Order คืออะไร? คำสั่งซื้อขายในตลาด Forex มีกี่ประเภท

Order คืออะไร? คำสั่งซื้อขายในตลาด Forex มีกี่ประเภท
Create at 2 years ago (Dec 02, 2022 15:32)

สำหรับการเทรด Forex สิ่งที่ควรรู้เป็นอันดับต้น ๆ คือ การออก Order เนื่องจากเป็นคำสั่งเบื้องต้นสำหรับการเทรด แม้การออก Order จะฟังดูง่ายเหมือนการซื้อของทั่วไป แต่ความจริงแล้ว การออก Order ก็มีอยู่หลายรูปแบบ ซึ่งหากคุณต้องการออก Order ให้ตรงกับความต้องการ คุณก็ควรทำความรู้จัก Order แต่ละประเภทก่อนเริ่มต้นเทรด!

 

Order คืออะไร?

คำว่า “Order” หมายถึง คำสั่งในการซื้อขาย ซึ่งเป็นการที่คุณทำการส่ง หรือออก Position ในตลาด Forex

 

ประเภทคำสั่งสำหรับการเปิด Order

โดยปกติ การเปิด Order หรือคำสั่งซื้อขายนั้น หลายคนอาจจะคิดว่า มันเหมือนกับการซื้อขายของธรรมดาทั่วไปตามราคาตลาด หรือราคาที่ผู้ขายกำหนด แต่ความจริงแล้ว ในตลาด Forex เราสามารเปิด Order ได้ 2 วิธีหลัก ซึ่งประเภทคำสั่งสำหรับการเปิด Order พื้นฐานที่ทุก ๆ โบรกเกอร์มีให้ใช้ มีดังนี้

1. Market Order

เป็นการออก Order ในตำแหน่ง Buy หรือ Sell ที่ราคาตลาด ณ ปัจจุบัน ซึ่งหากพูดให้เข้าใจง่ายหน่อย มันก็คือ การซื้อคู่สกุลเงิน ในราคาตลาด โดยไม่ต้องรอการจับคู่ นั่นแสดงว่า คุณจะได้รับสินทรัพย์นั้นทันทีเลยครับ

Market Order

ตัวอย่างเช่น คู่สกุลเงิน EUR/USD มีราคาเสนอขาย (Ask Price) ปัจจุบัน อยู่ที่ 1.01501 ถ้าคุณต้องการ Buy ที่ราคานี้ คุณจะต้องคลิก Buy และโปรแกรมเทรดของคุณก็จะทำการส่ง Order ที่ราคานั้น ทำให้คุณจะได้ค่าเงินที่คุณซื้อทันทีครับ

 

2. Pending Order

คือ การออก Order ล่วงหน้า เพื่อ Buy หรือ Sell ณ ราคาใดราคาหนึ่งที่เทรดเดอร์กำหนดไว้ โดยมีตัวแปร 2 ตัว มาประกอบ ได้แก่ เวลาและราคา ซึ่งหากจะพูดให้เข้าใจง่ายหน่อย มันก็คือ การซื้อคู่สกุลเงิน ในราคาที่เทรดเดอร์กำหนดไว้ในจุดที่พวกเขาพอใจ และส่วนมากจะเป็นราคาที่ดีกว่าราคาตลาด ณ ขณะนั้น สามารถแบ่งการออกคำสั่งได้ 2 แบบ ดังนี้

