เชื่อว่านักลงเทรดหลายคนคงจะคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มการเทรด Meta Trader เป็นอย่างดี แต่เวอร์ชั่นที่หลายคนใช้จะเป็น Meta Trader 4 ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีเวอร์ชั่นให้เราได้เลือกใช้คือ Meta Trader 5 จะมีความแตกต่างมากน้อยกว่าเดิมขนาดไหน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกัน
Metatrader 5 คืออะไร
Metatrader 5 หรือ MT5 เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท MetaQuotes Software ซึ่งเป็นบริษัทในรัสเซียที่เน้นไปที่การพัฒนาซอฟแวร์ที่ใช้ในการเทรดอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักมี Meta Trader 4 และ Meta Trader 5 บริษัทมีการจัดตั้งบริษัทและขายผลิตภัณฑ์อยู่ใน Cyprus แต่ว่าตัวผลิตภัณฑ์นี้สร้างขึ้นใน Russia เป็นหลัก ตัวผลิตภัณฑ์ Meta Trader 5 หรือ MT5 นี้เป็น Version ปรับปรุงหลังจากความสำเร็จอย่างล้นหลามของ MT4 ซึ่งได้ขยายผลิตภัณฑ์ครอบคลุมถึง หุ้น โภคภัณฑ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
นอกจากนี้ยังได้ทำการปรับปรุงภาษา MQL5 เพิ่มเข้ามาด้วย โดยภาษาที่ใช้ก็ได้ปรับปรุงทำให้แตกต่างจาก MT4 อยู่พอสมควร อย่างไรก็ตาม MT5 ไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่ ซึ่ง Meta Trader 5 นั้นมีเพียง 50 บริษัทโบรคเกอร์เท่านั้นที่มีเวอร์ชั่นใหม่ เพราะว่ากว่า 400 บริษัทที่เหลือ ยังเน้นไปที่การใช้ MT4 เนื่องจากขาด Backward Compatibility หรือก็คือ โปรแกรมที่รันโดยใช้ MT4 ถ้าหากนำมาใช้ใน MT5 จะต้องนำมาเขียนใหม่หมด เพราะมันใช้ด้วยกันไม่ได้ และสิ่งสำคัญคือ EA หรือ Expert Advisor ที่ได้รับการพัฒนาก่อนหน้านั้น อยู่ในรูปแบบของ MT4 เสียเป็นส่วนใหญ่ทำให้มันใช้การไม่ได้ และ ทำให้ MT5 ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร
ต่อไปเราจะไปดูกันอย่างละเอียดว่า MT4 กับ MT5 นั้นแตกต่างกันในจุดไหนบ้างและข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไร
เปรียบเทียบ MT4 กับ MT5
MT5 ได้ออกมาให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2010 จนปัจจุบันปี 2022 ยังไม่ค่อยมีคนใช้มากเท่าไหร่ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้ของ MT4 กับ MT5 แล้วก็ยังมีสัดส่วนที่ถือว่าน้อยมาก แล้วทำไมถึงไม่มีคนย้ายมาใช้ MT5 กันเลย ? สาเหตุเพราะอะไรไปดูกันครับ
1. แรกเริ่ม MT5 ไม่รองรับกลยุทธ์เทรดแบบ Hedging
