มองแนวโน้ม ขึ้น-ลง ตามที่คาดการณ์ด้วย อินดิเคเตอร์ Volume

มองแนวโน้ม ขึ้น-ลง ตามที่คาดการณ์ด้วย อินดิเคเตอร์ Volume
Create at 2 years ago (Jun 08, 2022 15:03)

เมื่อพูดถึง อินดิเคเตอร์ Volume (ตัวชี้วัด “ปริมาณการซื้อขาย”) ในตลาด Forex มักจะไม่ค่อยมีใครพูดถึง หรือนิยมใช้กัน เนื่องจากตลาด Forex เป็นตลาดที่มีปริมาณการซื้อขายที่มหาศาล ดังนั้น จึงเป็นไปได้ยากที่จะติดตามปริมาณที่แท้จริงของปริมาณเงินที่เข้ามา และมีอินดิเคเตอร์อื่นที่ทำหน้าที่ได้ดีกว่า ง่ายกว่า

อินดิเคเตอร์ Volume

อย่างไรก็ตาม ไม่มีอินดิเคเตอร์ไหนในโลกที่ใช้โดดๆ แล้วได้กำไร 100% เช่นเดียวกับ Volume มันสามารถใช้ได้ดีทีเดียว เมื่อมีการวิเคราะห์โดยอาศัยอินดิเคเตอร์หรือเครื่องมืออื่นประกอบ เช่น Trend, แนวรับแนวต้าน เป็นต้น โดยส่วนตัวแล้ว ผมมักจะใช้แรง Volume กับการเทรดลักษณะที่เป็นไปตามแนวโน้ม (Follow Trend) บนพื้นฐานที่ว่า “แนวโน้มเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด”

มองแนวโน้ม ขึ้น-ลง ตามที่คาดการณ์ด้วย อินดิเคเตอร์ Volume

จากภาพวิธีการใช้งาน เป็นลักษณะ แถบสีเขียวและสีแดง เมื่อกราฟราคามีปริมาณการซื้อขายแท่งเทียนของปัจจุบัน มากกว่าแท่งเทียนก่อนหน้า แถบ Bar จะเป็นสีเขียว กลับกัน เมื่อกราฟราคามีปริมาณการซื้อขายแท่งเทียนของปัจจุบัน น้อยกว่าแท่งเทียนก่อนหน้า แถบ Bar จะเป็นสีแดง นั่นเอง สามารถใช้ดูความแข็งแรงของแนวโน้มภาพรวม หรือแม้กระทั่งเป็นจุดที่เข้าทำกำไรได้อีกด้วย

มองแนวโน้ม ขึ้น-ลง ตามที่คาดการณ์ด้วย อินดิเคเตอร์ Volume

ตัวอย่างการใช้งานร่วมกับ เส้นแนวโน้ม และแนวรับแนวต้าน กรณีการเข้า SELL

สำคัญที่สุด ต้องมองตลาดให้ออกก่อนว่า อยู่ในช่วงตลาดแบบใด กรณีตามภาพด้านบน เมื่อกราฟราคาเดินทางมายังจุด A ลากเส้น แนวโน้ม (Trend Line) บน-ล่างเพื่อทำให้ทราบว่าอยู่ในสภาวะตลาดหมี และสร้างกรอบความน่าจะเป็นที่กราฟราคาจะเดินตามช่องดังกล่าว เมื่อกราฟราคาเดินขึ้นไปยังจุด B ซึ่งอาจะเป็นจุดที่กราฟขึ้นมาพักตัว โดยที่จุด A จะกลายเป็นแนวรับอ้างอิงตามเส้นประโดยทันที และเมื่อราคาหลุดเส้นแนวรับลงมา รอ Volume ให้เกิดแท่งสีเขียว (ตามลูกศร) แสดงถึงปริมาณการขายที่มากขึ้น นึกภาพง่ายๆคือ เริ่มมีคนโดดเข้ามาในตลาด จึงค่อยเปิด ออเดอร์ SELL ตาม Trend Line ที่เราวางแผนไว้

มองแนวโน้ม ขึ้น-ลง ตามที่คาดการณ์ด้วย อินดิเคเตอร์ Volume

ตัวอย่างการใช้งานร่วมกับ เส้นแนวโน้ม และแนวรับแนวต้าน กรณีการเข้า Buy

กรณีตามภาพด้านบน เมื่อกราฟราคาเดินทางมายังจุด A ลากเส้น แนวโน้ม (Trend Line) บน-ล่าง เพื่อทำให้ทราบว่าอยู่ในสภาวะตลาดกระทิง และสร้างกรอบความน่าจะเป็นที่กราฟราคาจะเดินตามช่องดังกล่าว เมื่อกราฟราคาเดินขึ้นไปยังจุด B ซึ่งอาจะเป็นจุดที่กราฟขึ้นมาพักตัว โดยที่จุด A จะกลายเป็นแนวต้านอ้างอิงตามเส้นประโดยทันที และเมื่อราคาหลุดเส้นแนวต้านขึ้นไป รอ Volume ให้เกิดแท่งสีเขียว (ตามลูกศร) แสดงถึงปริมาณการซื้อที่มากขึ้น จึงค่อยเปิด ออเดอร์ Buy ตาม Trend Line ที่เราลากเป็นแนวไว้

Tags:

Forex News

TECHNICAL ANALYSIS