ความวิตกเศรษฐกิจถดถอย!! หนุน ทองคำ ทะยาน 2,400 จุด จาก Low $1,826 สู่ High $1,847 หลังนักลงทุนกลับมาปิดรับความเสี่ยง (Risk off) ขณะเดียวกัน ด้าน Powell ย้ำชัด มุ่งมั่นเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย! อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ราคา ทองคำ ได้ปรับตัวลงมาที่ $1,831 ณ เวลาที่เขียน
Powell แถลงนโยบายการเงิน และภาวะเศรษฐกิจสหรัฐรอบครึ่งปี ต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภา ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
1. |
เฟดมีความมุ่งมั่นที่จะสกัดเงินเฟ้อให้ชะลอตัวลง และเฟดกำลังดำเนินการอย่างรวดเร็วไปสู่เป้าหมายดังกล่าว (กดดันทองคำ) |
2. |
มีความเป็นไปได้ที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้เศรษฐกิจถดถอย แม้ว่านั่นจะไม่ใช่ผลลัพธ์ที่เฟดต้องการก็ตาม (หนุนทองคำ) |
3. |
เฟดไม่ได้พยายามที่จะสร้างภาวะเศรษฐกิจถดถอยเพื่อคุมเงินเฟ้อ แต่มุ่งมั่นที่จะควบคุมราคาอย่างเต็มที่ แม้ว่าจะเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็ตาม (หนุนทองคำ) |
4. |
Powell ระบุอีกว่า เฟดจะไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ สำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขนาดใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะในขณะที่เฟดพยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อ หลังจากถูกสมาชิกคองเกรสถามว่า เฟดสามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้มากถึง 100 bps ในคราวเดียวหรือไม่ (กดดันทองคำ) |
นายชาร์ลส์ อีแวนส์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก กล่าวว่า "เขาสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้เร็วและแรงขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ" (กดดันทองคำ)
นายแพทริก ฮาร์เกอร์ ประธานเฟด สาขาฟิลาเดลเฟีย กล่าวเมื่อวันพุธว่า "หากข้อมูลในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าแสดงว่า อุปสงค์ชะลอตัวเร็วขึ้น เขาอาจจะสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 bps ในเดือน ก.ค. แต่หากไม่เป็นเช่นนั้นเขาจะสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่มากขึ้น" (กดดันทองคำ)
ผลการสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์ ระบุว่า นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมนโยบายการเงินในเดือน ก.ค. (กดดันทองคำ) สมาคมนายธนาคารเพื่อการจำนอง (MBA) ของสหรัฐ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 8% ในสัปดาห์ที่แล้ว แม้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองปรับตัวสูงขึ้น (กดดันทองคำ)
กองทุน SPDR ถือครองทองคำ -2.03 ตัน สู่ระดับ 1,071.77 ตัน ทำให้ปี 2022 กองทุน SPDR ถือครองทองเพิ่ม 96.11 ตัน
อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจัยต่าง ๆ จะกดดันราคา ทองคำ ลงมาเทส Low $1,823 แต่ในด้าน Bond Yield 10 ปี ร่วงลงสู่ระดับ 3.1261% ขณะที่นักลงทุนปิดรับความเสี่ยง และเข้าซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ (หนุนราคาทองคำ)
นายริชิ ซูแนค รัฐมนตรีคลังอังกฤษ กล่าวว่า "ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะดำเนินการอย่างเต็มที่ในการสกัดเงินเฟ้อ หลังจากมีการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อในอังกฤษพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี" (หนุนราคาทองคำ, หนุนปอนด์, กดดันดอลลาร์)
นายฟาติห์ บิโรล ผู้อำนวยการบริหารของสำนักงานพลังงานสากล (IEA) กล่าวว่า "รัสเซียอาจตัดการส่งก๊าซไปยังยุโรปทั้งหมด เพื่อเพิ่มแรงกดดันทางการเมือง ท่ามกลางการสู้รบในยูเครน" (หนุนทองคำ)
ด้านดัชนีดอลลาร์ อ่อนค่าลง 0.23% แตะที่ระดับ 104.1980 โดยเป็นการปรับตัวลงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่ร่วงลง ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย หลังจากประธานเฟดส่งสัญญาณเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ถึงแม้ว่าการดำเนินการดังกล่าวจะกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจก็ตาม (หนุนทองคำ)
ดัชนี Dow Jones ปิดลดลง 47.12 จุด หรือ -0.15%, ดัชนี S&P500 ปิด -0.13% และดัชนี Nasdaq ปิด -0.15% ขณะที่นักลงทุนปิดรับความเสี่ยง และเข้าซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ (หนุนทองคำ)
อย่างไรก็ดี นักลงทุนควรติดตามทิศทางนโยบายทางการเงินของเฟดอย่างใกล้ชิด และสถานการณ์ความรุนแรงของสงคราม รวมถึงมีการบริหารความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนให้ดี ขอให้โชคดีครับ
การวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิคจากนักวิเคราะห์ FXTODAY
ในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง ทองคำ ทะยานกว่า 2,400 จุด จาก Low $1,826 สู่ High $1,847 ก่อนจะปรับตัวลงมาที่ $1,831 ณ เวลาที่เขียน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มภาพรวมใหญ่ สามารถมองได้ว่า ทองคำ กำลังวิ่งในแนวโน้มขาลง (Downtrend) หากพิจารณาจากการที่กราฟยังไม่สามารถยืนเหนือจุด High เดิมโซน $1,850 และการที่กราฟวิ่งต่ำกว่าเส้นเฉลี่ย EMA100 และ EMA200 แต่ในระยะสั้น ฝั่ง Buyer อาจมีความได้เปรียบ หลังกราฟยังไม่สามารถทะลุร่วงผ่านแนวต้านสำคัญที่ $1,820 ไปได้ และยังคงยืนเหนือเส้นเทรนด์ไลน์สีชมพูได้ ซึ่งเป็นไปตามที่วิเคราะห์เมื่อวานว่า กราฟไม่สามารถหลุดแนวรับนี้ไปได้...
อย่างไรก็ดี กราฟยังคงมีโอกาสกลับลงมาทดสอบแนวรับสำคัญที่โซน $1,820 ซึ่งโซนนี้สามารถเข้า Buy ได้ โดยหากไม่สามารถร่วงลงทะลุแนวรับสำคัญดังกล่าวได้ ก็มีโอกาสที่กราฟจะปรับตัวขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ $1,836 / $1,843 / $1,851 อีกครั้ง ตามลำดับ (โซนนี้สามารถ Sell ได้) ในทางตรงกันข้าม หากสามารถร่วงทะลุโซนแนวต้านสำคัญดังกล่าวไปได้ ก็มีโอกาสดิ่งลงไปทดสอบแนวรับที่โซน $1,810-$1,800 ซึ่งถ้ากราฟร่วงลงมาทะลุโซนสีแดง ให้ยอมแพ้ก่อน (SL) เพื่อรอจังหวะเข้า Buy อีกครั้งในโซน Demand Zone อย่าลืมบริหารความเสี่ยงกันนะครับ
แนวต้านสำคัญ: 1,836 / 1,843 / 1,851
แนวรับสำคัญ: 1,828 / 1,821 / 1,812
Updated
2 years ago
(Jun 23, 2022 12:17)