ภาพรวมเศรษฐกิจอังกฤษล่าสุด
ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) เผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในรัฐสภาเกี่ยวกับความล้มเหลวของธนาคารกลางในการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในอังกฤษที่ยังคงเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงที่สุดในยุโรปตะวันตกที่ 10.1% ในขณะที่ราคาอาหารพุ่งขึ้นในอัตราที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 มาอยู่ที่ 19.1% ในเดือนมีนาคม สูงเป็นอันดับสองในกลุ่มประเทศ G7 รองจากเยอรมนี ส่งผลให้ตลาดคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเพิ่มขึ้นถึง 5% ภายในสิ้นปี 2566
อย่างไรก็ดี กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ปัจจุบันจะเติบโต 0.4% ในปี 2566 แทนที่จะหดตัว 0.3% ตามที่คาดการณ์ไว้ในเดือนเมษายน สะท้อนถึงแรงอุปสงค์ที่คาดไม่ถึงของสหราชอาณาจักร จากการเติบโตของค่าจ้างที่เร็วกว่าปกติ การใช้จ่ายภาครัฐที่สูงขึ้น และความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ดีขึ้น รวมถึงการลดลงของต้นทุนด้านพลังงาน
ทั้งนี้ IMF คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษมีแนวโน้มลดลงเหลือประมาณ 5% ภายในสิ้นปีนี้ และน่าจะกลับสู่เป้าหมาย 2% ภายในกลางปี 2568 โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโต 1% ในปี 2567 และ 2% ในอีก 2 ปีข้างหน้า ก่อนที่จะกลับไปสู่อัตราการเติบโตในระยะยาวที่ประมาณ 1.5% และสนับสนุนการใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดต่อเนื่องเพื่อต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อและการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างที่ไม่ยั่งยืน
ในขณะเดียวกัน BoE เริ่มลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลลง 80 พันล้านปอนด์ (1.01 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ต่อปี หลังจากเข้าซื้อพันธบัตรจำนวน 875 พันล้านปอนด์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในช่วงที่ผ่านมา
ทางด้านผลสำรวจ PMI ของอังกฤษพบการเติบโตในภาคบริการในเดือนพฤษภาคมเริ่มชะลอตัวลงเล็กน้อยจากระดับสูงสุด โดยบริษัทต่างๆ ในภาคบริการของอังกฤษเริ่มปรับขึ้นราคาขายอย่างรวดเร็วหลังจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ภาคการผลิตกลับหดตัวลงอีกครั้ง โดยราคาผู้ผลิตลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 ในขณะที่ราคาขายในภาคการผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 โดยบริษัทต่างๆ ในภาคการผลิตและบริการมีทัศนคติในแง่ลบมากขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า ส่งผลให้ระดับความเชื่อมั่นลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสามเดือน
อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน สูงสุดในรอบ 15 เดือน เนื่องจากครัวเรือนมีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเงินมากขึ้น
ทางด้านเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงแข็งค่าติดต่อกัน เนื่องจากการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯที่คาดว่าจะยังคงสูงขึ้นไปอีกนาน ในขณะที่การเจรจาเพดานหนี้ยังคงไม่ได้ข้อสรุป ส่งผลให้เงินปอนด์อาจมีแนวโน้มทรงตัวไปจนถึงอ่อนค่ากว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้เล็กน้อย
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD GBP/USD
แนวต้านสำคัญ : 1.2439, 1.2445, 1.2454
แนวรับสำคัญ : 1.2421, 1.2415, 1.2406
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.2416 - 1.2421 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.2421ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2444 และ SL ที่ประมาณ 1.2412 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2439 - 1.2444 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2454 และ SL ที่ประมาณ 1.2417 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2439 - 1.2444 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.2439 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2420 และ SL ที่ประมาณ 1.2448 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.2416 - 1.2421 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2406 และ SL ที่ประมาณ 1.2444 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points May 24, 2023 01:15PM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.2421 | 1.2426 | 1.2430 | 1.2435 | 1.2440 | 1.2444 | 1.2449 |
Fibonacci | 1.2426 | 1.2429 | 1.2431 | 1.2435 | 1.2439 | 1.2441 | 1.2444 |
Camarilla | 1.2433 | 1.2434 | 1.2435 | 1.2435 | 1.2437 | 1.2438 | 1.2439 |
Woodie's | 1.2421 | 1.2426 | 1.2430 | 1.2435 | 1.2440 | 1.2444 | 1.2449 |
DeMark's | - | - | 1.2433 | 1.2436 | 1.2442 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2