หมีกระทิงพักรบ! ทองคำ ไร้ทิศทาง ทรงตัวเหนือ $1,736 หลังปิดตลาดแดนบวกวานนี้ $1.30 ท่ามกลางตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ”แย่เกินคาด” กดดัชนีดอลลาร์ชะลอการแข็งค่า แต่ความเห็นเชิง Hawkish ของเจ้าหน้าที่เฟด สกัดช่วงบวกทองคำ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันราคา ทองคำ มีการเคลื่อนไหวอยู่ที่ $1,740 ณ เวลาที่เขียน
ดัชนีดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น 0.01% โดยชะลอการแข็งค่า หลังจากพุ่งขึ้น 4 วันทำการติดต่อกัน พร้อมแตะระดับสูงสุดที่ 107.27 เมื่อวันพุธ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 20 ปี ครั้งใหม่ ขณะที่นักลงทุนรอการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานในวันนี้ (กดดันทองคำ)
ดัชนี Dow Jones ปิดพุ่งขึ้น 346.87 จุด หรือ +1.12%, ดัชนี S&P500 ปิด +1.50% และดัชนี Nasdaq ปิด +2.28% เนื่องจากนักลงทุนปรับตัวรับรายงานการประชุมเดือน มิ.ย. ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ซึ่งบ่งชี้ว่า เฟดมีความมุ่งมั่นที่จะสกัดการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ (กดดันทองคำ)
Bond Yield อายุ 10 ปี ขึ้นมาเคลื่อนไหวเหนือ 3% ในวันพฤหัสบดี โดยนักลงทุนรอการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานในวันศุกร์เพื่อประเมินความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ ในขณะที่เฟดเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ (กดดันทองคำ)
นายเจมส์ บุลลาร์ด (James Bullard) ประธานเฟดเซนต์หลุยส์ กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า เขามองเห็น "แนวโน้มเชิงบวก" ที่เฟดจะ Soft Landing ได้ ซึ่งหมายความว่า อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ภายใต้การควบคุมโดยที่การจ้างงานไม่ได้ลดลงมากนัก พร้อมสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75% ในการประชุมในเดือนนี้ (กดดันทองคำ)
นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ (Christopher Waller) หนึ่งในผู้ว่าการเฟดกล่าววานนี้ว่า เกิดความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ "มากเกินไป" พร้อมส่งสัญญาณหนุนเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 bps ในเดือน ก.ค. ตามมาด้วยการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 50 bps ในเดือน ก.ย. และอาจจะขึ้นอีก 25 bps หลังจากนั้น เว้นแต่ว่าเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ (กดดันทองคำ)
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัว 1.9% ในไตรมาส 2/2022 จากเดิมที่บ่งชี้ว่ามีแนวโน้มหดตัว 2.1% (กดดันทองคำ)
อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจัยต่าง ๆ จะกดดันราคาทองคำ แต่ในด้านของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก โดยเพิ่มขึ้น 4,000 ราย สู่ระดับ 235,000 ราย ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุด นับตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 230,000 ราย สกัดช่วงลบทองคำ
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยในวันนี้ว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าสหรัฐฯ ลดลง 1.3% สู่ระดับ 8.55 หมื่นล้านดอลลาร์ ในเดือน พ.ค. (หนุนทองคำ)
ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน (Vladimir Putin) ผู้นำรัสเซีย กล่าวท้าทายให้ชาติตะวันตกยังคงสู้รบต่อไปในสนามรบยูเครน หากยังคงมีความต้องการเช่นนั้น (หนุนทองคำ)
