สถานการณ์การระบาดโควิดในวันนี้ (26 สิงหาคม 2564)
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ผู้ป่วยรายใหม่ 18,501 ราย เสียชีวิต 229 ราย
สำหรับในเรื่องของความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจในประเทศไทย นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ซึ่งเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงาน "Thailand Focus 2021: Thriving in the Next Normal" จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ว่า แม้เศรษฐกิจไทยจะถูกกระทบจากโควิด-19 และคาดว่าจะฟื้นตัวช้ากว่าภูมิภาค อันเนื่องมาจากรายได้ของประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวค่อนข้างสูงราว 11-12% ของจีดีพี
อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยมีความทนทาน (Resilient) ต่อภาวะวิกฤตที่สูง และมองความเสี่ยงจากโควิด-19 เริ่มสามารถประคองได้แล้ว
ส่วนสำหรับ 3 ปัจจัยที่น่าจับตามอง ของธนาคารแห่งประเทศ ได้แก่
1. ความสามารถในการชำระหนี้ไทย
ความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศที่ถือว่าดี ของประเทศไทยเราสะท้อนจากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย ที่อยู่ในระดับสูง 280 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9.2 ล้านล้านบาท) ขณะที่หนี้ต่างประเทศยังอยู่ในระดับที่ต่ำอยู่ โดยยกตัวอย่างการอ่อนค่าของเงินบาทราว 10% ตั้งแต่ต้นปี จนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดดุลบัญชีเดินสผะพัด ภายหลังการท่องเที่ยวของไทยหดตัวค่ะ
2. ความแข็งแกร่งด้านการเงิน
ความแข็งแกร่งของฐานะการเงินในประเทศไทย แม้ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP จะปรับขึ้นในช่วงภาวะวิกฤต เช่นเดียวกับทุกประเทศ โดยปัจจุบันอยู่ในระดับสูงกว่า 50% ต่อ GDP แต่เป็นระดับที่ถือว่ายังยอมรับได้ค่ะ และรัฐบาลยังมีช่องว่างในการออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมได้ หากมีความจำเป็น โดยมีช่องทางการระดมทุนอื่นๆด้วยค่ะ เช่น การออกพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า 1.7% หรือต่ำกว่าต้นทุนทางการเงินของหลายประเทศ
3. ความแข็งแกร่งภาคธนาคาร
ความแข็งแกร่งของภาคธนาคารในประเทศไทยไทย โดยธนาคารพาณิชย์ ยังมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) อยู่ในระดับสูงที่ 20% และระดับเงินตั้งสำรองที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่ามูลค่าหนี้ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อีกทั้งภาคการเงินยังสามารถดำเนินการได้ท่ามกลางวิกฤตแบบนี้ โดยมองการสะท้อน จากการเติบโตของทุกกลุ่มสินเชื่อค่ะ