สำหรับการเทรด Forex นั้นจะแตกต่างจากตลาดหุ้นของประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยจะไม่สามารถทำการ Sell หรือว่า Short ได้ คำว่า Short ก็คือ การ Sell ส่วนการ Long คือ Buy นั่นแหละครับ ในตลาดหุ้นไทย เราจะสามารถทำได้แค่การ Buy และเมื่อกำไรก็ทำการ Sell หรือขายหุ้นที่เรามีออกไป แต่!!! ในตลาด Forex สิ่งเหล่านี้มันจะเรียกว่า Position แทน โดยใช้การเปิดสถานะ เรียกว่า Open Position ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็น Buy ทุกครั้งไป ในตลาดหุ้นเริ่มด้วย Buy ก่อนและมีหุ้นก่อนถึงจะทำการ Sell ได้ แต่ที่นี่ทำการ Sell ของที่เราไม่มีได้ และเรียกว่า Open Position คือ Short หรือ Sell นั่นแหละครับ เมื่อเปิด position ก็มีการเปิด position ถ้าจะให้อธิบายก็คือ การขายก่อนแล้วต้องไปซื้อมาคืนในราคาที่ถูกกว่าถึงจะได้กำไร แต่ถ้าว่า ขายไปก่อนแล้วดันขาดทุนเพราะว่า สินทรัพย์ที่เราขายดันไปต่อ เราก็ต้องไปซื้อมาใช้คืนในราคาที่แพงกว่าเดิม อย่างนี้ก็ขาดทุนได้ครับ
ซึ่งที่กล่าวมามันเกี่ยวกับการ Hedge เพราะถ้าหากเรา Buy ก่อน แล้ว Sell ทีหลังโดยไม่ปิด Buy ใน MT5 มันไม่ให้ทำเพราะว่า Position คานกันแล้วหมายความว่าคุณ Take Profit ไปแล้ว แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่ เพราะว่า มันไม่ได้ Close position ทำให้คนที่อยากจะสะสม Position Long แต่ว่า จะทำกำไรจากความผันผวนระยะสั้นด้วย ทำไม่ได้นั่นเอง ผมยกตัวอย่างก็คือ ถ้าหากเรา Buy EURUSD จำนวน 1 Lot และปรากฏว่ากราฟเข้าทางเราและกำไร เราจะทำการ Sell เพราะคิดว่ามันจะกลับตัว จำนวน 0.3 Lot โปรแกรมจะไม่อนุญาติให้ทำ เพราะว่า คุณจะต้องปิด Buy 0.3 Lot และเหลือ Buy ไว้ 0.7 Lot เหตุนี้ทำให้คนที่ชอบ Short และ Long พร้อมกัน หรือว่า Hedging ไม่นิยมใช้ MT5 เลย เรียกได้ว่าออกกฏมาฆ่าตัวเองแท้ ๆ ภายหลังต้องยกเลิกกฏนี้แต่ก็ไม่มีคนใช้อยู่ดีเพราะเขามองภาพไม่ดีแล้ว แล้วก็ไม่คิดจะใช้มันอีกต่อไป การพัฒนา Software ควรจะปรับปรุงจากของเดิมให้มันดี ไม่ใช่สร้างของใหม่มาแล้วทำได้ไม่ดีกว่าของเดิม
2. กฏ FIFO เป็นเรื่องที่ไร้เหตุผล
กฏ FIFO หรือ First In First Out ถูกนำมาใช้ในการเทรด เป็นกฏที่แปลกประหลาดและมาจากการบริหารจัดการทางบัญชี First In First Out ก็คือ หลักการในการจัดการสินค้าคงเหลือสำหรับสินค้าที่มีอายุสินค้า คือ ถ้าหากซื้อเข้ามาก่อนก็ต้องขายออกไปก่อน หมายความว่า ถ้าหากว่า เราเปิด Buy ออเดอร์แรก แล้วปรากฏว่าขาดทุนและราคาลงไปต่อ เราก็เลยจะเปิดออเดอร์ที่ 2 ซึ่งเราเปิดแล้วที่ราคาต่ำกว่าเดิมแล้วมันเด้งไปทำกำไร แต่ยังไม่ถึงจุดที่ออเดอร์แรกจะกำไร คือมันยังขาดทุนอยู่ พอร์ทโดยรวมเราก็ยังขาดทุนอยู่นิดหน่อย เราจะปิดทำกำไรออเดอร์ที่ 2 ไปก่อน เผื่อว่ามันจะลง และขึ้นไม่ถึงจุดที่ออเดอร์แรกกำไร แบบนี้ไม่ได้นะครับ!!!! ออเดอร์ที่ถูกเปิดก่อนจะต้องปิดก่อน คือ บ้าไปแล้วนี่มันกฏอะไรเนี่ย กฏที่น่ากลัวแบบนี้ทำให้การเทรด Forex หมดเสน่ห์ไปอย่างสิ้นเชิง จนทำให้ไม่มีคนใช้ MT5 ครับ กลับไปใช้ MT4 ดีกว่า ถ้าจะต้องเทรดอะไรแบบนี้
