัสบดี หลังผลประกอบการภาคการธนาคารที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ ส่งผลให้ตลาดคาดการณ์ค่อนข้างแน่นอนแล้วว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะคงนโยบายการเงินที่เข้มงวดต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยจากผลสำรวจของรอยเตอร์ นักวิเคราะห์คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ย 25 จุดสุดท้ายในเดือนพฤษภาคม จากนั้นจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ตลอดช่วงที่เหลือของปี 2566 ส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงมีแนวโน้มแข็งค่ากว่าเงินเยน
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 134.20, 134.32, 134.50
แนวรับสำคัญ : 133.84, 133.72, 133.54
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 133.77 – 133.84 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 133.84 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 134.22 และ SL ที่ประมาณ 133.73 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 134.20 – 134.27 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 134.50 และ SL ที่ประมาณ 133.79 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 134.20 – 134.27 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 134.20 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 133.80 และ SL ที่ประมาณ 134.31 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 133.77 – 133.84 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 133.54 และ SL ที่ประมาณ 134.25 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Apr 21, 2023 10:12AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 133.27 | 133.54 | 133.75 | 134.02 | 134.22 | 134.50 | 134.70 |
Fibonacci | 133.54 | 133.72 | 133.84 | 134.02 | 134.20 | 134.32 | 134.50 |
Camarilla | 133.81 | 133.86 | 133.90 | 134.02 | 133.99 | 134.03 | 134.08 |
Woodie's | 133.23 | 133.52 | 133.71 | 134.00 | 134.18 | 134.48 | 134.66 |
DeMark's | - | - | 133.64 | 133.97 | 134.12 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog