RVI อินดิเคเตอร์ ….. หลายคนที่ใช้ RSI เป็นอินดิเคเตอร์หนึ่งในการกำหนดจังหวะ ซื้อ-ขาย เพราะใช้งานง่าย และสามารถศึกษาได้จากเทรดเดอร์ที่ถ่ายทอดไว้หลายคน แต่ผมอยากจะขอแนะนำ อินดิเคเตอร์เพิ่มเติมที่ใช้ควบคู่กับ RSI ได้ดี โดยสามารถนำไปใส่ซ้อนกันในหน้าต่างเดียวได้เลย
อินดิเคเตอร์นั้นมีชื่อว่า Relative Vigor Index (RVI) ที่มีลักษณะการทำงานคล้าย RSI แต่ถูกปรับให้ Smooth ขึ้น มีเส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้น ช้ากับเร็วเพื่อสร้างจุดตัดที่มีนัยสำคัญ (ตามภาพจะเป็นสีเขียว-แดง) ซึ่งเราสามารถใช้จุดตัดดังกล่าว เปิด ออเดอร์ได้ทันที
ทั้งนี้ผมจะใช้อินดิเคเตอร์ RSI เพื่อดู Overbought-Oversold เท่านั้น ส่วนการเปิด Buy-Sell สามารถใช้ RVI จากการตัดกันของเส้น และหาเส้นแนวรับ-แนวต้านในตัวอินดิเคเตอร์เดียวได้เลย ซึ่งจากการทดสอบให้ผลที่ดีทั้งในลักษณะของการเล่นสั้นระหว่างวัน หรือการเทรดที่ TF ใหญ่ ขอยกตัวอย่างดังนี้
ตัวอย่างการใช้งาน RVI อินดิเคเตอร์
แนวทางการเปิดออเดอร์ SELL
กรณี Breakout จากภาพ เมื่อกราฟราคาเดินทางจากแนวจุด A ไปยังแนวจุด B จะเห็นว่าอินดิเคเตอร์ RVI (เส้นเขียว-แดง) สร้างจุดต่ำที่ยกตัวขึ้น เกิดเป็นแนวรับเส้นประสีขาวอย่างชัดเจน เมื่อเกิดรูปแบบนี้ขึ้นมาให้เรารอจังหวะ เส้น RVI หลุดแนวรับลงมาที่จุด C จึงทำการเปิดออเดอร์ Sell
กรณี Overbought เมื่อกราฟราคา เดินทางมาถึงจุด D สังเกตเห็นว่าอินดิเคเตอร์ RSI เข้าสู่โซนที่เรียกว่า Overbought (ตัดเส้น 70 ขึ้นไป) จากภาพ ในวงกลมที่ 1 เราจะยังไม่เปิดออเดอร์ในทันที ให้รออินดิเคเตอร์ RVI จนกว่าเส้นสีเขียวตัดเส้นสีแดงลงมาก่อนถึงค่อยโดดเข้าทำกำไร และยังมีจุดวงกลมที่ 2 ที่สามารถเปิดออเดอร์ได้ต่อเนื่อง ข้อสังเกตคือ RSI ยังไม่ตัดเส้น 50 ขึ้นไปมาก และ RVI เส้นสีเขียวตัดเส้นสีแดงลงมาอีกรอบ ทั้งนี้สิ่งสำคัญคือต้องสอดคล้องกับปัจจัยอื่นด้วยเช่น แนวโน้มกราฟเป็นอย่างไร ตลาดคู่เงินที่เราเก็งกำไรมีข่าวในทิศทางเดียวกันหรือไม่ เป็นต้น
แนวทางการเปิดออเดอร์ Buy
กรณี Oversold เมื่อกราฟราคา เดินทางมาถึงจุด D สังเกตเห็นว่าอินดิเคเตอร์ RSI เข้าสู่โซนที่เรียกว่า Oversold (ตัดเส้น 30 ลงมา) จากภาพ ในวงกลมที่ 1 เราจะยังไม่เปิดออเดอร์ในทันที ให้รออินดิเคเตอร์ RVI จนกว่าเส้นสีเขียวตัดเส้นสีแดงขึ้นไปก่อนถึงค่อยโดดเข้าทำกำไร และยังมีจุดวงกลมที่ 2 ที่สามารถเปิดออเดอร์ได้ต่อเนื่อง
ข้อสังเกตคือ RSI ยังไม่ตัดเส้น 50 ลงไปมาก และ RVI เส้นสีเขียวตัดเส้นสีแดงขึ้นไปอีกรอบ ทั้งนี้สิ่งสำคัญคือต้องสอดคล้องกับปัจจัยอื่นด้วยเช่น แนวต้านบนกราฟราคา เป็นต้น
กรณี Breakout จากภาพ เมื่อกราฟราคาเดินทางจากแนวจุด A ไปยังแนวจุด B จะเห็นว่าอินดิเคเตอร์ RVI (เส้นเขียว-แดง) สร้างจุดสูงที่ลดตัวลง เกิดเป็นแนวต้านเส้นประสีขาวอย่างชัดเจน เมื่อเกิดรูปแบบนี้ขึ้นมาให้เรารอจังหวะ เส้น RVI ทะลุแนวต้านขึ้นไปที่จุด C จึงทำการเปิดออเดอร์ Buy