Limit Order

1) Limit Order

เป็นการออก Order ใน "ทิศทางที่สวนทางกับทางทำกำไร" หรือก็คือ ราคาปัจจุบันอยู่ที่เท่าไหร่ก็ตาม หากเปิดคำสั่ง Limit Order ในตำแหน่ง Buy ซึ่งเป็นการคาดการณ์ว่า คู่สกุลเงินนั้นจะมีราคาสูงขึ้น ดังนั้น เราก็จะทำกำไรในขาขึ้น เราจึงเข้าซื้อคู่สกุลเงินนั้นในราคาที่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน เพื่อให้สามารถทำกำไรได้มากขึ้น ส่วนการเปิด Limit Order ในตำแหน่ง Sell ที่เป็นการทำกำไรในขาลง เราก็จะเข้าซื้อคู่สกุลเงินในราคาที่สูงกว่าปัจจุบัน เพื่อให้สามารถทำกำไรได้มากขึ้นในช่วงขาลงเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น คู่สกุลเงิน EUR/USD ปัจจุบัน มีราคาเสนอขาย (Ask Price) อยู่ที่ 1.01501 หากคุณต้องการที่จะส่งคำสั่ง Buy Limit คุณก็สามารถตั้งราคาที่ต่ำกว่าทิศทางทำกำไรที่คุณต้องการได้ โดยอาจจะตั้งไว้ที่ 1.01401 หากราคาลงมาถึงจุดที่เรากำหนดไว้ ระบบก็จะทำการ Buy ให้เราอัตโนมัติ เป็นต้น

Stop Order

2) Stop Order

เป็นการออก Order ใน "ทิศทางเดียวกับทางทำกำไร" หรือก็คือ การเปิดคำสั่ง Stop Order ในตำแหน่ง Buy ซึ่งเป็นการคาดการณ์ว่า คู่สกุลเงินนั้นจะมีราคาสูงขึ้น ดังนั้น เราก็จะทำกำไรในขาขึ้น โดยการตั้งราคาเข้าซื้อที่สูงกว่าราคาปัจจุบัน ณ ราคาโซนแนวต้าน หากกราฟสามารถวิ่งมาชนแนวต้านนี้ได้ก็แสดงว่า กราฟมีแนวโน้มที่จะพุ่งสูงขึ้นต่อไป ทำให้เทรดเดอร์ตั้งราคาเข้าซื้อไว้ในจุดนั้น ๆ เพื่อเป็นการคาดการณ์กราฟ ขณะเดียวกัน การเปิด Stop Order ในตำแหน่ง Sell ที่เป็นการทำกำไรในขาลง เราก็จะเข้าซื้อคู่สกุลเงินในราคาที่ต่ำกว่าปัจจุบัน ณ ราคาโซนแนวรับ เพื่อเป็นการคาดการณ์กราฟเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น คู่สกุลเงิน EUR/USD ปัจจุบัน มีราคาเสนอขาย (Ask Price) อยู่ที่ 1.01501 หากคุณต้องการที่จะส่งคำสั่ง Buy Stop คุณก็สามารถตั้งราคาที่สูงกว่าราคาปัจจุบัน ในทิศทางทำกำไร ซึ่งเป็นราคาแนวต้าน โดยอาจจะตั้งไว้ที่ 1.01601 หากราคาสูงขึ้นมาถึงจุดที่เรากำหนดไว้ ระบบก็จะทำการ Buy ให้เราอัตโนมัติ เป็นต้น

นอกจากนี้ ในการออกคำสั่ง Pending Order เราสามารถกำหนดได้ว่า เราอยากให้ Limit Order และ Stop Order นี้ อยู่ได้นานเท่าไหร่ หลังจากส่งคำสั่ง GTC หรือ GFD

 

 

ประเภทคำสั่งสำหรับการปิด Order

ภายหลังจากการเปิด Order แล้ว หากราคาวิ่งไปถึงจุดที่ต้องการ เทรดเดอร์ก็มักจะต้องการให้ปิด Order นั้น เพื่อทำกำไร แต่มันก็เป็นการยากที่เทรดเดอร์จะสามารถนั่งเฝ้ากราฟได้ตลอดเวลา ดังนั้น ระบบจึงมีคำสั่งสำหรับการปิด Order ขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1. Stop Loss หรือจุดตัดขาดทุน

ถือเป็นคำสั่งที่ใช้ในการปิด Order เมื่อราคาของคู่สกุลเงินที่เราถือไว้มีแนวโน้มว่าจะขาดทุน ซึ่งหากเราตั้งราคาที่ยอมรับสำหรับการขาดทุนได้ ณ จุดใด เมื่อราคาเคลื่อนตัวมาถึงจุดนั้น Order ก็จะถูกปิดโดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันไม่ให้คุณขาดทุนไปมากกว่านี้ โดยคำสั่ง Stop Loss จะมีผลจนกว่า Order นั้นจะถูกปิด หรือผู้ส่งคำสั่งยกเลิกคำสั่ง

