จากสถานการณ์การกดดันทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียที่นานาชาติได้ร่วมมือกันกระทำต่อรัสเซีย เพื่อกดดันให้มีการยุติการรุกรานในยูเครนโดยทันที ล่าสุดกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นออกมาแถลง จะสั่งแบนการส่งออกโลหะมีค่า(ทองคำ)ไปยังรัสเซีย โดยจะเป็นการเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่อมอสโกเพื่อตอบโต้การรุกรานยูเครน โดยการแบนจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 เมษายน นี้ และรวมไปถึงทองคำและสินค้าฟุ่มเฟือยอื่น ๆ อย่าง เครื่องประดับ รถยนต์ระดับ High-End สุรา และเครื่องสำอาง
“ประกอบกับความร่วมมือกับสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ญี่ปุ่นเข้าร่วมการคว่ำบาตรต่อผู้มีอำนาจของรัสเซียและชนชั้นปกครอง” กระทรวงการคลังญี่ปุ่นกล่าวเมื่อวันอังคาร ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้น หลังจากนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ให้คำมั่นที่จะเพิ่มการคว่ำบาตรต่อรัสเซียในการประชุม กลุ่ม 7 (G7) เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ส่วนสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรก็ได้คว่ำบาตรการซื้อขายทองคำรัสเซียไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทาวด้านกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้สั่งห้ามการทำธุรกรรมทองคำทั้งหมดกับธนาคารกลางของรัสเซีย กระทรวงการคลังสหรัฐฯ กล่าวในเว็บไซต์ด้วยว่า "ห้ามมิให้บุคคลอเมริกันทำธุรกรรมใด ๆ รวมทั้งธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับทองคำ ที่มีความเกี่ยวข้องกับธนาคารกลางของสหพันธรัฐรัสเซีย, กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของสหพันธรัฐรัสเซีย, หรือกระทรวงการคลังของสหพันธรัฐรัสเซีย" ทางด้านสหราชอาณาจักรยังระบุด้วยว่า หน่วยงานใด ๆ ของอังกฤษไม่สามารถมีส่วนร่วมในการขายทองคำสำรองของมอสโก
เมื่อต้นเดือนนี้ ญี่ปุ่นก็ยังได้ควบคุมการส่งออกสินค้า High Tech ไปยังรัสเซียแล้ว ซึ่งรวมถึงเซมิคอนดักเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร และในขณะนี้ ญี่ปุ่นกำลังวางแผนที่จะตรวจสอบสถานะการค้าของประเทศรัสเซียที่เป็นที่นิยมมากที่สุดอีกครั้ง ซึ่งอาจกระตุ้นให้มีการห้ามนำเข้าสินค้ารัสเซียบางรายการ สภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกาก็ได้ให้การสนับสนุนกฎหมายประเภทนี้เมื่อต้นเดือนมีนาคม โดยเหตุผลที่ประเทศต่าง ๆ มุ่งเน้นไปที่การทำธุรกรรมทองคำ ก็เนื่องมาจากความกังวลว่ามอสโกอาจใช้ทองคำสำรองเพื่อหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตร ซึ่ง UBS ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นสิ่งที่ติดตามได้ยาก
Joni Teves นักยุทธศาสตร์ด้านโลหะมีค่าของ UBS กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ CNBC เมื่อวันจันทร์ว่า "เป็นเรื่องยากที่จะเห็นผลกระทบดังกล่าวในตลาดทันที โดยพิจารณาจากหลายขั้นตอน" “และด้วยเหตุนี้แม้ในสถานการณ์ปกติ อาจต้องใช้เวลาสองสามเดือนกว่าที่เราเห็นรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองของธนาคารกลางต่อ IMF” หากอิงจากข้อมูลล่าสุดของ IMF รัสเซียถือครองทองคำเกือบ 2,300 ตัน ณ สิ้นเดือนมกราคม ซึ่งถือเป็นเจ้าของทองคำรายใหญ่อันดับ 5 ของโลก
โดยภาพรวมแล้วการคว้ำบาตรนี้จะผลเสียต่อรัสเซียอาจจะส่งผลต่อราคาทองภายในตลาดของประเทศจากการพุ่งเป้าไปกดดันกลุ่มผู้มีอำนาจและชนชั้นสูง เพื่อให้เกิดการกดดันต่อภาครัฐต่อไป