นายอังเดร เคลิน (Andre Kelin) เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำอังกฤษ กล่าวว่า การที่นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ประกาศลาออกจากตำแหน่ง เป็นเพราะเขาใช้นโยบายต่อต้านรัสเซีย และสนับสนุนยูเครน ขณะที่ละเลยต่อความต้องการทางเศรษฐกิจของชาวอังกฤษ (หนุนทองคำ)
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 4% ในวันพฤหัสบดี และกลับมายืนเหนือระดับ 100 ดอลลาร์ได้อีกครั้ง โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า อุปทานน้ำมันในตลาดโลกจะเผชิญภาวะตึงตัว นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้ปัจจัยบวกจากตัวเลขสต็อกน้ำมันเบนซินของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว (หนุนทองคำ)
เงินปอนด์สเตอร์ลิง พุ่งแตะระดับสูงสุดในระหว่างการซื้อขายของเมื่อวานนี้ หลังสื่อหลายสำนักรายงานว่า นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ของอังกฤษจะประกาศลาออกจากตำแหน่ง (หนุนทองคำ)
YouGov ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจความคิดเห็นผ่านระบบออนไลน์ เปิดเผยว่า นายเบน วอลเลซ รัฐมนตรีกลาโหมอังกฤษ เป็นตัวเก็งว่าที่หัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม และว่าที่นายกรัฐมนตรีอังกฤษ หลังจากที่นายบอริส จอห์นสัน (Alexander Boris de Pfeffel Johnson) ประกาศลาออกจากตำแหน่งในวันนี้ (หนุนทองคำ)
อย่างไรก็ดี นักลงทุนควรติดตามทิศทางนโยบายทางการเงินของเฟดอย่างใกล้ชิด และสถานการณ์ความรุนแรงของสงคราม รวมถึง ควรมีการบริหารความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนให้ดี ขอให้โชคดีครับ
การวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิคจากนักวิเคราะห์ FXTODAY
ในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง ทองคำ ไร้ทิศทาง ทรงตัวเหนือ $1,736 หลังปิดตลาดแดนบวกวานนี้ $1.30 โดยปัจจุบันราคา ทองคำ มีการเคลื่อนไหวอยู่ที่ $1,740 ณ เวลาที่เขียน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มภาพรวมใหญ่ ทองคำ กำลังวิ่งในแนวโน้มขาลงอย่างชัดเจน (Downtrend) หากพิจารณาจากการที่กราฟวิ่งอยู่ในกรอบเส้นเทรนด์ไลน์สีชมพูและสีเขียว และยังไม่สามารถยืนเหนือแนวต้านสำคัญ โซน $1,755 ได้ รวมทั้งการที่กราฟวิ่งต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย EMA100 และ EMA200 อย่างชัดเจน บ่งบอกถึงแรง Sell ในปริมาณที่สูง
อย่างไรก็ดี ในภาพรวมระยะสั้น ฝั่ง Buyer อาจมีความได้เปรียบ โดยกราฟยังคงมีโอกาสขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญที่โซน $1,746-$1,755 เพื่อสร้างโมเมนตัมในการลงต่อ (ซึ่งโซนนี้สามารถเข้า Sell ได้) โดยหากกราฟไม่สามารถพุ่งขึ้นทะลุแนวต้านสำคัญดังกล่าวได้ ก็มีโอกาสที่กราฟจะปรับตัวลงมาทดสอบแนวรับที่ $1,736 / $1,731 / $1,722 ตามลำดับ (โซนนี้สามารถ Buy ได้) ในทางตรงกันข้าม หากสามารถพุ่งขึ้นทะลุโซนแนวต้านสำคัญดังกล่าวไปได้ ก็มีโอกาสขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่โซน $1,764-$1,780 ซึ่งถ้าหากกราฟพุ่งขึ้นเข้าสู่โซนสีแดง ให้ยอมแพ้ก่อน (Stop Loss) แล้วรอเข้าออเดอร์ใหม่อีกครั้งในโซนที่มีนัยสำคัญ (Supply Zone) อย่าลืมบริหารความเสี่ยงกันนะครับ
แนวต้านสำคัญ: 1,746 / 1,755 / 1,764
แนวรับสำคัญ: 1,736 / 1,731 / 1,722
Updated
2 years ago
(Jul 08, 2022 12:19)