เศรษฐกิจญี่ปุ่นโดยรวมยังคงทรงตัว
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ยังคงเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษอย่างต่อเนื่องอีกระยะหนึ่ง เพื่อตรึงอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ให้กลับสู่เป้าหมายที่ 2% ในขณะที่ยังคงเฝ้าระมัดระวังต่อความเสี่ยงด้านราคาที่อาจเติบโตเกินความคาดหมาย และการเตรียมความพร้อมที่จะใช้นโยบายแบบเข้มงวดตามความเหมาะสม หลังจากที่มีการประชุมหารือเกี่ยวกับการอ่อนค่าของเงินเยนที่มากที่สุดในรอบ 6 เดือนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ในช่วงที่ผ่านมา สร้างแรงกดดันต่อต้นทุนการนำเข้า และส่งผลกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคหลักของญี่ปุ่นแตะ 3.4% ในเดือนเมษายน ซึ่ง BOJ มองว่าได้รับแรงหนุนจากแรงกกดดันทางด้านต้นทุนเป็นส่วนใหญ่ โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นลดลงอย่างไม่คาดคิดในเดือนเมษายนที่ผ่านมา จากคำสั่งซื้อเครื่องจักรการผลิตที่ชะลอตัวท่ามกลางอุปสงค์ทั่วโลกที่ลดลง และจากการชะลอตัวการเติบโตของสหรัฐฯ ยุโรป และจีน
อย่างไรก็ดี จากผลสำรวจกิจกรรมภาคการผลิตของญี่ปุ่น พบการขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือนในเดือนพฤษภาคม จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและคำสั่งซื้อใหม่ที่แตะระดับสูงสุดในรอบ 12 และ 13 เดือนตามลำดับ โดยได้รับแรงหนุนจากแนวโน้มเชิงบวกในปีหน้า และจากความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจและผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบที่อ่อนแอที่สุดในรอบกว่าสองปี และการเติบโตของการจ้างงานที่ช้าที่สุดในรอบ 26 เดือน
ทางด้านภาคธุรกิจญี่ปุ่น พบการใช้จ่ายในโรงงานและอุปกรณ์ รวมถึงในภาคการบริการเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 2558 ในไตรมาสแรก ส่งสัญญาณถึงแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าที่คาดในไตรมาสแรก นำโดยการส่งออกรถยนต์และการผลิตชิปที่ฟื้นตัว รวมทั้งการลงทุนภาคบริการในอสังหาริมทรัพย์
ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์สหรัฐฯเคลื่อนตัวจากระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือนหลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ และเควิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎรของพรรครีพับลิกัน ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อระงับเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ชั่วคราวไปจนถึงเดือนมกราคม 2568 และจำกัดการใช้จ่ายของรัฐบาลกลางบางส่วนเพื่อป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ รวมถึงจากนักลงทุนที่ปรับลดการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ โดยจาก CME FedWatch โอกาสที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 จุดพื้นฐานในการประชุมเดือนนี้ลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 38% จาก 67% ก่อนหน้า จึงอาจส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวขึ้นลงตามกรอบไปจนถึงอ่อนค่ากว่าเงินเยนได้เล็กน้อยในช่วงนี้ ในขณะที่ขาขึ้นของเงินเยนยังคงมีแนวโน้มถูกจำกัด
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 138.84, 138.87, 138.93
แนวรับสำคัญ : 138.72, 138.69, 138.63
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 138.32 – 138.72 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 138.72 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 138.84 และ SL ที่ประมาณ 138.00 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 138.84 – 139.24 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 139.68 และ SL ที่ประมาณ 138.42 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 138.84 – 139.24 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 138.84 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 138.69 และ SL ที่ประมาณ 139.54 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 138.32 – 138.72 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 138.18 และ SL ที่ประมาณ 139.14 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jun 02, 2023 09:59AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 138.54 | 138.63 | 138.69 | 138.78 | 138.84 | 138.93 | 138.99 |
Fibonacci | 138.63 | 138.69 | 138.72 | 138.78 | 138.84 | 138.87 | 138.93 |
Camarilla | 138.71 | 138.72 | 138.74 | 138.78 | 138.76 | 138.78 | 138.79 |
Woodie's | 138.52 | 138.62 | 138.67 | 138.77 | 138.82 | 138.92 | 138.97 |
DeMark's | - | - | 138.66 | 138.76 | 138.81 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2