ขึ้นสุด ลงสุด!! ทองคำ สวิงกว่า 2,000 จุด โดยพุ่งขึ้นจาก Low $1,787 สู่ High $1,808 หลังตัวเลข CPI ที่ออกมา "แย่เกินคาด" กระตุ้นคาดการณ์เฟดชะลอขึ้นดอกเบี้ย ฉุดดอลลาร์ร่วงเทส Low รอบ 6 สัปดาห์ รวมทั้ง Bond Yield ก็ดิ่งเทส 2.765% เช่นกัน แต่แล้วทองคำได้เผชิญแรงเทขายทำกำไร หลังดอลลาร์ฟื้นตัวอีกครั้ง ขานรับ Fed Hawkish Comments กดทองดิ่งฮวบปิดตลาดแดนลบ เกือบ $2 อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันราคาทองคำได้ทรงตัวอยู่ที่ $1,786 ณ เวลาที่เขียน
กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค เพิ่มขึ้น 8.5% ในเดือน ก.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.7% หลังจากพุ่งแตะระดับ 9.1% ในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี (หนุนทองคำ)
กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 5.9% ในเดือน ก.ค. เมื่อเทียบรายปี โดยต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.1% (หนุนทองคำ)
ดัชนีดอลลาร์ ร่วงลง 1.11% แตะที่ระดับ 105.1960 และด้านของ Bond Yield อายุ 10 ปี ได้ร่วงลงสู่ระดับ 2.723% หลังจากที่สหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งบ่งชี้ว่า เงินเฟ้อของสหรัฐฯ ได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว และจะลดแรงกดดันต่อธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (หนุนทองคำ)
FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนมองว่ามีโอกาส 61.5% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 2.75-3.00% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากโอกาส 31.5% ในช่วงก่อนการเปิดเผย CPI และมองโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ลดลงจาก 68.5% ในช่วงการเปิดเผย CPI เหลือเพียง 38.5% (หนุนทองคำ)
อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจัยต่าง ๆ จะหนุนราคาทองคำพุ่งทะยานกว่า 2,000 จุด แต่ในด้านถ้อยแถลงของนายชาร์ลส์ อีแวนส์ (Charles L. Evans) ประธานเฟดชิคาโก ที่ได้กล่าวไว้ว่า เงินเฟ้อชะลอตัวลงในเดือน ก.ค. เป็นข้อมูล "ในเชิงบวก" เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ที่เฟดเริ่มคุมเข้มทางการเงิน แต่เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับที่สูงอย่างยอมรับไม่ได้ พร้อมคาดการณ์ว่า ดอกเบี้ยจะแตะระดับสูงสุดที่ 4% ในปีหน้า ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดการเงินคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 3.75% ในกลางปีหน้า ปัจจัยดังกล่าวสกัดช่วงบวกทองคำ (กดดันทองคำ)
นายนีล คัชคารี ประธานเฟดมินนิอาโปลิส กล่าวว่า แรงกดดันด้านราคาในเดือน ก.ค. ลดลงนั้น "น่ายินดี" แต่เฟดยัง "อยู่ห่างไกลจากการประกาศชัยชนะ" และจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้สูงกว่าระดับปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 2.25%-2.50% (กดดันทองคำ)
ดัชนี Dow Jones ปิดพุ่งขึ้น 535.10 จุด หรือ +1.63%, ดัชนี S&P500 ปิด +2.13% และดัชนี Nasdaq ปิด +2.89% หลังสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่ขยายตัวต่ำกว่าคาดในเดือน ก.ค. ซึ่งช่วยให้นักลงทุนมีความหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะไม่เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (กดดันทองคำ)
