EUR/USD ปรับตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดในรอบ 4 เดือนกว่า 500 จุด จาก $1.17051 มาที่ $1.17527 หลังดัชนีราคาค้าส่งของเยอรมนีออกมาดี ขณะที่ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 0.12% แตะระดับ 93.038 เช้านี้
.
โดยในด้านดัชนีราคาค้าส่งของเยอรมนี ระบุว่า ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ราคาขายในการค้าส่งเพิ่มขึ้น 11.3% เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงรายเดือนที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2517 ขณะที่ หลังจากวิกฤตการส่งออกน้ำมันครั้งแรก +13.2% เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 ในด้านเดียวกัน เดือนมิถุนายน 2564 และพฤษภาคม 2564 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงรายปีอยู่ที่ +10.7% และ +9.7% ตามลำดับ โดยนับตั้งแต่มิถุนายน 2564 ถึงกรกฎาคม 2564 และดัชนีค้าส่งเพิ่มขึ้น 1.1% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 0.9% แต่ต่ำกว่าค่าก่อนหน้าที่ 1.5%
.
ในเดือนกรกฎาคม 2564 ดัชนีราคาผู้บริโภคของฝรั่งเศส (CPI) เพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนมิถุนายน โดยราคาของบริกาเพิ่มขึ้นที่ +0.7% จาก +0.1%, กลุ่มของพลังงาน +2.2% จาก +1.1%, ราคาอาหารเพิ่มขึ้น +0.1% จาก −0.7%, ราคาสินค้าอุตสาหกรรมลดลง -1.8% จาก +0.5% เช่นเดียวกับราคายาสูบที่ลดลง −0.2% โดยราคาทั้งหมด เมื่อปรับฤดูกาลแล้ว ราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนกรกฎาคม หลังจาก +0.2% ในเดือนมิถุนายน โดยอัตราเงินเฟ้อที่ผันผวนนี้ได้รับแรงหนุนจากราคาสินค้าอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง
.
ข้อมูลด้านดุลการค้าของยุโรป (Trade Balance) ระบุว่าการประมาณการครั้งแรกสำหรับการส่งออกสินค้าในเขตยูโรไปคู่ค้าต่างๆทั่วโลก ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 มีมูลค่า 209.9 พันล้านยูโร เพิ่มขึ้น 23.8% เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2563 มูลค่า 169.6 พันล้านยูโร ซึ่งการประากศตัวเลขดุลการค้า ค่าที่ออกมาอยู่ที่ 12.4B ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ที่ 10.9B แต่ต่ำกว่าค่าก่อนหน้าที่ 13.8B
.
การวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิค
ในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง EUR/USD พุ่งขึ้นกว่า 500 จุด จาก $1.17051 มาที่ $1.17527 ก่อนจะย่อตัวลงมาเล็กน้อยที่ $1.17439 ณ เวลาที่เขียน อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถยืนเหนือแนวต้านที่ $1.17701 ได้ ก็มีโอกาสที่จะร่วงลงต่อไปเทสแนวรับเดิมที่ $1.17055
แนวรับสำคัญ : 1.17055 / 1.16889
.