ทองคำ ขึ้นสุด ลงสุด สวิงกว่า 2,300 จุด โดยพุ่งทะยานจาก Low $1,825 สู่ High $1,846 หลังตัวเลขเศษฐกิจสหรัฐ ออกมา "แย่เกินคาด" แต่ Jerome Powell ย้ำชัด! เฟดมุ่งมั่นเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ กดดันราคา ทองคำ ร่วงปิดตลาดที่ $1,821 อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันราคา ทองคำ ฟื้นตัวเล็กน้อยมาที่ $1,825 ณ เวลาที่เขียน
กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยจำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ลดลง 2,000 ราย สู่ระดับ 229,000 ราย ในช่วงปลายสัปดาห์ (18 มิ.ย.) แต่ยังสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ที่ 227,000 ราย (หนุนทองคำ)
เอสแอนด์พี โกลบอล เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นของสหรัฐ ลดลงสู่ 52.4 ในเดือน มิ.ย. จาก 57.0 ในเดือน พ.ค. และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ ที่ 56.0 ส่วนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นต้น ลดลงสู่ระดับ 51.6 ในเดือน มิ.ย. จาก 53.4 ในเดือน พ.ค. และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ ที่ 53.9 (หนุนทองคำ)
วันนี้ (23 มิ.ย.) นายฟรานซ์ ทิมเมอร์แมนส์ ประธานฝ่ายนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรป (EU) เผยว่า ขณะนี้ มีประเทศในกลุ่ม EU ได้รับผลกระทบจากการลดปริมาณการส่งก๊าซจากรัสเซียแล้ว ประมาณ 10 ประเทศ ขณะที่ปัญหาด้านพลังงานระหว่าง EU กับรัสเซียนั้นเริ่มรุนแรงขึ้น (หนุนทองคำ)
Bond Yield 10 ปี ปรับตัวลดลง แตะระดับต่ำสุดที่ 3.005% ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ จากความกังวลว่า การที่เฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้เกิดภาวะถดถอย และการคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นว่า อัตราผลตอบแทนอาจทำระดับสูงสุดในระยะใกล้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับสูงก็ตาม (หนุนทองคำ)
อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจัยต่าง ๆ จะหนุนราคา ทองคำ พุ่งเทส High ที่ $1,845 แต่ในด้านของ Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แถลงต่อสภาคองเกรสเป็นวันที่ 2 เมื่อวานนี้ ว่า เฟดมุ่งมั่นที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้ออย่างไม่มีเงื่อนไข แม้การดำเนินการของเฟดมีความเสี่ยงที่จะทำให้อัตราว่างงานสูงขึ้นด้วย (กดดันทองคำ)
นางมิเชล โบว์แมน หนึ่งในผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เรียกร้องให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุกมากกว่าที่บรรดานายธนาคารกลางอื่น ๆ กำลังพิจารณาอยู่ โดยกล่าวว่า เธอต้องการให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้สูง จนกว่าจะเกินการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะสั้น (กดดันทองคำ)
ด้านดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์ เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุล ในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.22% แตะที่ระดับ 104.4310 หลังจาก Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยืนยันว่า เฟดจะเดินหน้าควบคุมอัตราเงินเฟ้ออย่างไม่มีเงื่อนไข (กดดันทองคำ)
