อัตราเงินเฟ้อแคนาดาดีดตัวกลับขึ้นสูงอีกครั้ง
อัตราเงินเฟ้อประจำปีของแคนาดาล่าสุดเพิ่มขึ้นในเดือนเมษายนเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน มาอยู่ที่ 4.4% สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 4.1% และ 4.3% ในเดือนมีนาคม โดยราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 0.7% จากเดือนมีนาคม สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 0.4% ในขณะที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนเมษายนเร่งตัวขึ้นช้ากว่าเดือนมีนาคม จากราคาผักสด กาแฟและชาที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อยังคงได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม หลังจากมีการประกาศจาก OPEC+ ให้ลดกำลังการผลิตน้ำมันเมื่อเดือนก่อนๆ
ทางด้านตลาดที่อยู่อาศัยของแคนาดาพบสัญญาณการฟื้นตัวหลังจากตกต่ำมาเป็นเวลาหนึ่งปี แม้ต้นทุนการกู้ยืมจะยังคงสูง หลังจากธนาคารแห่งประเทศแคนาดาพักการขึ้นอัตราดอกเบี้ยชั่วคราวเมื่อเดือนที่แล้ว และคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 15 ปีที่ 4.50% นับตั้งแต่เดือนมกราคม
นอกจากนี้ แม้ต้นทุนการกู้ยืมจะสูงขึ้น แต่อัตราการผิดนัดชำระหนี้ยังคงอยู่ในระดับต่ำ หลังจากผู้ให้กู้ขยายระยะเวลาการชำระหนี้และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ประกอบกับปัจจัยหนุนจากอุปทานที่อยู่อาศัยขาดแคลน จากจำนวนผู้อพยพที่สูงเป็นประวัติการณ์ และความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน แม้การเติบโตของค่าจ้างอาจเย็นลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
จึงอาจเพิ่มแรงกดดันให้ BoC ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ในขณะที่ตลาดเงินสะท้อนความเป็นไปได้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 22% จาก10% ที่ BoC จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายครั้งต่อไปในวันที่ 7 มิถุนายน เพื่อดึงเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมาย 2%
ทางด้านเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร จากความกังวลเกี่ยวกับเพดานหนี้ที่ยังไม่ได้ข้อสรุปหลังการหารือเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา และได้นำไปสู่ Safe Haven ของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงจากข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนที่แล้ว สอดคล้องกับตัวเลขภาคการผลิตของสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นในเดือนเมษายน จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นในโรงงานผลิตยานยนต์ ท่ามกลางการผลิตที่ถูกจำกัดจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ในขณะที่ ความเชื่อมั่นของบริษัทก่อสร้างที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 10 เดือนในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากอุปทานที่อยู่อาศัยที่ตึงตัว ส่งผลให้ยังมีโอกาสที่เฟดอาจพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกครั้ง และลดความเป็นไปได้ที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยภายในสิ้นปีนี้ จึงอาจส่งผลให้เงินดอลลาร์แคนาดายังคงปรับตัวขึ้นลงอยู่ในกรอบไปจนถึงอ่อนค่ากว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD USD/CAD
แนวต้านสำคัญ : 1.3482, 1.3486, 1.3493
แนวรับสำคัญ : 1.3470, 1.3466 , 1.3459
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.3465 - 1.3470 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.3470ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3485 และ SL ที่ประมาณ 1.3460 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3482 - 1.3487 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3495 และ SL ที่ประมาณ 1.3465 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3482 - 1.3487 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.3482ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3468 และ SL ที่ประมาณ 1.3492 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.3465 - 1.3470 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3455 และ SL ที่ประมาณ 1.3487 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points May 17, 2023 09:58AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.3451 | 1.3459 | 1.3468 | 1.3476 | 1.3485 | 1.3493 | 1.3502 |
Fibonacci | 1.3459 | 1.3466 | 1.3470 | 1.3476 | 1.3482 | 1.3486 | 1.3493 |
Camarilla | 1.3472 | 1.3474 | 1.3475 | 1.3476 | 1.3478 | 1.3480 | 1.3481 |
Woodie's | 1.3451 | 1.3459 | 1.3468 | 1.3476 | 1.3485 | 1.3493 | 1.3502 |
DeMark's | - | - | 1.3472 | 1.3478 | 1.3489 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2