ตัวอย่างเช่น คู่สกุลเงิน EUR/USD มีราคาเข้าซื้อที่ 1.01501 หากคุณต้องการที่จะทำกำไรในช่วงขาขึ้น แต่ราคากลับตกลงมาต่ำกว่าราคาเปิด คุณจึงตั้งคำสั่ง Stop Loss โดยกำหนดราคาไว้ที่ 1.01450 หากราคาของคู่สกุลเงินดังกล่าวร่วงลงมาถึงราคาที่คุณตั้งไว้ Order ของคุณก็จะถูกปิดอัตโนมัติ

SL TP

2. Take Profit หรือจุดตัดกำไร

เป็นอีกหนึ่งในคำสั่งที่ใช้ปิด Order ซึ่งมีวิธีการทำงานตรงกันข้ามกับ Stop Loss นั่นคือ เมื่อราคาของคู่สกุลเงินเคลื่อนไปถึงจุดที่เราต้องการแล้ว ระบบก็จะตัดกำไรตามราคาที่เราตั้งไว้ ซึ่งเทรดเดอร์มักจะมีการตั้งคำสั่งนี้ไว้สำหรับการเทรดระยะสั้น และตั้งไว้ที่จุดที่มีนัยสำคัญ หรืออาจมีการกลับตัว ดังนั้น วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่ปลอดภัยในการรักษาผลกำไร หากกราฟวิ่งไปถึงจุดที่คุณตั้งไว้

ตัวอย่างเช่น คู่สกุลเงิน EUR/USD มีราคาเข้าซื้อที่ 1.01501 หากคุณต้องการที่จะทำกำไรในช่วงขาขึ้น และราคาอยู่ในช่วงพุ่งสูงต่อเนื่อง หากคุณตั้งคำสั่ง Take Profit โดยกำหนดราคาไว้ที่ 1.01600 เมื่อราคาของคู่สกุลเงินดังกล่าวพุ่งไปแตะราคาที่คุณตั้งไว้ Order ของคุณก็จะถูกปิดอัตโนมัติ

 

สรุปโดยรวม Order เป็นคำสั่งสำหรับซื้อและขายคู่สกุลเงิน โดยแบ่งออกเป็น 1) คำสั่งสำหรับการเปิด Order ได้แก่ Market Order การเข้าซื้อที่ราคาตลาด และ Pending Oreder การตั้งคำสั่งซื้อขายล่วงหน้า และ 2) คำสั่งสำหรับการปิด Order ได้แก่ Stop Loss จุดตัดขาดทุน และ Take Profit จุดตัดกำไร ซึ่งคำสั่งเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับทุกคน มันจะทำให้คุณไม่พลาดจังหวะสำคัญในชีวิต ลดความเสียหายจากการเทรดจนอาจทำให้ Stop Out ใช้ต้นทุนที่น้อยลงและทำกำไรได้มากขึ้น รวมถึงไม่ต้องเฝ้าหน้าจออย่างจดจ่อตลอดเวลา อีกทั้ง ยังช่วยตัดอารมณ์ร่วมของเทรดเดอร์ได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์จุดเข้า และจุดออกได้แล้ว คุณไม่ควรเลื่อนจุดเด็ดขาด เพราะมันอาจจะทำให้คุณเสียหายได้ เป็นอย่างไรกันบ้างครับ เพียงแค่เรื่องการออก Order ที่ดูเหมือนจะง่าย ๆ แต่ก็สามารถส่งผลกระทบได้อย่างมหาศาล ดังนั้น เทรดเดอร์มือใหม่ทุกคนจึงควรเรียนรู้คำสั่งพื้นฐานเหล่านี้ก่อนเริ่มลงสนามจริง ยิ่งรู้มากเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งช่วยลดความเสียหายของคุณได้

 

____________________________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: Forex News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Technical Analysis
Tags:

Forex News

TECHNICAL ANALYSIS