Bitcoin พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดทะลุระดับ 24,000 ดอลลาร์ โดยดีดตัวขึ้นตามตลาดหุ้นวอลล์สตรีท ขานรับดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ต่ำกว่าคาด (กดดันทองคำ)
กองทัพจีนประกาศยุติการซ้อมรบรอบเกาะไต้หวันแล้ว แต่จะยังคงจับตาสถานการณ์ในช่องแคบไต้หวันต่อไป (กดดันทองคำ)
กองทุน SPDR ถือครองทองคำ -1.74 ตัน สู่ระดับ 997.42 ตัน ทำให้ปี 2022 กองทุน SPDR ถือครองทองเพิ่ม 21.76 ตัน (กดดันทองคำ)
อย่างไรก็ดี นักลงทุนควรติดตามทิศทางนโยบายทางการเงินของเฟดอย่างใกล้ชิด และสถานการณ์ความตึงเครียดของจีน-สหรัฐฯ รวมถึง ควรมีการบริหารความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนให้ดี ขอให้โชคดีครับ
การวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิคเมื่อวันอังคารที่ 9/8/22 จากนักวิเคราะห์ FXTODAY
XAU/USD tf. H1
จากที่ได้วิเคราะห์ไปเมื่อวันอังคารที่ 9/8/22 กราฟได้วิ่งตามเทคนิคที่ได้วิเคราะห์ไว้ โดยกราฟได้ปรับตัวขึ้นไปทดสอบกรอบแนวต้านที่ $1,794 และทะลุผ่านโซนนี้ไปได้ กราฟจึงปรับตัวขึ้นต่อมาเทสแนวต้านที่ 2 ที่ $1,800 ก่อนจะปรับตัวลง หลังเผชิญแรงเทขายทำกำไร มาอยู่ที่ $1,787 แต่ด้วยเส้นเทรนด์ไลน์แกร่ง (เส้นสีฟ้า) หนุนทองพุ่งทะยานสู่ High $1,806 เมื่อวานนี้ ก่อนจะถูกตบคว่ำอีกครั้ง โดยปัจจุบัน ราคาได้ทรงตัวอยู่ที่ $1,787 ณ เวลาที่เขียน
การวิเคราะห์ภาพรวมทางเทคนิค วันพฤหัสบดีที่ 11/8/22 จากนักวิเคราะห์ FXTODAY
XAU/USD tf. H1
ในกรอบเวลา 1 ชั่วโมง ราคาทองคำปรับตัวขึ้นมาที่ $1,786 ณ เวลาที่เขียน โดยแนวโน้มภาพรวมใหญ่ สามารถมองได้ว่า ทองคำ กำลังวิ่งในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) หลังไม่สามารถทะลุแนวรับสำคัญ โซน $1,765 ได้ และกราฟได้ยืนเหนือแนวต้านสำคัญที่ $1,777 ไปได้ รวมทั้งการที่กราฟได้วิ่งอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย EMA100 และ EMA200 บ่งบอกถึงปริมาณแรง Buy ที่สูงในตลาด
แต่หากมองในภาพรวมระยะสั้น ฝั่ง Seller อาจมีความได้เปรียบ หากพิจารณาจากการที่กราฟได้ Break out เส้นเทรนด์ไลน์สีฟ้าลงมา (แต่ยังไม่คอนเฟิร์มว่าจะปรับตัวลง เนื่องจากต้องรอกราฟกลับขึ้นไป Test เส้นเทรนด์ไลน์สีฟ้าก่อน) รวมทั้งการที่กราฟวิ่งในกรอบเส้นเทรนด์ไลน์สีเหลืองในแนวโน้มขาลง สามารถมองเป็นนัยได้ว่า กราฟมีโอกาสลงมาทดสอบแนวรับสำคัญที่โซน $1,777 เพื่อ Test แนวรับสำคัญ รวมทั้งเพื่อสร้างโมเมนตัมในการขึ้นต่อ ซึ่งหากกราฟไม่สามารถดิ่งลงทะลุแนวรับสำคัญดังกล่าวไปได้ ก็มีโอกาสที่กราฟจะปรับตัวขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญที่ $1,794 / $1,800 / $1,807 ตามลำดับ (โซนนี้สามารถ Sell ได้) ในทางตรงกันข้าม หากสามารถดิ่งลงทะลุโซนแนวรับสำคัญดังกล่าวไปได้ ก็มีโอกาสลงมาทดสอบแนวรับที่โซน $1,765-$1,754 ซึ่งถ้าหากกราฟดิ่งลงเข้าสู่โซนกรอบสีแดง ให้เรายอมแพ้ก่อน (Stop Loss) แล้วรอเข้าออเดอร์ Buy ใหม่อีกครั้งในโซนที่มีนัยสำคัญ (Demand Zone) อย่าลืมบริหารความเสี่ยงกันนะครับ
แนวต้านสำคัญ: 1,794 / 1,800 / 1,807
แนวรับสำคัญ: 1,777 / 1,765 / 1,754
____________________________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Updated
2 years ago
(Aug 11, 2022 12:10)