รถไฟเหาะสุดจัด!! ทองคำ สวิงกว่า 2,000 จุด พุ่งจาก $1,721 สู่ High $1,739 ในวันศุกร์ หลัง PMI สหรัฐฯ "แย่เกินคาด" กดดันให้ดัชนีดอลลาร์ดิ่งฮวบ รวมทั้ง Bond Yield 10 ปี ร่วงแตะ Low ในรอบ 2 เดือน อย่างไรก็ดี ทองคำได้เผชิญแนวต้านสำคัญ และแรงเทขายทำกำไรอย่างหนัก ฉุดทองร่วงแตะ Low $1,720 แต่ยังสามารถปิดตลาดแดนบวกกว่า $8 โดยปัจจุบัน ทองคำ ได้มีการเคลื่อนไหวอยู่ที่ $1,725 ณ เวลาที่เขียน
วันศุกร์ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.02% แตะที่ระดับ 106.11 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค. โดยดอลลาร์ถูกกดดันจากการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐฯ (หนุนทองคำ)
ยูโร ฟื้นตัวในวันศุกร์ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าหลังการเปิดเผยตัวเลขที่สะท้อนว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปีในเดือน ก.ค. (หนุนทองคำ)
วันศุกร์ ดัชนี Dow Jones ปิดลดลง 137.61 จุด หรือ -0.43%, ดัชนี S&P500 ปิด -0.93% และดัชนี Nasdaq ปิด -1.87% นำโดยการปรับตัวลงของหุ้นโซเชียลมีเดียและหุ้นเทคโนโลยีการโฆษณา (AdTech) หลังการเปิดเผยผลประกอบการของบริษัทสแนปเจ้าของแอปพลิเคชันสแนปแชตที่แย่เกินคาก (หนุนทองคำ)
วันศุกร์ Bond Yield อายุ 10 ปี ร่วงลง 12.7 bps สู่ระดับ 2.734% แตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 เดือน หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ สะท้อนสัญญาณของการชะลอตัว คลายความกังวลว่าเฟดจะเลือกขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวมากขึ้น ขณะที่แรงซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงกดดัน Bond Yield เพิ่ม (หนุนทองคำ)
S&P Global เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของสหรัฐฯ อยู่ที่ 52.3 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 24 เดือน จากระดับ 52.7 ในเดือน มิ.ย. โดยได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน (หนุนทองคำ)
S&P Global เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้น อยู่ที่ 47.0 จากระดับ 52.7 ในเดือน มิ.ย. และดัชนี PMI อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคธุรกิจของสหรัฐฯ อยู่ในภาวะหดตัว เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี หรือนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2020 (หนุนทองคำ)
นาง Christine Lagarde ประธาน ECB กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ Funke Mediengruppe ของเยอรมนีที่เผยแพร่เมื่อวันศุกร์ว่า ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับไปสู่เป้าหมาย 2% ซึ่งเป็นความคิดเห็นที่แข็งกร้าวที่สุดของเธอเกี่ยวกับการต่อสู้กับเงินเฟ้อ (หนุนทองคำ)
ทำเนียบขาวประกาศส่งความช่วยเหลือด้านความมั่นคงแก่ยูเครนอีก 270 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงการส่งระบบจรวดหลายลำกล้อง (High Mobility Artillery Rocket System – HIMARS) และโดรนเพื่อปฏิบัติการยุทธวิธี ด้านผู้นำยูเครนปัดเจรจาหยุดยิงกับรัสเซีย จนกว่าจะได้ทวงคืนพื้นที่ที่รัสเซียบุกยึดครองได้เสียก่อน (หนุนทองคำ)