3. EA และ Indicator ที่ใช้บน MT4 นำมาใช้บน MT5 ไม่ได้
เหตุผลนี้การที่ EA มีบริษัทและ Developer เขียน EA ขึ้นมาใช้งานจำนวนหนึ่งใน Platform ของ MT4 แล้วจู่ ๆ มาบอกว่า EA เหล่านั้นจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป เขาก็ไม่ใช้งาน เพราะว่าคนเขียน EA พวกนั้นก็หายไปไหนไม่รู้หมดแล้ว จนทำให้คนพัฒนาบน Platform MT5 ไม่มีเลย ทำให้ผู้ใช้งานโปรแกรมก็น้อยตามไปด้วย และที่สำคัญที่ทำให้การใช้งานของ EA และ Indicator ที่เขียนบน MT4 ไม่สามารถใช้บน MT5 ได้คือ Expert Advisor เหล่านั้น ถูกเขียนบนภาษาที่ต่างกัน คือ MT4 จะเขียนบนภาษาที่มี Base คล้ายคลึงกับภาษา C ขณะที่การเขียน Expert Advisor บน Metatrader 5 นั้นเขียนบน Base ภาษา C++ การทำงานร่วมกันจึงทำไม่ได้อย่างสิ้นเชิง
4. Metatrader 5 เปลืองทรัพยากรคอมพิวเตอร์
ปัญหาการใช้ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์นั้นเป็นปัญหาเล็กน้อย ที่ไม่ได้มีความสำคัญมากนัก แต่ว่าสำหรับคนที่มีการรันโปรแกรมจำนวนเยอะและมีการรัน VPS service นั้นค่อนข้างจะเป็นปัญหาเพราะว่า จำนวน User ที่สามารถใช้บริการนั้นก็จะน้อยลง พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่มีคนให้บริการ Server สำหรับการรัน EA MT5 นั่นเอง มันคือสภาพแวดล้อมที่ดี เหมือนกับการที่ Huawei โดนแบนไม่ให้ใช้ Android นั่นแหละครับ ต้องมาสร้างอะไรเองใหม่หมดก็เสียเวลาครับ เลยไม่มีคนใช้
นอกจากประเด็นหลักที่กล่าวมาแล้วยังมีประเด็นรองที่สำคัญไม่แพ้กัน โดยสรุปได้ดังนี้
- จำนวน Pending Order ใน MT4 มี 4 ประเภท ขณะที่ MT5 มี 6 ประเภท ซึ่งข้อนี้ไม่มีผลต่อการส่งคำสั่งมาก เรียกว่า เสียมากกว่าได้ลูกค้าจากฟังค์ชั่นที่ใช้ได้ไม่ค่อยดี
- ใน MT4 นั้นไม่มีแสดง Volume การซื้อขายในตลาดของแต่ละราคา นั่นก็คือลักษณะที่เหมือนตลาดหุ้นทำให้เราทราบว่า ช่วงราคานี้มีคนซื้อหรือขายอยู่เท่าไหร่ ซึ่งคนที่ใช้ MT4 ก็ไม่ได้แคร์เท่าไหร่ ขอแค่มันกำไรก็พอและไม่รู้ว่าต่อให้รู้จำนวนเหล่านี้ก็ไม่ได้ทำให้เขาเทรดได้กำไรได้ง่าย
- Metatrader 5 มี Indicator พื้นฐานเพิ่มขึ้น 8 ตัว จากเดิมที่ MT4 มี 30 ตัว ซึ่งข้อนี้ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับ MT4 เอาเสียเลยเพราะว่า MT4 นั้นมีคนสร้าง Indicator ไว้เยอะมาก ต่อให้ไม่แถม Indicator พื้นฐานมาเลยก็สามารถดาวน์โหลดเอาได้เต็มไปหมด
- แบ่ง Time Frame ละเอียดขึ้น เดิมที Time Frame ใน MT4 มี อยู่ 9 Time Frame
Updated
2 years ago
(Nov 12, 2020 11:57)