ขา BUY กุมขมับ!!! ทองคำ ดิ่งฮวบกว่า 4,000 จุด จาก High $1,771 สู่ Low $1,731 ขณะที่ดอลลาร์ทำ New High ใหม่ รอบ 20 ปี ทะลุระดับ 107 อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันราคา ทองคำ ได้ปรับตัวขึ้นมาที่ $1,744 ณ เวลาที่เขียน
ดัชนีดอลลาร์ พุ่งขึ้นทะลุระดับ 107 ทำสถิติสูงสุดใหม่ในรอบ 20 ปี ที่ 107.264 หลังรายงานการประชุมเดือน มิ.ย. ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ระบุว่า เฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ (กดดันทองคำ)
ปอนด์ อ่อนค่า เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันนี้ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองในอังกฤษ (หนุนดอลลาร์, กดดันทองคำ)
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 14-15 มิ.ย. โดยระบุว่า กรรมการเฟดยังคงเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการควบคุมเงินเฟ้อ แม้ว่าการดำเนินการดังกล่าวอาจทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยก็ตาม โดยกรรมการเฟดเชื่อว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% หรือ 0.75% ในการประชุมเดือน ก.ค. ถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม และมีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในระดับที่รุนแรงมากขึ้น เพื่อสกัดเงินเฟ้อ (กดดันทองคำ)
สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐฯ ปรับตัวลงสู่ระดับ 55.3 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี หรือนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 2020 (กดดันทองคำ)
สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน ลดลง 427,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 11.3 ล้านตำแหน่ง ในเดือน พ.ค. แต่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 11.0 ล้านตำแหน่ง (กดดันทองคำ)
S&P Global เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของสหรัฐฯ ปรับตัวลงสู่ระดับ 52.7 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด นับตั้งแต่เดือน ม.ค. จากระดับ 53.4 ในเดือน พ.ค. (กดดันทองคำ)
ดัชนี Dow Jones ปิดเพิ่มขึ้น 69.86 จุด หรือ +0.23%, ดัชนี S&P500 ปิด +0.36% และดัชนี Nasdaq ปิด +0.35% เนื่องจากนักลงทุนปรับตัวรับรายงานการประชุมเดือน มิ.ย. ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ซึ่งบ่งชี้ว่า เฟดมีความมุ่งมั่นที่จะสกัดการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ (กดดันทองคำ)
นายบอริส จอห์นสัน (Alexander Boris de Pfeffel Johnson) นายกรัฐมนตรีอังกฤษ กำลังเผชิญมรสุมทางการเมืองครั้งใหญ่ หลังจากที่นายริชิ ซูแนค รัฐมนตรีคลังอังกฤษ และนายซาจิด จาวิด รัฐมนตรีสาธารณสุข รวมทั้งรัฐมนตรีอีกหลายราย ได้พร้อมใจกันยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง เพื่อกดดันให้นายจอห์นสัน ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษ (หนุนดอลลาร์, กดดันปอนด์, กดดันทองคำ)
Fed Funds Futures กำลัง Price in การคาดการณ์ที่ว่า อัตราดอกเบี้ยจะสูงสุด (Terminal Rate) ที่ 3.40% ในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเช้าวันพุธตามเวลาสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่า Terminal Rate จะอยู่ที่ประมาณ 3.25% ในเดือน ก.พ. (กดดันทองคำ)