รัสเซียเปิดเผยในวันอาทิตย์ว่าได้ยิงขีปนาวุธโจมตีใส่ท่าเรือที่เมืองโอเดซาของยูเครน ในแถบทะเลดำ แม้ว่ามีข้อตกลงเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วว่า ยูเครนสามารถขนส่งธัญพืชออกจากท่าเรือเมืองโอเดซาได้ (หนุนทองคำ)
นายแพทย์เตโวโดรส อัดฮาโนม เกอเบรออีเยอซุส ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศเมื่อวันเสาร์ (23 ก.ค.) ให้โรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ หลังพบระบาดแล้วในมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก (หนุนทองคำ)
อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจัยต่าง ๆ จะหนุนราคาทองคำพุ่งทะยาน แต่ในด้าน FedWatch Tool ของ CME Group ที่กำลังบ่งชี้ถึงโอกาส 78.7% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 bps และโอกาส 21.3% ในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 100 bps ในการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 26-27 ก.ค. นี้ ปัจจัยดังกล่าวสกัดช่วงบวกทองคำ
รัสเซียและยูเครนได้ลงนามในข้อตกลงส่งออกธัญพืชในวันนี้ ซึ่งจะช่วยคลี่คลายวิกฤตอาหารทั่วโลก โดยพิธีดังกล่าวมีขึ้นที่พระราชวังโดลมาบาห์เชในนครอิสตันบูลของตุรกี (กดดันทองคำ)
อย่างไรก็ดี นักลงทุนควรติดตามทิศทางนโยบายทางการเงินของเฟดอย่างใกล้ชิด และสถานการณ์ความรุนแรงของสงคราม รวมถึง ควรมีการบริหารความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนให้ดี ขอให้โชคดีครับ
การวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิคจากนักวิเคราะห์ FXTODAY
ในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง ทองคำ สวิงกว่า 2,000 จุด พุ่งจาก $1,721 สู่ High $1,739 ในวันศุกร์ ก่อนจะเผชิญแนวต้านสำคัญ และแรงเทขายทำกำไรอย่างหนัก ฉุดทองร่วงแตะ Low $1,720 แต่ยังสามารถปิดตลาดแดนบวกกว่า $8 โดยปัจจุบัน ทองคำ ได้มีการเคลื่อนไหวอยู่ที่ $1,725 ณ เวลาที่เขียน
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มภาพรวมใหญ่ ยังสามารถมองได้ว่า ทองคำ กำลังวิ่งในแนวโน้มขาลง (Downtrend) แม้ว่ากราฟจะสามารถ Break out เส้นเทรนด์ไลน์สีชมพูขึ้นไปได้ แต่ยังไม่สามารถยืนเหนือแนวต้านสำคัญ โซน $1,740 ได้ บ่งบอกถึงปริมาณแรง Sell ที่ยังคงมีอยู่ในตลาด
อย่างไรก็ดี ในภาพรวมระยะสั้น ฝั่ง Buyer อาจมีความได้เปรียบมากกว่า หลังไม่สามารถผ่านแนวรับสำคัญที่วิเคราะห์ไว้เมื่อวันศุกร์ไปได้ ($1,713) แต่กราฟยังคงมีโอกาสลงมาทดสอบแนวรับสำคัญที่โซน $1,720-$1,713 เพื่อ Test เส้นเทรนด์ไลน์สีชมพู และเพื่อสร้างโมเมนตัมในการที่จะขึ้นต่อ โดยหากกราฟไม่สามารถดิ่งลงทะลุแนวรับสำคัญดังกล่าวไปได้ ก็มีโอกาสที่กราฟจะปรับตัวขึ้นไปมาทดสอบแนวต้านสำคัญที่ $1,729 / $1,738 / $1,752 ตามลำดับ (โซนนี้สามารถ Sell ได้) ในทางตรงกันข้าม หากสามารถพุ่งขึ้นทะลุโซนแนวรับสำคัญดังกล่าวไปได้ ก็มีโอกาสลงมาทดสอบแนวรับที่โซน $1,713-$1,703 ซึ่งถ้าหากกราฟพุ่งขึ้นเข้าสู่โซนกรอบสีแดง ให้เรายอมแพ้ก่อน (Stop Loss) แล้วรอเข้าออเดอร์ Buy ใหม่อีกครั้งในโซนที่มีนัยสำคัญ (Demand Zone) อย่าลืมบริหารความเสี่ยงกันนะครับ
แนวต้านสำคัญ: 1,729 / 1,738 / 1,752
แนวรับสำคัญ: 1,720 / 1,713 / 1,703
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
Updated
2 years ago
(Jul 25, 2022 12:46)