ผู้กำหนดนโยบายของญี่ปุ่นได้พูดถึงค่าเงินเยนที่อ่อนตัวลงในรอบ 6 ปีเมื่อมีการเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ โดย มาซาโดะ คันดะ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นได้กล่าวไว้ว่า “ความผันผวนที่มากเกินไปและความไม่เป็นระเบียบ” ซึ่งกลายเป็นการเคลื่อนไหวของค่าเงินทำให้ญี่ปุ่นไม่พึงพอใจค่ะ นอกจากนี้ในการแทรกแซงในด้านการพูดแล้วญี่ปุ่นเองยังได้มีการแทรกแซงเพื่อไม่ให้ค่าเงินเยนร่วงลงโดยพวกเขาจะมีการเข้าไปแทรกแซงในตลาดการเงินโดยตรงเลยและการซื้อเงินเยนจำนวนมาก โดยในวันนี้เราจะมาพูดถึงการเข้าซื้อเงินเยนของญี่ปุ่นและแนวโน้มที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกค่ะ
การเกิดเหตุการณ์วิกฤตการเงินในเอเชียเมื่อปี 1998 ทำให้ญี่ปุ่นได้เข้าแทรกแซงการซื้อเงินเยนครั้งสุดท้ายเพื่อสนับสนุนเงินของตนเองค่ะ นอกจากเหตุการณ์ครั้งนั้นก่อนหน้านี้ยังมีการเข้าแทรกแซงการเข้าซื้อเงินเยนเมื่อปี 1991-1992 อีกด้วยค่ะ และการที่จะกระตุ้นให้ญี่ปุ่นได้เข้ามาซื้อเงินเยนอีกครั้งก็ต่อเมื่อการแทรกแซงด้วยคำพูดนั้นล้มเหลว เนื่องจากการแทรกแซงด้วยการซื้อเงินเยนนั้นมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงและอาจทำให้ล้มเหลวได้ง่าย จึงต้องมีการพิจารณาและต้องได้รับความยินยอม โดยเหตุผลในการเข้าแทรกแซงในครั้งนี้คือการที่ค่าเงินเยนอ่อนลงต่ำกว่า 130 ดอลลาร์
สำหรับการทำงานของการเข้าแทรกแซงค่าเงินนั้นมีกระบวนการดังนี้
1. กระทรวงการคลังจะมีการออกตั๋วเงินเพิ่มระยะสั้นเพื่อเพิ่มเงินเยนซึ่งสามารถขายในตลาดเพื่อลดเงินเยนได้
2. การแตะเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเป็นดอลลาร์เพื่อที่จะขายในตลาเพื่อแลกเงินเยน
แต่ถึงยังไงการเข้าแทรกแซงเงินเยนของญี่ปุ่นไม่สามารถที่จะทำได้เลย แต่ต้องได้รับความยินยอมจากสัญญา G7 Group of Seven (7 ประเทศกลุ่มชั้นนำในด้านอุตสาหกรรมของโลก) โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา การแทรกแซงนั้นไม่สามารถทำได้ง่ายนอกจากว่าเหตุการณ์ในตอนนั้นจะเป็นการผันผวนที่รุนแรงจนต้องได้รับการแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด
อ้างอิงจาก: Investing