Bond Yield อายุ 10 ปี ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. ที่ 2.746% สู่ระดับ 2.919% หลังรายงานการประชุมเดือน มิ.ย. ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ระบุว่า เฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ (กดดันทองคำ)
ชาฮับ จาลินอส หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การซื้อขายระดับมหภาคของ Credit Suisse ระบุว่า ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าธนาคารกลางอื่น ๆ (กดดันทองคำ)
กองทุน SPDR ถือครองทองคำ -7.61 ตัน สู่ระดับ 1,024.44 ตัน ทำให้ปี 2022 กองทุน SPDR ถือครองทองเพิ่ม 48.77 ตัน (กดดันทองคำ)
อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจัยต่าง ๆ จะกดดันราคา ทองคำ ดิ่งฮวบ เทส Low ที่ $1,731 แต่ในด้านเจ้าหน้าที่ยูเครน ได้ประกาศให้ประชาชนที่ยังคงติดค้างอยู่ในเขตปกครองดอแนตสก์ในภาคตะวันออกของยูเครน เร่งเดินทางหนีออกจากพื้นที่ ในขณะที่กองทัพรัสเซียระดมโจมตีอย่างหนักเพื่อยึดครองแคว้นดอนบาสให้ได้ ซึ่งสกัดช่วงลบทองคำ
รวมทั้งปัจจัยจากสำนักข่าวเอพี (Associated Press, AP) ที่รายงานว่า จีนได้กล่าวโจมตีสหรัฐฯ และองค์การนาโต้ในวันพุธ ไม่กี่วันก่อนที่การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กับจีน จะเริ่มขึ้นที่การประชุมระดับรัฐมนตรีของกลุ่มประเทศ G-20 ที่เกาะบาหลี (หนุนทองคำ)
อย่างไรก็ดี นักลงทุนควรติดตามทิศทางนโยบายทางการเงินของเฟดอย่างใกล้ชิด และสถานการณ์ความรุนแรงของสงคราม รวมถึง ควรมีการบริหารความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนให้ดี ขอให้โชคดีครับ
การวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิคจากนักวิเคราะห์ FXTODAY
ในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง ขา BUY กุมขมับ!!! หลัง ทองคำ ดิ่งฮวบกว่า 4,000 จุด จาก High $1,771 สู่ Low $1,731 ก่อนจะปรับตัวขึ้นมาที่ $1,744 ณ เวลาที่เขียน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มภาพรวมใหญ่ ทองคำ กำลังวิ่งในแนวโน้มขาลงอย่างชัดเจน (Downtrend) หากพิจารณาจากการที่กราฟ Breakout กรอบเส้นเทรนด์ไลน์สีชมพู ลงไปเทส $1,731 และยังไม่สามารถยืนเหนือแนวต้านสำคัญ โซน $1,760 ได้ รวมทั้งการที่กราฟวิ่งต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย EMA100 และ EMA200 อย่างชัดเจน บ่งบอกถึงแรง Sell ในปริมาณที่สูง
อย่างไรก็ดี ในภาพรวมระยะสั้น ฝั่ง Buyer อาจมีความได้เปรียบ โดยกราฟยังคงมีโอกาสขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญที่โซน $1,755-$1,770 เพื่อสร้างโมเมนตัมในการลงต่อ (ซึ่งโซนนี้สามารถเข้า Sell ได้) โดยหากกราฟไม่สามารถพุ่งขึ้นทะลุแนวต้านสำคัญดังกล่าวได้ ก็มีโอกาสที่กราฟจะปรับตัวลงมาทดสอบแนวรับที่ $1,737 / $1,731 / $1,722 ตามลำดับ (โซนนี้สามารถ Buy ได้ เนื่องจากเป็น Demand Zone) ในทางตรงกันข้าม หากสามารถพุ่งขึ้นทะลุโซนแนวต้านสำคัญดังกล่าวไปได้ ก็มีโอกาสขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่โซน $1,780 ซึ่งถ้าหากกราฟพุ่งขึ้นเข้าสู่โซนสีแดง ให้ยอมแพ้ก่อน (Stop Loss) แล้วรอเข้าออเดอร์ใหม่อีกครั้งในโซนที่มีนัยสำคัญ (Supply Zone หรือ $1,778-$1,788) อย่าลืมบริหารความเสี่ยงกันนะครับ
แนวต้านสำคัญ: 1,755 / 1,763 / 1,778
แนวรับสำคัญ: 1,737 / 1,731 / 1,722
Updated
2 years ago
(Jul 07, 2022 12:13)