ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงปรับตัวอ่อนค่าลง ในขณะที่ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นอยู่ในสัปดาห์ที่แย่ที่สุดในรอบ 2 ปี อันเนื่องมาจากต้นทุนการนำเข้าที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวต่ำลง และความแตกต่างของนโยบายการเงินระหว่างเฟดและธนาคารกลางญี่ปุ่น
โดยดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ติดตามค่าเงินดอลลาร์เทียบกับกลุ่มสกุลเงินอื่น ๆ ลดลง 0.26% มาอยู่ที่ 98.540 เมื่อเวลา 23:43 น. ET (3:43 AM GMT) หรือประมาณช่วงเช้าของเช้าวันศุกร์ที่ผ่านมา ก่อนจะปิดไปที่ 98.781 ณ สิ้นวันที่ 25 มีนาคม
ส่วนค่าเงินเยนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงอ่อนค่า ลดลง 0.61% เป็น 121.58 โดยมีราคาเปิดของวันจันทร์ที่ 21 มีนาคม อยู่ที่ 119.17 ก่อนจะมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 122.05 ณ สิ้นวันที่ 25 มีนาคม
และในวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้เปิดเผยข้อมูลซึ่งแสดงให้เห็นว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของโตเกียว (CPI) สำหรับเดือนมีนาคม 2022 ขยายตัว 1.3% และ CPI หลักของโตเกียว เพิ่มขึ้น 0.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี และ CPI ดัชนีราคาผู้บริโภคไม่รวมอาหารและพลังงาน ก็เพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนด้วยเช่นกัน
ส่วนค่าเงินอื่น ๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
- ดอลลาร์ออสเตรเลีย เพิ่มขึ้น 0.08% เป็น 0.7518
- ดอลลาร์นิวซีแลนด์ เพิ่มขึ้น 0.06% เป็น 0.6969
- เงินปอนด์ เพิ่มขึ้น 0.19% เป็น 1.3208
- เงินหยวน ลดลง 0.1% เป็น 6.3616
จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดความกังวลเป็นวงกว้างว่าอาจจะทำให้ต้นทุนพลังงานและอาหารมีการปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจยุโรป ทำให้เงินยูโรอ่อนค่าลงเล็กน้อยตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีการตรึงราคาไว้ที่ 1.1005 ดอลลาร์
ส่วนประเทศผู้ส่งออกพลังงานและอาหารกลับได้รับผลประโยชน์ในครั้งนี้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ออสเตรเลีย ทำให้ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 1% เป็นระยะเวลาติดต่อกัน
อย่างไรก็ตาม เงินเยนยังคงอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยตกลงผ่านระดับ 120 และกำลังทดสอบแนวต้านสำคัญที่ระดับ 123.70
โดยการร่วงในครั้งนี้เกิดจากความคิดเห็นที่แข็งกร้าวของเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ซึ่งสวนทางกับนโยบายที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ทำให้เงินเยนตกลงสู่ระดับที่ไม่ค่อยดีนัก ประกอบกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้เงินเยนอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี
ซึ่งจากการที่เงินเยนอ่อนค่าลงในครั้งนี้ทำให้ เบรนท์ ดอนเนลลี่ เทรดเดอร์และประธานบริษัท Spectra Markets กล่าวกับรอยเตอร์สว่า “สิ่งหนึ่งที่ควรจับตามองในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ/เยน คือ การตอบโต้จากผู้กำหนดนโยบายในญี่ปุ่น”
ในการป้องกันสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ การควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนของตลาดตราสารหนี้อาจทำให้เงินเยนอ่อนค่าลงได้อีก อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี แตะ 0.235% ในวันศุกร์ ซึ่งใกล้ขีดจำกัดบน 0.25%
ส่วนรูเบิลรัสเซียเริ่มมีการทรงตัวในยุโรป จากการที่วลาดิมีร์ ปูติน เริ่มขายก๊าซให้กับประเทศที่ไม่เป็นมิตรกับรัสเซีย
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินเยนเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการปรับตัวขึ้นมาเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์นี้ ดังนั้น นักลงทุนจึงควรจับตามองสถานการณ์ในครั้งนี้ต่อไปว่าจะดำเนินไปในทิศทางใด
Updated
2 years ago
(Mar 28, 2022 14:23)