กระทิงพักรบ!! ทองคำ ปรับตัวลงช่วงบ่าย หลังทะยานฟ้ากว่า 4,200 จุด วานนี้ จาก Low ที่ $1,815 สู่ High $1,857 หลังเผชิญแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของตลาด ก่อนการปราศรัยของนายเจอโรม พาวเวลล์ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ทองคำ ได้ปรับตัวลงมาที่ $1,842 ณ เวลาที่เขียนธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย เปิดเผยดัชนีภาคการผลิตในภูมิภาคมิด-แอตแลนติก ดิ่งลงสู่ระดับ -3.3 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 หลังจากแตะระดับ +2.6 ในเดือน พ.ค. (หนุนราคาทองคำ)
กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 3,000 ราย สู่ระดับ 229,000 ราย ในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ ที่ระดับ 215,000 ราย (หนุนราคาทองคำ)
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านดิ่งลง 14.4% ในเดือน พ.ค. สู่ระดับ 1.549 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2021 (หนุนราคาทองคำ)
ดัชนีดอลลาร์ร่วงลง 1.00% หลังจากธนาคารกลางอังกฤษ และธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง หลังมีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ (หนุนราคาทองคำ)
เงินปอนด์แข็งค่า หลังจากธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 1.25% ในการประชุมเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ (หนุนราคาทองคำ)
ด้านฟรังก์สวิสแข็งค่าขึ้น หลังจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ ได้สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดด้วยการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ -0.25% จากระดับ -0.75% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2550 (หนุนราคาทองคำ)
ดัชนี Dow Jones ปิดร่วงลง 741.46 จุด หรือ -2.42%, ดัชนี S&P500 ปิด -3.25% และดัชนี Nasdaq ปิด -4.08% เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่า เศรษฐกิจโลกอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังจากธนาคารกลางทั่วโลกพากันปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (หนุนราคาทองคำ)
Bond Yield 10 ปี ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 3.307% จากระดับสูงสุดในระหว่างวัน บริเวณ 3.495% ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ หลังการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่แย่เกินคาด กระตุ้นแรงซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย (หนุนราคาทองคำ)
นิตยสาร Newsweek เปิดเผยผลการสำรวจ พบว่า นักเศรษฐศาสตร์ 7 ใน 10 คน เชื่อว่า สหรัฐจะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีหน้า ท่ามกลางความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ และเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น (หนุนราคาทองคำ)
ทอม เฮนลิน นักวิเคราะห์จากบริษัทแอสเซนท์ ไพรเวท เวลธ์ กรุ๊ป กล่าวว่า การที่ธนาคารกลางทั่วโลกแห่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยทำให้นักลงทุนวิตกกังวลว่า จะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย และทำให้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนชะลอตัวลง (หนุนราคาทองคำ)
อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจัยต่าง ๆ จะหนุนราคา ทองคำ พุ่งทะยาน แต่ในปัจจัยด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีอายุ 10 ปี พุ่งขึ้นมากกว่า 20 bps ในช่วงเวลาสั้น ๆ หลังจากที่ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์สร้างความประหลาดใจให้ตลาดด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี ซึ่งสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของนโยบายการเงินในภูมิภาค สกัดช่วงบวก ทองคำ
อย่างไรก็ดี นักลงทุนควรติดตามทิศทางนโยบายทางการเงินของเฟดอย่างใกล้ชิด และสถานการณ์ความรุนแรงของสงคราม รวมถึงควรมีการบริหารความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนให้ดี ขอให้โชคดีครับ
ที่มา: CNBC, SPDR, Kitco, Investing, Reuters, Bloomberg, Fxstreet
อ่านเพิ่มเติม: News, Gold, Dollar
การวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิคจากนักวิเคราะห์ FXTODAY
ในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง ทองคำ ปรับตัวลงในช่วงบ่าย หลังทะยานฟ้ากว่า 4,200 จุด วานนี้ จาก Low ที่ $1,815 สู่ High $1,857 ก่อนจะปรับตัวลงมาที่ $1,842 ณ เวลาที่เขียน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มภาพรวมใหญ่ สามารถมองว่า ทองคำ ได้วิ่งในแนวโน้มขาลงได้ (Downtrend) หากพิจารณาจากการที่กราฟยังไม่สามารถยืนเหนือจุด High เดิมโซน $1,872 แต่ในระยะสั้น ฝั่ง Buyer มีความได้เปรียบ เนื่องจากกราฟไม่สามารถทะลุร่วงผ่านแนวต้านสำคัญที่ $1,818 ไปได้ และได้ยืนเหนือเส้นเทรนด์ไลน์สีชมพูได้ รวมถึงการที่กราฟวิ่งเหนือค่าเฉลี่ย EMA100, EMA200
อย่างไรก็ดี กราฟมีโอกาสกลับลงมาทดสอบแนวรับสำคัญที่โซน $1,828 ซึ่งโซนนี้สามารถเข้า Buy ได้ โดยหากไม่สามารถร่วงลงทะลุแนวรับสำคัญดังกล่าวได้ ก็มีโอกาสที่กราฟจะปรับตัวขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ $1,856 / $1,865 / $1,878 ตามลำดับ (โซนนี้ สามารถ Sell ได้) ในทางตรงกันข้าม หากสามารถร่วงทะลุโซนแนวต้านสำคัญดังกล่าวไปได้ ก็มีโอกาสดิ่งลงไปทดสอบแนวรับที่โซน $1,818-$1,800 ซึ่งถ้ากราฟร่วงลงมาทะลุ $1,822 ให้ยอมแพ้ (SL) เพื่อรอจังหวะเข้า Buy อีกครั้ง ในโซน Demand Zone อย่าลืมบริหารความเสี่ยงกันนะครับ
แนวต้านสำคัญ: 1,856 / 1,865 / 1,878
แนวรับสำคัญ: 1,838 / 1,828 / 1,818