GBP/USD ปรับตัวลดลงท่ามกลางการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ในวันอังคาร และปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบหลายสัปดาห์ที่ 1.3045 ช่วงตลาดเอเชียในวันพุธ อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน GU มีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 1.3100 ในช่วงแรกของตลาดยุโรป โดยมีการซื้อขายอยู่ที่ 1.3099 ณ เวลาที่เขียน
ตลาดการเงินคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมทั้งในเดือน พ.ค.และ มิ.ย.ที่จะถึงนี้ และคาดว่าเฟดจะทำให้อัตราดอกเบี้ยแตะระดับ 2.50-2.75% ในช่วงสิ้นปีนี้ ซึ่งสูงกว่า 2.4% ซึ่งเป็นระดับที่กรรมการเฟดส่วนใหญ่มองว่าเป็นระดับที่เป็นกลาง
ดูเหมือนว่าตลาดจะเชื่อมั่นว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 100 bps ในการประชุมสองครั้งถัดไป เพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ นางลาเอล เบรนาร์ด หนึ่งในคณะผู้ว่าการเฟดที่เคยเป็นหนึ่งในกรรมการเฟดสายพิราบกล่าวว่า เฟดควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นระบบ และเร่งการปรับลดขนาดงบดุลเพื่อทำให้นโยบายการเงินของสหรัฐฯ มีสถานะที่เป็นกลางมากขึ้นในปีนี้ และทำการคุมเข้มนโยบายการเงินต่อไปตามความจำเป็น
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปียังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี ที่ 2.6104% หลังนางลาเอล เบรนาร์ด หนุนว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการลดงบดุลอย่างรวดเร็วเพื่อทำให้นโยบายการเงินของสหรัฐฯ "เป็นกลางมากขึ้น" ในปลายปีนี้
คริสตินา ฮูเปอร์ นักวิเคราะห์จากบริษัทอิสเวสโคกล่าวว่า การแสดงความเห็นของนางเบรนาร์ดทำให้ตลาดวิตกกังวลว่า เฟดอาจเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระดับที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงหรืออาจเข้าสู่ภาวะถดถอย และเมื่อถึงเวลานั้น เฟดอาจเผชิญกับความยากลำบากในการพยุงเศรษฐกิจ
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยในวันนี้ว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าสหรัฐฯ ลดลง 0.1% สู่ระดับ 8.92 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือน ก.พ. แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.85 หมื่นล้านดอลลาร์
Source: CNBC, Fxstreet, Kitco, Investing
การวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิคจากนักวิเคราะห์ FXTODAY
ในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง GBP/USD ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบหลายสัปดาห์ที่ 1.3045 ก่อนจะมีการปรับตัวขึ้นมาที่ 1.3099 ณ เวลาที่เขียน อย่างไรก็ตาม ภาพรวมใหญ่ GU มีการวิ่งในลักษณะ Sideways ในกรอบราคาระหว่าง 1.3187-1.3058 แต่ในระยะสั้นฝั่ง Buy ยังมีความได้เปรียบ หลังจากไม่สามารถทะลุแนวรับสำคัญโซนบริเวณ 1.3058 ไปได้ อย่างไรก็ดี หากกราฟไม่สามารถดิ่งทะลุ Demand Zone บริเวณ 1.3013 ไปได้ ก็มีโอกาสกลับขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญที่ 1.3122 / 1.3188 / 1.3248 ตามลำดับ ในทางตรงกันข้าม หากสามารถทะลุ Demand Zone นี้ไปได้ ก็มีโอกาสดิ่งลงต่อ
แนวต้านสำคัญ: 1.3122 / 1.3188 / 1.3248
แนวรับสำคัญ: 1.3058 / 1.3013 / 1.2946
Updated
2 years ago
(Apr 06, 2022 16:59)