ตลาดหุ้นเอเชียโดยรวมยังคงทรงตัว
หุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นในวันจันทร์ จากข้อมูลแรงงานสหรัฐฯที่แข็งแกร่งเกินคาด ช่วยผ่อนคลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ใกล้เข้ามา และช่วยให้ตลาดในภูมิภาคฟื้นตัวจากการร่วงลงแรงในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา จากความหวาดกลัวต่อภาคการเงินสหรัฐฯที่อาจล่มสลายและส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง
ดัชนี Shanghai Composite ของจีนเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีผลการดำเนินงานดีที่สุดในวันก่อน เพิ่มขึ้น 1.6% ในขณะที่ดัชนี Shanghai Shenzhen CSI 300 เพิ่มขึ้น 1% โดยความเชื่อมั่นต่อหุ้นจีนค่อนข้างดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จากตัวเลขการเดินทางและท่องเที่ยวที่แข็งแกร่ง รวมถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคจากวันหยุดยาวที่ผ่านมา และดัชนี Hang Seng ของฮ่องกงเพิ่มขึ้น 0.8% โดยได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของหุ้นจีนที่จดทะเบียนในประเทศ
ทางด้านการนำเข้าและส่งออกของจีนยังคงซบเซาในปีนี้ จากการเติบโตทั่วโลกที่ชะลอตัว และอัตราเงินเฟ้อของจีนลดลงท่ามกลางอุปสงค์ในประเทศที่เบาบาง แม้จะพบเศรษฐกิจจีนเติบโตเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ในไตรมาสแรก จากการบริโภคในภาคบริการที่แข็งแกร่ง แต่ทว่าภาคการผลิตของจีนยังคงหดตัวอย่างหนักในเดือนเมษายน หลังจากที่การส่งออกของจีนในช่วงที่ผ่านมาได้แรงหนุนจากคำสั่งซื้อคงค้างหรือล่าช้าจากการหยุดชะงักของโควิดในปีที่แล้ว ในขณะที่การนำเข้าถูกคาดการณ์ว่าจะไม่มีการเติบโต และพบยอดนำเข้าของจีนจากเกาหลีใต้ ลดลงถึง 26.5% ในเดือนเมษายนเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน ซึ่งรัฐบาลจีนได้ตั้งเป้าการเติบโตของจีดีพีไว้ปานกลางที่ประมาณ 5% สำหรับปีนี้ หลังจากที่พลาดเป้าหมายในปี 2565
ใขณะเดียวกัน การส่งออกของไต้หวันยังคงหดตัวเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันในเดือนเมษายน เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์เทคโนโลยียังคงอ่อนแอ โดยเฉพาะจากตลาดที่ใหญ่ที่สุดอย่างจีน โดยยอดจัดส่งชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไต้หวันในเดือนเมษายนลดลง 8.6% จากปีก่อนหน้า รวมถึงการส่งออกเซมิคอนดักเตอร์ที่ลดลง 7.1%
ดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่นร่วงลง 0.8% โดยคาดว่าถูกกดดันจากข้อมูลแรงงานสหรัฐฯที่อาจกระตุ้นให้เกิดความไม่แน่นอนในทิศทางนโยบายจากธนาคารกลางสหรัฐฯ รวมถึงความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐฯหากมีการเพิ่มเพดานหนี้
ทางด้านกิจกรรมภาคการบริการของญี่ปุ่นเติบโตในอัตราที่สูงเป็นประวัติการณ์ในเดือนเมษายน จากคำสั่งซื้อใหม่ที่ขยายตัวในอัตราที่เร็วที่สุด โดยได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น จากการใช้จ่ายด้านการเดินทาง การพักผ่อน และการท่องเที่ยว ในขณะที่ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในปีหน้ายังคงแข็งแกร่ง และการจ้างงานขยายตัวเป็นเดือนที่สามและเร็วที่สุดในรอบสี่ปี
ทั้งนี้ ในสัปดาห์นี้ ตลาดโดยรวมได้กลับไปให้ความสนใจข้อมูลอัตราเงินเฟ้อหรือดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐฯที่คาดว่าจะลดลงเล็กน้อย รวมถึงข้อมูลการค้าและอัตราเงินเฟ้อของจีนที่มีกำหนดเผยแพร่สัปดาห์นี้ เพื่อประเมินสถานะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก หลังจากที่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วและส่งสัญญาณถึงทิศทางของอัตราดอกเบี้ยในอนาคต
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
CFD JP225 Nikkei 225 Futures - Jun 23
แนวต้านสำคัญ : 29102.5, 29124.5, 29160.0
แนวรับสำคัญ : 29031.5, 29009.5, 28974.0
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 29001.5 - 29031.5 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 29031.5 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 29110.0 และ SL ที่ประมาณ 28991.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 29102.5 - 29132.5 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 29180.0 และ SL ที่ประมาณ 29021.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 29102.5 - 29132.5 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 29102.5 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 29026.0 และ SL ที่ประมาณ 29142.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 29001.5 - 29031.5 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 28974.0 และ SL ที่ประมาณ 29112.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points May 09, 2023 09:38AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 28933.0 | 28974.0 | 29026.0 | 29067.0 | 29119.0 | 29160.0 | 29212.0 |
Fibonacci | 28974.0 | 29009.5 | 29031.5 | 29067.0 | 29102.5 | 29124.5 | 29160.0 |
Camarilla | 29052.4 | 29061.0 | 29069.5 | 29067.0 | 29086.5 | 29095.0 | 29103.6 |
Woodie's | 28938.6 | 28976.8 | 29031.6 | 29069.8 | 29124.6 | 29162.8 | 29217.6 |
DeMark's | - | - | 29046.5 | 29077.2 | 29139.5 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2