เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงทรงตัว
อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคพื้นฐานของญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะเร่งตัวขึ้นอีกครั้งในเดือนเมษายน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาขายปลีกได้ชดเชยผลกระทบจากการอุดหนุนพลังงานของรัฐบาล ประกอบกับการปรับขึ้นค่าจ้างที่สูงในรอบ 3 ทศวรรษ ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นอาจกำลังเตรียมการเปลี่ยนแปลงนโยบาย แม้ว่าผู้ว่าการ Kazuo Ueda จะได้เคยให้คำมั่นว่าจะคงมาตรการผ่อนคลายในปัจจุบันหลังเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนที่แล้ว
ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (CPI) ของญี่ปุ่น ซึ่งไม่รวมอาหารสดแต่รวมราคาสินค้าพลังงาน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 3.4% ในเดือนเมษายนจากปีก่อนหน้า โดยคาดว่าจะดีดตัวขึ้นสูงจาก 3.1% ในเดือนมีนาคมและกุมภาพันธ์ ซึ่งจะนับเป็นการเติบโตที่เร็วที่สุด หลังจากเคยเร่งขึ้นสูงในรอบ 41 ปีที่ 4.2% ในเดือนมกราคม
อย่างไรก็ดี แม้ว่าเงินอุดหนุนจากรัฐบาลสำหรับค่าก๊าซและค่าไฟฟ้าจะช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของครัวเรือนได้ แต่บริษัทจำนวนมากได้เริ่มส่งต่อภาระต้นทุนไปยังราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการในช่วงต้นปีงบประมาณของญี่ปุ่นในเดือนเมษายน ส่งผลให้ตัวเลข CPI เร่งตัวขึ้นอีกครั้ง
ทางด้านตัวเลขราคาขายส่งของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 5.8% ในเดือนเมษายนจากปีก่อนหน้า แต่ชะลอตัวเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกัน บ่งชี้ว่าภาวะขาขึ้นของอัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคอาจถูกจำกัดเมื่อแรงกดดันด้านต้นทุนผ่อนคลายลง
ในขณะเดียวกัน การลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในราคาสินค้าโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ คาดว่าจะส่งผลให้การนำเข้าของญี่ปุ่นลดลง 0.3% ในเดือนเมษายนจากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 โดยจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) ดัชนีราคานำเข้าที่เป็นสกุลเงินเยนลดลง 2.9% ในเดือนเมษายนจากปีก่อนหน้า หลังจากที่เพิ่มขึ้น 9.6% ในเดือนมีนาคม ส่งสัญญาณว่าต้นทุนการนำเข้าเชื้อเพลิงและวัตถุดิบอาจเลยจุดสูงสุดไปแล้ว
ทางด้านการส่งออกของญี่ปุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 3.0% แม้ว่าการส่งออกรถยนต์จะฟื้นตัวขึ้นจากอุปทานเซมิคอนดักเตอร์ที่ดีขึ้น แต่การเติบโตด้านการส่งออกของญี่ปุ่นโดยรวมยังคงอ่อนแอท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ดุลการค้ามีแนวโน้มขาดดุลที่ 613.8 พันล้านเยน (4.54 พันล้านดอลลาร์)
ทั้งนี้ เงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นในวันศุกร์ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงสุดประจำสัปดาห์นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จากการสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนเมื่อวันศุกร์แสดงให้เห็นว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนพฤษภาคมของสหรัฐฯลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มวงเงินกู้ยืมของรัฐบาลกลางอาจทำให้เศรษฐกิจถดถอย ส่งผลให้การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะยาวของผู้บริโภคพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งอาจส่งผลต่อทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หลังจากที่ส่งสัญญาณยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยชั่วคราวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจที่คาดว่าจะส่งผลต่อเงินเยนในสัปดาห์นี้จะอยู่ที่ตัวเลข GDP ไตรมาสแรกของญี่ปุ่นที่จะประกาศในวันพุธ และตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดที่มีกำหนดออกในวันศุกร์ ซึ่งนักวิเคราะห์บางส่วนคาดว่า BOJ อาจละทิ้งนโยบายการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนในช่วงฤดูร้อนที่จะถึงนี้ จึงส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯยังคงมีแนวโน้มแข็งค่ากว่าเงินเยนอยู่ในช่วงนี้
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 135.98, 136.07, 136.21
แนวรับสำคัญ : 135.70, 135.61 , 135.47
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 135.65 – 135.70 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 135.70 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 136.03 และ SL ที่ประมาณ 135.60 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 135.98 – 136.03 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 136.21 และ SL ที่ประมาณ 135.65 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 135.98 – 136.03 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 135.98 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 135.66 และ SL ที่ประมาณ 136.08 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 135.65 – 135.70 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 135.47 และ SL ที่ประมาณ 136.03 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points May 15, 2023 09:28AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 135.29 | 135.47 | 135.66 | 135.84 | 136.03 | 136.21 | 136.39 |
Fibonacci | 135.47 | 135.61 | 135.70 | 135.84 | 135.98 | 136.07 | 136.21 |
Camarilla | 135.73 | 135.77 | 135.80 | 135.84 | 135.87 | 135.90 | 135.94 |
Woodie's | 135.29 | 135.47 | 135.66 | 135.84 | 136.03 | 136.21 | 136.39 |
DeMark's | - | - | 135.75 | 135.88 | 136.12 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2