วันศุกร์ ดัชนีดอลลาร์แข็งค่า 0.02% แต่ปิดเพิ่มขึ้นประมาณ 1.7% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในรายสัปดาห์สูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ปี 2021 พร้อมกับพุ่งเหนือ 97 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2020 จากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่รวดเร็วขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตามในเช้าวันจันทร์ DXY ทรงตัวเหนือระดับ 97.00 โดยเคลื่อนไหวอยู่ที่ 97.126 ณ เวลาที่เขียน
นักเศรษฐศาสตร์จาก Bank of America Corp. กล่าวว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในทุกๆการประชุมเพื่อจัดการกับเงินเฟ้อสูง “ตอนนี้เราคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% รวม 7 ครั้งในปีนี้ และทำให้อัตราดอกเบี้ยเฟดแตะระดับสูงสุดที่ 2.75%-3.00%”
นักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซคส์แสดงการคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 5 ครั้งในปีนี้(มี.ค., พ.ค., ก.ค., ก.ย. และธ.ค.) และประกาศเริ่มต้นการลดงบดุลในเดือนมิ.ย. โดยอัตราดอกเบี้ยในช่วงสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 1.25% - 1.50% จากปัจจุบันอยู่ที่ 0.00-0.25%
FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 33% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% จำนวน 5 ครั้งในปี 2022 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ให้น้ำหนักเพียง 22%
วันศุกร์ ดัชนีเฉลี่ยดาวโจนส์ปิด เพิ่มขึ้น 564.69 จุด หรือ +1.65%, ดัชนี S&P500 ปิด +2.43% และดัชนี Nasdaq ปิด +3.13% โดยตลาดได้แรงหนุนจากการดีดตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
สมาพันธ์อุตสาหกรรมอังกฤษ (CBI) เปิดเผยเมื่อวานนี้ (30 ม.ค.) ว่า ธุรกิจในอังกฤษรายงานการเติบโตที่ชะลอตัวมากที่สุดนับตั้งเดือนเมษายน 2564 ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา หลังความต้องการในการใช้บริการแบบพบหน้าของผู้บริโภคหดตัวจากการที่สายพันธุ์โอมิครอนแพร่ระบาด
แม้ปัจจัยต่างๆจะหนุน DXY แต่ในด้าน กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคสหรัฐลดลง 0.6% ในเดือนธ.ค. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนพ.ย.
ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 67.2 ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2011 จากระดับ 70.6 ในเดือนธ.ค. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 68.5
ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ พุ่งขึ้น 4.9% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 1983
กลุ่มกบฏฮูตีในเยเมนได้ยิงขีปนาวุธข้ามพรมแดนเพื่อหวังโจมตีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ในช่วงเที่ยงคืนของวันอาทิตย์ (30 ม.ค.) แต่กองทัพของ UAE สามารถยิงสกัดขีปนาวุธดังกล่าวได้สำเร็จ
การวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิคจากนักวิเคราะห์ FXTODAY
ในกรอบเวลา 4 ชั่วโมง วันศุกร์ ดัชนีดอลลาร์แข็งค่า 0.02% แต่ปิดเพิ่มขึ้นประมาณ 1.7% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เทส High ในรอบ 18 เดือนที่ระดับ 97.449 โดยในเช้าวันจันทร์ DXY ได้ปรับตัวลงเล็กน้อย แต่ยังคงทรงตัวเหนือระดับ 97.00 โดยเคลื่อนไหวอยู่ที่ 97.126 ณ เวลาที่เขียน อย่างไรก็ตามทิศทางกราฟยังคงเป็น Uptrend หลังจากมีการเบรคเอาท์กรอบแชแนลขาลงสีเหลือง และเบรคเอาท์ กรอบแชแนลสีเหลืองในขาขึ้น อย่างไรก็ดีกราฟที่ได้ย่อตัวลงมานั้น มีโอกาสจะย่อตัวลงไปเทสแนว Demand Zone ระดับ 96.597 ซึ่งหากไม่สามารถผ่านโซนนี้ไปได้ ก็มีโอกาสขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ 97.285 / 97.449 / 97.661 ตามลำดับ
แนวต้านสำคัญ : 97.285 / 97.449 / 97.661
แนวรับสำคัญ : 97.085 / 96.897 / 96.597
Updated
2 years ago
(Jan 31, 2022 11:55)