เศรษฐกิจเยอรมันถดถอยท่ามกลางเงินเฟ้อสูง
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเยอรมัน (GDP) ซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยูโรโซน ลดลง 0.3% ในไตรมาสแรกของปี ลดลงจาก 0.5% ในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจเยอรมันอาจได้เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยแล้วเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา หลังจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเผชิญแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อสูง
โดยการบริโภคภาคครัวเรือนเยอรมันลดลง 1.2% ไตรมาสต่อไตรมาส ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐบาลลดลง 4.9% แต่ในทางตรงกันข้าม การลงทุนได้เพิ่มขึ้นในช่วง 3 เดือนแรกของปี หลังจากลดลงในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2565 โดยการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้น 3.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่การลงทุนในการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 3.9% และการส่งออกเพิ่มขึ้น 0.4% ในขณะที่การนำเข้าลดลง 0.9%
อย่างไรก็ดี กำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักที่ลดลง คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมที่เบาบางลง นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล้วนแล้วแต่กดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจเยอรมันและยูโรโซนในช่วงนี้ ท่ามกลางการเติบโตของค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน ที่คาดว่าจะพุ่งสู่จุดสูงสุดในปีนี้ ในขณะที่ค่าจ้างที่แท้จริงคาดว่าจะลดลงกลับสู่ระดับเดียวกันกับปี 2562 ได้ภายในปี 2568
ทั้งนี้ ในสัปดาห์นี้ ยูโรโซนจะเผยแพร่ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อราคาผู้บริโภคสำหรับเดือนพฤษภาคมในวันพฤหัสบดี ซึ่งคาดว่าจะเป็นการเน้นย้ำว่าธนาคารกลางยุโรปยังคงมีหนทางอีกยาวไกลในการต่อสู้เพื่อควบคุมแรงกดดันด้านราคา โดยขณะนี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานประจำปีอยู่ที่ 5.4% ซึ่งสูงกว่ากรอบเป้าหมายของ ECB ที่ 2%
ทางด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯเผชิญกับแรงกดดันทางด้านราคาอีกครั้ง หลังจากที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐฯเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือนเมษายน ท่ามกลางความยืดหยุ่นของตลาดแรงงาน การฟื้นตัวของภาคการผลิต และกิจกรรมทางธุรกิจที่เร่งตัวขึ้น หนุนแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสที่สอง และอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งอาจกระตุ้นให้ธนาคารกลางสหรัฐฯปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนหน้า จึงคาดว่าจะส่งผลให้เงินยูโรยังคงถูกกดดัน แต่อาจมีการปรับขึ้นลงได้ตามกรอบ ในขณะที่การหารือเกี่ยวกับเพดานหนี้สหรัฐฯที่คาดว่าจะใกล้ถึงบทสรุปได้ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของตลาดลงเล็กน้อย
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD EUR/USD
แนวต้านสำคัญ : 1.0727, 1.0730, 1.0735
แนวรับสำคัญ : 1.0717, 1.0714, 1.0709
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.0712 - 1.0717 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.0717ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0727 และ SL ที่ประมาณ 1.0708 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0727 - 1.0732 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0740 และ SL ที่ประมาณ 1.0713 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0727 - 1.0732 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.0727ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0714 และ SL ที่ประมาณ 1.0736 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.0712 - 1.0717 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0701และ SL ที่ประมาณ 1.0731 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points May 29, 2023 09:41AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.0701 | 1.0709 | 1.0714 | 1.0722 | 1.0727 | 1.0735 | 1.0740 |
Fibonacci | 1.0709 | 1.0714 | 1.0717 | 1.0722 | 1.0727 | 1.0730 | 1.0735 |
Camarilla | 1.0716 | 1.0718 | 1.0719 | 1.0722 | 1.0721 | 1.0722 | 1.0724 |
Woodie's | 1.0701 | 1.0709 | 1.0714 | 1.0722 | 1.0727 | 1.0735 | 1.0740 |
DeMark's | - | - | 1.0719 | 1.0724 | 1.0732 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2