Buyer หวั่น! หลังทองร่วง 2,200 จุด เหตุดอลแข็ง ขานรับ FED's Hawkish Comments !!!

Buyer หวั่น! หลังทองร่วง 2,200 จุด เหตุดอลแข็ง ขานรับ FED's Hawkish Comments !!!
Create at 2 years ago (Jun 01, 2022 12:23)

Buyer หวั่น หลังทองร่วงกว่า 2,200 จุด จาก High $1,856 สู่ Low $1,834 เหตุดอลแข็ง ขานรับ FED's Hawkish comments !!! รวมทั้งปัจจัยจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมา “ดีเกินคาด” อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันราคาได้ปรับตัวลงมาที่ $1,833 ณ เวลาที่เขียน

 

นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในคณะผู้ว่าการเฟดแสดงความเห็นว่า เฟดจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระดับที่รุนแรงขึ้นและรวดเร็วมากขึ้น หากอัตราเงินเฟ้อยังไม่มีแนวโน้มชะลอตัวลง พร้อมกับแนะนำให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมทุก ๆ ครั้งนับตั้งแต่การประชุมเดือน มิ.ย. จนกว่าเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้
 
Bond Yield 10 ปี พุ่งขึ้นสู่ระดับ 2.884% ในวันอังคาร หนึ่งวันหลังจากผู้ว่าการเฟด คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ กล่าวว่าเฟดควรเตรียมพร้อมที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยครึ่งเปอร์เซ็นต์ในการประชุมทุกครั้งนับจากนี้ไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะถูกควบคุมอย่างเด็ดขาด
 
ดัชนีดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น 0.41% สู่ระดับ 101.783 ซึ่งเป็นพุ่งขึ้นในวันเดียวที่มากที่สุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้นและความกังวลเกี่ยวกับการเร่งตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกทำให้ความต้องการเสี่ยฝของนักลงทุนลดลง
 
Shaun Osborne หัวหน้านักยุทธศาสตร์ด้านสกุลเงินที่ Scotia Bank กล่าวว่า การดีดกลับของดัชนีดอลลาร์สะท้อนแรงซื้อที่ดีบริเวณเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันซึ่งลงไปทดสอบในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา
 
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดภาคการผลิตในเขตมิดเวสต์ของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 60.3 สวนทางการที่คาดการณ์ของนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลงสู่ระดับ 55.0
 
ผลสำรวจของ Conference Board ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ปรับตัวลงสู่ระดับ 106.4 ในเดือน พ.ค. จากระดับ 108.6 ในเดือน เม.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 103.9 
 
อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจัยต่าง ๆ จะกดดันราคาทองคำร่วง แต่ในด้านกระทรวงการต่างประเทศยูเครนได้ออกแถลงการณ์ยอมรับมติของสหภาพยุโรป (EU) ในการระงับการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย โดยยูเครนเชื่อว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะกระทบเศรษฐกิจของรัสเซีย และตัดแหล่งการเงินขนาดใหญ่ที่รัสเซียใช้เป็นเครื่องมือในการทำสงครามได้ สกัดช่วงลบทอง
 
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซียอาจต้องพึ่งพาจีนและอินเดียมากยิ่งขึ้น หลังสหภาพยุโรป (EU) มีมติสนับสนุนมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียในสัดส่วนกว่า 2 ใน 
 
ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 222.84 จุด หรือ -0.67%, ดัชนี S&P500 ปิด-0.63% และดัชนี Nasdaq ปิด -0.41% โดยตลาดถูกกดดันจากความผันผวนของราคาน้ำมัน รวมทั้งการที่นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในคณะผู้ว่าการเฟดสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมทุกเดือนจนกว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง
 
เงินเฟ้อของยูโรโซนซึ่งประกอบด้วย 19 ประเทศ เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 8.1% ในเดือนพ.ค.จาก 7.4% ในเดือน เม.ย. และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 7.7% ซึ่งส่งผลกระทบต่อมุมมองของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปนั้นเพียงพอที่จะยับยั้งการขยายตัวของเงินเฟ้อที่ระดับสูง
 
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรติดตามทิศทางนโยบายทางการเงินของเฟดอย่างใกล้ชิด และสถานการณ์ความรุนแรงของสงคราม รวมถึงมีการบริหารความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนให้ดี ขอให้โชคดีครับ
 
Source: CNBC, SPDR, Kitco, Investing, Infoquest, Reuters, Bloomberg, Fxstreet 
 
การวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิคจากนักวิเคราะห์ FXTODAY
ในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง ทองร่วงกว่า 2,200 จุด จาก High $1,856 สู่ Low $1,834 โดยปัจจุบันราคาทรงตัวอยู่ที่ $1,833 ณ เวลาที่เขียน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มภาพรวมใหญ่ สามารถมองว่าทองคำยังวิ่งในแนวโน้มขาขึ้นได้ (Uptrend) หากพิจารณาจากการที่กราฟไม่สามารถร่วงทะลุแนวต้านใหญ่โซน $1,820 ได้ แต่ความได้เปรียบฝั่ง Buy มีน้อย เนื่องจากไม่สามารถยืนเหนือแนวต้านสำคัญที่โซน $1,860 ได้ รวมทั้งการที่กราฟวิ่งอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ย EMA100 และ EMA200 อย่างไรก็ดี กราฟมีโอกาสกลับลงมาทดสอบแนวรับสำคัญที่โซน $1,820-$1,810 ซึ่งโซนนี้สามารถเข้า Buy ได้ โดยหากไม่สามารถร่วงลงทะลุแนวรับสำคัญดังกล่าวได้ ก็มีโอกาสที่กราฟจะปรับตัวขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ $1,843 / $1,851 / $1,864 ตามลำดับ (โซนนี้ สามารถ Sell ได้) ในทางตรงกันข้าม หากสามารถร่วงทะลุโซนแนวต้านสำคัญดังกล่าวไปได้ ก็มีโอกาสดิ่งลงไปทดสอบแนวรับที่โซน $1,800 ซึ่งถ้ากราฟร่วงลงมาทะลุ $1,807 ให้ยอมแพ้ (SL) เพื่อรอจังหวะเข้าใหม่ อย่าลืมบริหารความเสี่ยงกันนะครับ
แนวต้านสำคัญ: 1,843 / 1,851 / 1,864 
แนวรับสำคัญ: 1,832 / 1,819 / 1,807
 
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES