ทองเทขายกว่า 2,300 จุด จาก High $1,836 สู่ Low $1,813 เหตุดอลลาร์ทรงตัว หลังนักลงทุนเปิดโหมด Risk-on รวมถึงปัจจัยจากการพุ่งขึ้นของบอนด์ยีลด์ กับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมา "ดีเกินคาด" ฉุดทองปิดตลาดแดนลบ อย่างไรก็ตาม ในเช้าวันพุธ ทองคำได้ปรับตัวลงต่อมาที่ $1,808 ณ เวลาที่เขียน
นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าววานนี้ว่าธนาคารกลางจะเดินหน้า "คุมเข้ม" นโยบายการเงิน จนกว่าจะเป็นที่แน่ชัดว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังปรับตัวลดลง
บอนด์ยีลด์ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 2.9878% ท่ามกลางแรงเทขายพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หลังสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่ง และการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
Fed Funds Futures บ่งชี้ว่า บรรดานักลงทุนคาดว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 50 bps ในเดือน มิ.ย. และ ก.ค. และ Fed Funds Futures น่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 2.98% ภายในเดือน ก.พ. จากระดับ 0.83% ในปัจจุบัน
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่ายอดค้าปลีกพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมยอดขายรถยนต์, น้ำมัน, วัสดุก่อสร้าง และอาหาร เพิ่มขึ้น 1.0% ในเดือน เม.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 0.4% หลังจากเพิ่มขึ้น 1.1% ในเดือน มี.ค.
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า ยอดค้าปลีกเดือน เม.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.9% เมื่อเทียบรายเดือน สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ และเมื่อเทียบรายปี ยอดค้าปลีกพุ่งขึ้น 8.2% โดยได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันและอาหารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันอังคาร (17 พ.ค.) หลังมีรายงานว่าสหรัฐฯ เตรียมผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรบางส่วนแก่รัฐบาลเวเนซุเอลา ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดว่าอาจจะส่งผลให้มีน้ำมันเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) รายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1.1% ในเดือน เม.ย. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.9% ในเดือน มี.ค.
อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจัยต่าง ๆ จะกดดันราคาทองคำ แต่ในด้านกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 2.0% ในเดือน มี.ค. เมื่อเทียบรายเดือน และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.9% หลังจากเพิ่มขึ้น 1.8% ในเดือน ก.พ. สกัดช่วงลบทอง
สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติของสหรัฐฯ (NAHB) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านดิ่งลง 8 จุด สู่ระดับ 69 ในเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2563 และเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5
ดัชนีดอลลาร์ปิดอ่อนค่าลงเป็นวันที่ 3 ติดต่อกันในวันอังคาร โดยร่วงลงจากระดับสูงสุดในรอบ 20 ปี เนื่องจากนักลงทุนกลับมาเปิดรับความเสี่ยงส่งผลกระตุ้นแรงขายดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย
ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย กล่าวว่า การที่ฟินแลนด์และสวีเดนเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโตจะไม่เป็นภัยคุกคามต่อรัสเซียแต่อย่างใด แต่เตือนว่า รัสเซียพร้อมตอบโต้ หากพบว่ามีการตั้งฐานทัพทางทหารในดินแดนของทั้งสองประเทศ หลังเป็นสมาชิกนาโต
นายคริสเตียน ลินด์เนอร์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของเยอรมนีเผยว่า ยินดีรับฟังความเห็นเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สินของรัสเซีย เพื่อนำเงินไปช่วยฟื้นฟูยูเครน
นางแครีน ฌ็อง-ปิแอร์ โฆษกทำเนียบขาว กล่าวว่า รัฐบาลสหรัฐฯ มีความเชื่อมั่นว่า องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) จะบรรลุฉันทามติในการอนุมัติให้ฟินแลนด์และสวีเดนเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต แม้มีเสียงคัดค้านจากตุรกี
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรติดตามสถานการณ์ความรุนแรงของสงคราม และทิศทางนโยบายทางการเงินของเฟดอย่างใกล้ชิด รวมถึงมีการบริหารความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนให้ดี ขอให้โชคดีครับ
Source: CNBC, SPDR, Kitco, Investing, Infoquest, Reuters, Bloomberg, Fxstreet
การวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิคจากนักวิเคราะห์ FXTODAY
ในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง ทองเทขายกว่า 2,300 จุด จาก High $1,836 สู่ Low $1,813 เหตุดอลลาร์ทรงตัว ก่อนจะปรับตัวลงต่อมาที่ $1,808 ณ เวลาที่เขียน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มภาพรวมใหญ่ ทองคำยังคงวิ่งในแนวโน้มขาลง (Downtrend) หากพิจารณาจากการที่กราฟยังวิ่งอยู่ใต้เส้นเทรนด์ไลน์สีชมพู และการที่กราฟได้กลับลงมาวิ่งต่ำกว่าเส้นเทรนด์ไลน์สีเหลือง รวมถึงการที่กราฟวิ่งต่ำกว่าเส้น EMA-100 และ EMA-200 ซึ่งแน่นอนว่าแนวโน้มระยะสั้นฝั่ง Sell ยังคงมีความได้เปรียบ อย่างไรก็ดี กราฟมีโอกาสกลับขึ้นมาทดสอบแนวต้านสำคัญ รวมทั้ง Re-Test แนวของเส้นเทรนไลน์สีชมพูอีกครั้ง ที่โซน $1,827-$1,845 (เนื่องจากปริมาณแรง Buy the Dip ที่ยังคงมีอยู่ในตลาด) ซึ่งโซนนี้สามารถเข้า Sell ได้ โดยหากไม่สามารถยืนเหนือแนวต้าน และเส้นเทรนด์ไลน์ดังกล่าวได้ ก็มีโอกาสที่กราฟจะปรับตัวลงต่อ และร่วงลงมาทดสอบแนวรับที่ $1798 / $1,786 / $1,774 ตามลำดับ (Demand Zone นี้ สามารถ Buy ได้) ในทางตรงกันข้าม หากสามารถยืนเหนือโซนแนวต้านสำคัญดังกล่าวไปได้ ก็มีโอกาสขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่โซน $1,860-$1874 (Supply Zone นี้ สามารถ Sell ได้) *** ในกรณีกราฟขึ้นมาโซนกรอบแดง ให้ยอมโดน Stop Loss ก่อน แล้วรอจังหวะที่กราฟขึ้นมา Supply Zone ค่อยเปิดหน้า Sell อย่าลืมบริหารความเสี่ยงกันนะครับ
แนวต้านสำคัญ: 1,827 / 1,839 / 1,853
แนวรับสำคัญ: 1798 / 1,786 / 1,774
Updated
2 years ago
(May 18, 2022 10:50)