ส่วนยูโร อ่อนค่า 0.43% เทียบกับดอลลาร์ แตะที่ 1.0521 ดอลลาร์ หลังจากที่มีการเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของเยอรมนีและฝรั่งเศสปรับตัวลง ซึ่งสะท้อนถึงแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ และความผันผวนทางเศรษฐกิจ (กดดันทองคำ)
ดัชนี Dow Jones ปิดเพิ่มขึ้น 194.23 จุด หรือ +0.64%, ดัชนี S&P500 ปิด +0.95% และดัชนี Nasdaq ปิด +1.62% เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อหุ้นที่ปลอดภัย และสามารถต้านทานวัฎจักรทางเศรษฐกิจได้ดี (Defensive Stocks) เช่น หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค และกลุ่มเฮลธ์แคร์ (Healthcare Stock) (กดดันทองคำ)
กองทุน SPDR ถือครองทองคำ -8.70 ตัน สู่ระดับ 1,063.07 ตัน ทำให้ปี 2022 กองทุน SPDR ถือครองทองเพิ่ม 87.41 ตัน (กดดันทองคำ)
เอสแอนด์พี โกลบอล เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นต้นของเยอรมนี อยู่ที่ 52.4 ในเดือน มิ.ย. ลดลงจากระดับ 55.5 ในเดือน พ.ค. และยังลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ที่ 54.5 สำหรับดัชนี PMI ภาคการผลิตขั้นต้น ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.0 ในเดือน มิ.ย. จากระดับ 54.8 ในเดือน พ.ค. ลดลงมากกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ในผลสำรวจของรอยเตอร์ที่ 54.0 (กดดันทองคำ, กดดันยูโร)
อย่างไรก็ดี นักลงทุนควรติดตามทิศทางนโยบายทางการเงินของเฟดอย่างใกล้ชิด และสถานการณ์ความรุนแรงของสงคราม รวมถึง มีการบริหารความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนให้ดี ขอให้โชคดีครับ
การวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิคจากนักวิเคราะห์ FXTODAY
ในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง ทองคำ ขึ้นสุด ลงสุด สวิงกว่า 2,300 จุด โดยพุ่งจาก Low $1,825 สู่ High $1,846 ก่อนจะร่วงปิดตลาดที่ $1,821 จากแรงเทขายทำกำไรของนักลงทุน โดยปัจจุบัน ราคา ทองคำ ฟื้นตัวเล็กน้อยมาที่ $1,825 ณ เวลาที่เขียน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มภาพรวมใหญ่ สามารถมองได้ว่า ทองคำ กำลังวิ่งในแนวโน้มขาลง (Downtrend) หากพิจารณาจากการที่กราฟยังไม่สามารถยืนเหนือจุด High เดิมโซน $1,850 และการที่กราฟวิ่งต่ำกว่าเส้นเฉลี่ย EMA100 และ EMA200 แต่ในระยะสั้น ฝั่ง Buyer อาจมีความได้เปรียบ หลังกราฟยังไม่สามารถทะลุร่วงผ่านแนวต้านสำคัญที่ $1,820 ไปได้ และยังคงยืนเหนือเส้นเทรนด์ไลน์สีชมพูได้ ซึ่งเป็นไปตามที่วิเคราะห์เมื่อวานว่า กราฟไม่สามารถหลุดแนวรับนี้ไปได้... (23 มิ.ย.)
อย่างไรก็ดี กราฟยังคงมีโอกาสกลับลงมาทดสอบแนวรับสำคัญที่โซน $1,813-$1,803 ซึ่งโซนนี้สามารถเข้า Buy ได้ โดยหากไม่สามารถร่วงลงทะลุแนวรับสำคัญดังกล่าวได้ ก็มีโอกาสที่กราฟจะปรับตัวขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ $1,832 / $1,841 / $1,848 อีกครั้ง ตามลำดับ (โซนนี้สามารถ Sell ได้) ในทางตรงกันข้าม หากสามารถร่วงทะลุโซนแนวต้านสำคัญดังกล่าวไปได้ ก็มีโอกาสดิ่งลงไปทดสอบแนวรับที่โซน $1,800 ซึ่งถ้ากราฟร่วงลงมาทะลุโซนสีแดง ให้ยอมแพ้ก่อน (SL) อย่าลืมบริหารความเสี่ยงกันนะครับ
แนวต้านสำคัญ: 1,832 / 1,841 / 1,848
แนวรับสำคัญ: 1,821 / 1,813 / 1,807
Updated
2 years ago
(Jun 24, 2022 11:33)