สำนักสถิติแห่งชาติของจีนได้ออกมาเปิดเผยว่า รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำปี 2565 อยู่ที่ 1.5% ซึ่งถือเป็นสถิติที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ครั้งก่อนหน้านี้ที่ 0.9% และ 1.2% ตามลำดับ
ในขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของจีนประจำปีนี้ (2565) แตะที่ 8.3% ซึ่งทำได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 7.9% แต่ก็ยังคงต่ำกว่าก่อนหน้านี้ที่ 8.8%
ซึ่งจากตัวเลขที่สูงขึ้นนี้ ส่งผลให้การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (PBOC) ถูกจำกัดลง และยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 3.7% ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา
อีกทั้ง ในเดือนมกราคม 2565 ที่ผ่านมาธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (PBOC) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (LPR) ลง 10 จุดพื้นฐาน (BPS) ส่งผลให้ประเทศออสเตรเลียสามารถส่งออกสินค้าไปประเทศจีนตามนโยบายของจีนได้มากขึ้น
ก่อนหน้านี้สินทรัพย์ร่วงลงหลังจากที่ทำสถิติสูงสุดประจำปีที่ 0.7662 เนื่องจากธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ยังคงนโยบายเดิมของวันอังคารที่ผ่านมา (5 เมษายน 2565) ซึ่งการใช้นโยบายเดิมนี้ ได้รับการคาดหวังอย่างสูงจากผู้ร่วมตลาด เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นทุกวัน ในขณะที่ อัตราผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ยังคงไม่ก้าวหน้า
อีกทั้ง ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) มีแนวโน้มที่จะอยู่ที่ 100.00 หลังจากที่เปิดมาติดลบในวันจันทร์ที่ผ่านมา (4 เมษายน 2565) ซึ่งการที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ดีดตัวขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ สาเหตุมาจากการที่นักลงทุนมีกำลังเดิมพันในเรื่องของการผลิตเงินในช่วงอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนี้ อีกทั้ง FED ยังคงเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนพฤษภาคม 2565 อีกด้วย
อย่างไรก็ดี นักลงทุนควรจับตามองตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) รวมถึงตัวเลขทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ของจีนไว้ให้ดี เนื่องจากมีความสัมพันธ์โดยตรงกับประเทศคู่ค้าอย่างออสเตรเลีย