ดอลลาร์ได้รับแรงกดดันและติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง เมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินปอนด์ ขณะที่บรรดาเทรดเดอร์กำลังประเมินผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ก่อนการประกาศข้อมูลการจ้างงานรายเดือน ปลายสัปดาห์นี้
จากการที่ตลาดลอนดอนและนิวยอร์กปิดทำการเมื่อวานนี้ ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลง 0.1% มาอยู่ที่ 90.044 เมื่อเวลา 13:50 GMT และเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ข้อมูลสำคัญที่กำหนดอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 29 ปี ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์
เงินยูโร ทรงตัวที่ 1.2195 ดอลลาร์จากระดับต่ำสุดในวันศุกร์ที่ 1.2133 ดอลลาร์ ส่วนเงินปอนด์อ่อนค่าลง 0.1% อยู่ที่ 1.4173 ดอลลาร์
การซื้อขายที่เบาบางในช่วงวันหยุดเทศกาล นักลงทุนได้ชั่งน้ำหนักผลกระทบต่อสัดส่วนสินทรัพย์ของสหรัฐฯ จากแรงกดดันด้านราคาที่สูงขึ้นและมาตรการของเฟด แต่แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น ตลาดก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงช่วงปลายปี 2022
ดัชนีราคาการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน พุ่งขึ้น 3.1% ในวันศุกร์ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นรายปีมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 1992 เนื่องจากการฟื้นตัวจากการระบาดของโควิดและการหยุดชะงักของอุปทานต่าง ๆ
ตลาดเชื่อว่าระดับเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาจะสูงเพียงชั่วคราว อัตราฯในปีหน้าจะยังคงอยู่ที่ 2.5% อุลริช ลุชมันน์ หัวหน้าฝ่าย FX ของ Commerzbank และฝ่ายวิจัยสินค้าโภคภัณฑ์ระบุในรายงาน "นั่นไม่ได้ทำให้การกำหนดค่าเงินดอลลาร์ง่ายขึ้นเลย" เขากล่าว "จนกว่าเราจะมีความชัดเจนมากขึ้น เงินดอลลาร์ยังคงมีแนวโน้มที่จะทรงตัวในระดับปัจจุบัน"
นักเก็งกำไรเพิ่มเดิมพันของพวกเขาต่อดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีปริมาณสถานะการ short เงินดอลลาร์มากขึ้น แตะระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือนครึ่ง
ข้อมูลสำคัญของสัปดาห์นี้ คือ ตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ ซึ่งจะประกาศในวันศุกร์ โดยคาดการณ์ค่ามัธยฐานที่ 650,000 แต่ผลลัพธ์ยังไม่แน่นอนหลังจากเพิ่มขึ้นเพียง 266,000 ตำแหน่งในเดือนเมษายน