G7 ร่วมกดดันจีนละเมิดสิทธิมนุษยชน-บีบบังคับทางเศรษฐกิจ

G7 ร่วมกดดันจีนละเมิดสิทธิมนุษยชน-บีบบังคับทางเศรษฐกิจ
Create at 3 years ago (May 06, 2021 12:23)

กลุ่มประเทศ G7 ออกแถลงการณ์ร่วมหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นเวลา 3 วัน ที่กรุงลอนดอนสิ้นสุดลง โดยระบุว่า จะเพิ่มมาตรการกดดันรัฐบาลจีนจากประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของจีนที่เป็นไปในเชิงบีบบังคับ นอกจากนี้กลุ่มประเทศ G7 ยังได้ส่งสัญญาณให้การสนับสนุนไต้หวันด้วย

บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศระบุว่า จีนซึ่งเป็นมหาอำนาจและผู้นำทางเศรษฐกิจนั้น ควรเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน รวมถึงทำหน้าที่และแสดงความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับบทบาทของจีนบนเวทีเศรษฐกิจโลก

กลุ่มประเทศ G7 ออกแถลงการณ์ร่วมหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นเวลา 3 วัน ณ กรุงลอนดอนสิ้นสุดลง โดยระบุว่าจะเพิ่มมาตรการกดดันรัฐบาลจีนจากประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของจีนที่เป็นไปในเชิงบีบบังคับ นอกจากนี้กลุ่มประเทศ G7 ยังได้ส่งสัญญาณให้การสนับสนุนไต้หวันด้วย

บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศระบุว่า จีนซึ่งเป็นมหาอำนาจและผู้นำทางเศรษฐกิจนั้น ควรเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน รวมถึงทำหน้าที่และแสดงความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับบทบาทของจีนบนเวทีเศรษฐกิจโลก

“เราจะร่วมมือกันเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ระบบเศรษฐกิจโลก เมื่อต้องเผชิญกับนโยบายและมาตรการทางเศรษฐกิจที่มุ่งรวบอำนาจและบีบบังคับเช่นนี้” รัฐมนตรีต่างประเทศจากกลุ่ม G7 ระบุในแถลงการณ์ร่วม

ข้อกล่าวหาที่ว่ารัฐบาลจีนละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาวมุสลิมอุยกูร์ในเขตปกครองตนเองซินเจียง รวมถึงรายงานเรื่องการบังคับใช้แรงงานและบังคับคุมกำเนิดนั้น ได้รับการพูดถึงในการประชุมดังกล่าวว่า เป็นประเด็นที่สร้างความกังวลใจให้ประเทศสมาชิกเป็นอย่างมาก

“เราต่างเห็นตรงกันว่าการจัดการการบังคับใช้แรงงานตามมาตรการของประเทศเรานั้นเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งมาตรการเหล่านี้มีทั้งการสร้างความตระหนักรู้ ตลอดจนการให้คำแนะนำและสนับสนุนชุมชนธุรกิจในประเทศเราด้วย” แถลงการณ์ร่วมระบุ

นอกจากนี้ ในแถลงการณ์ร่วมยังมีการแสดงความกังวลต่อการที่รัฐบาลจีนบ่อนทำลายโครงสร้างระบอบประชาธิปไตยของฮ่องกง รวมถึงสถานการณ์ในทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ หลังจีนยกระดับการขยายอิทธิพลและอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะเซนกากุที่ญี่ปุ่นควบคุมอยู่

Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES