ดัชนีดอลลาร์ ลดลง 0.59% แตะที่ 96.65 เมื่อคืนนี้ ท่ามกลางแรงขายทำกำไรจากนักลงทุน

ดัชนีดอลลาร์ ลดลง 0.59% แตะที่ 96.65 เมื่อคืนนี้ ท่ามกลางแรงขายทำกำไรจากนักลงทุน
Create at 2 years ago (Feb 01, 2022 12:20)

ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.59% แตะที่ 96.65 เมื่อคืนนี้ ท่ามกลางแรงขายทำกำไรจากนักลงทุน หลังจากดอลลาร์พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 ปีครึ่งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา อันเป็นผลมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่รวดเร็วขึ้นเพื่อสกัดกั้นอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดีในปัจจุบัน DXY เคลื่อนตัวอยู่ระดับ 95.55 ณ เวลาที่เขียน

นายไซมอน คลาร์ก หัวหน้าเลขาธิการกระทรวงการคลังของอังกฤษเปิดเผยว่า อังกฤษจะคว่ำบาตรธุรกิจและบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย หากรัสเซียกระทำการใด ๆ กับยูเครน
 
กระทรวงกลาโหมสหรัฐ (เพนตากอน) เปิดเผยเมื่อวานนี้ (31 ม.ค.) ว่า ขณะนี้สหรัฐกำลังหารือกับชาติพันธมิตรในยุโรปตะวันออกเกี่ยวกับการส่งทหารอเมริกันไปประจำการในพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับพันธมิตรในองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต (NATO) ขณะเผชิญหน้ากับการสะสมกำลังพลของรัสเซียตามแนวชายแดนใกล้ยูเครน
 
โกลด์แมน แซคส์ ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐในปีนี้ ลงสู่ 3.2% จาก 3.8% เนื่องจากมาตรการสนับสนุนด้านการคลังลดลง และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน 
 
ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง JPMorgan ได้ออกมาให้มุมมองว่าแนวโน้มของเงินดอลลาร์ (เมื่อเทียบกับสกุลเงินและสินทรัพย์อื่น ๆ) ยังสามารถแข็งค่าได้อีกในระยะสั้น ๆ นี้ โดยมองว่าจะแข็งค่าไปจนกว่าที่ FED จะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยเป็นอย่างน้อย
 
ขณะเดียวกัน การที่ FED กำลังลดปริมาณการอัดฉีดเงินดอลลาร์เข้าระบบ (QE Tapering) รวมถึงกำลังจะปรับขึ้นดอกเบี้ย (Hawkish Tone Policy) และกำลังจะลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening : QT) ทำให้นักลงทุนเทขาย พันธบัตร, หุ้น, ทองคำ, Crypto และสินทรัพย์อื่น ๆ เพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสด ซึ่งส่วนหนึ่งก็มีดแนวโน้มจะนำเงินสดนี้มาพักไว้รอซื้อพันธบัตรรุ่นใหม่ที่จะให้ผลตอบแทนสูงกว่าเดิม และนั่นถือเป็นปัจจัยที่ผลักดัน Dollar Demand ซึ่งทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในระยะสั้นได้
 
แม้ปัจจัยต่างๆจะกดดัน DXY แต่ในด้าน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดภาคการผลิตในเขตมิดเวสต์ของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 65.2 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 61.7
 
ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 406.39 จุด หรือ +1.17%, ดัชนี S&P500 ปิด +1.89% และดัชนี Nasdaq ปิด  +3.41% เนื่องจากนักลงทุนเข้าช้อนซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะหุ้นเน็ตฟลิกซ์และหุ้นเทสลา รวมไปถึงหุ้นโบอิ้ง 
 
นางแมรี่ เดลี ประธานเฟดฟรานซิสโก เปิดเผยว่า เฟดควรเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากระดับใกล้ศูนย์ในเดือนมี.ค. แต่ควรเปิดทางเลือกต่อไปว่าควรขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกไกลแค่ไหนหลังจากนั้น
 
นางเอสเธอร์ จอร์จ ประธานเฟดแคนซัสซิตี้กล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า เฟดสามารถเริ่มลดงบดุลได้เร็วกว่าในอดีต และการดำเนินการเชิงรุกเพื่อลดการถือครองสินทรัพย์ของเฟดอาจทำให้เฟดไม่ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นจำนวนมาก
 
การวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิคจากนักวิเคราะห์ FXTODAY
ในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง ดัชนีดอลลาร์ ลดลง 0.59% แตะที่ 96.65 เมื่อคืนนี้ ก่อนจะปรับตัวลงเล็กน้อย ในปัจจุบันเคลื่อนตัวอยู่ระดับ 95.55 ณ เวลาที่เขียน อย่างไรก็ตามทิศทางกราฟยังคงเป็น Uptrend สังเกตจากเส้นเทรนด์ไลน์สีฟ้า  แต่ในเชิงของแรง Sell ยังคงมีปริมาณสูงสังเกตจากการร่วงลงของกราฟในช่วง 2 วันที่ผ่านมา โดยหากกราฟไม่สามารถขึ้นมายืนเหนือแนวต้านที่ระดับ 96.807 ได้ ก็มีโอกาสร่วงลงไปเทสแนวรับ และ Supply Zone บริเวณระดับ 96.454 / 96.274 / 95.905 ตามลำดับ 
แนวต้านสำคัญ : 96.807 / 97.095 / 97.438
แนวรับสำคัญ : 96.454 / 96.274 / 95.905

Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES