RBA ยังคงเดินหน้าใช้นโยบายแบบเข้มงวด
ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ล่าสุดตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันอังคาร แสดงความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ว่าการ RBA กล่าวถึงแรงหนุนจากความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้ออาจพุ่งสูงเกินกรอบเป้าหมาย และระยะเวลาที่ยืดเยื้อเกินกว่าที่อัตราเงินเฟ้อจะสามารถกลับสู่ระดับที่เหมาะสม
ทั้งนี้ RBA เพิ่มอัตราอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีก 25 จุดเป็น 4.10% ซึ่งขัดกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยการปรับขึ้นครั้งนี้มีขึ้นหลังจากการปรับขึ้นอย่างไม่คาดคิดในเดือนพฤษภาคม และนับเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 12 ปีที่อัตราดอกเบี้ยเกิน 4%
อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ เกิดจากข้อมูลล่าสุดที่บ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคในออสเตรเลียเพิ่มขึ้นอย่างคาดไม่ถึงในเดือนเมษายน เข้าใกล้ระดับในรอบเกือบ 30 ปี เนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยและพลังงานที่สูงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการอ่านค่าเงินเฟ้อในเดือนเมษายนที่ 6.8% จะต่ำกว่าจุดสูงสุดที่มากกว่า 8% แต่ก็ยังคงสูงกว่าช่วงกรอบเป้าหมายของ RBA ที่ 2%- 3% อย่างมีนัยสำคัญ โดย RBA คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 7% จะกลับไปสู่กรอบเป้าหมายของธนาคารได้ภายในกลางปี 2568 ซึ่งนับว่าเป็นไปได้ช้ากว่าประเทศเศรษฐกิจอื่น ๆ
ทางด้านอัตราเงินเฟ้อด้านราคาบริการพบว่ายังคงอยู่ในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง จากค่าเช่าที่สูงขึ้น ค่าไฟฟ้าที่เร่งตัวเพิ่มขึ้น ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่พบการเพิ่มขึ้นของผลผลิตต่อหน่วยแรงงานที่สอดคล้องกัน และการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะกลางที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้ว่าการธนาคารเน้นย้ำสี่ประเด็นที่ RBA จะติดตามอย่างใกล้ชิดในการตัดสินใจเชิงนโยบายในอนาคต ซึ่งได้แก่ เศรษฐกิจโลก การใช้จ่ายในครัวเรือน การเติบโตของต้นทุนแรงงานต่อหน่วย และอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์
นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังสามารถคงบัญชีเดินสะพัดเกินดุลที่แข็งแกร่งในไตรมาสแรกของปี 2566 ได้ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีอย่างต่อเนื่อง โดยดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลที่ขยายตัวในไตรมาสเดือนมีนาคมได้แรงหนุนจากการส่งออกทรัพยากรและบริการด้านการท่องเที่ยวที่แข็งแกร่ง แม้การเกินดุลการค้าที่คาดว่าจะลดลงอย่างไม่คาดคิดอาจส่งผลกระทบต่อ GDP ไตรมาสแรกได้ 0.2%
ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญของออสเตรเลียยังคงเผชิญกับความท้าทายในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่เลวร้ายลง ส่งผลให้อุปสงค์ลดลง รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับจีนที่มีส่วนทำให้ราคาโลหะตกต่ำ ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์
อย่างไรก็ดี RBA ได้ออกมาเตือนถึงความจำเป็นในการเข้มงวดทางการเงินเพิ่มเติมเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาอยู่ในช่วงเป้าหมาย แม้อาจส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของออสเตรเลียถดถอยชั่วคราว ซึ่งข้อมูล GDP ไตรมาสแรกซึ่งจะเปิดเผยในวันพุธนี้คาดว่าจะสะท้อนถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของออสเตรเลียได้
ทางด้านเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นในวันอังคาร เนื่องจากนักลงทุนยังคงให้ความสนใจถึงความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในอนาคต แม้จะมีการคาดการณ์จากนักลงทุนบางส่วนว่าเฟดอาจจะพักนโยบายชั่วคราวในเดือนมิถุนายนเพื่อประเมินผลกระทบของอัตราที่สูงขึ้นต่อเศรษฐกิจ ก่อนที่จะกลับมาขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม โดยข้อมูลจาก New York Fed ระบุว่าแรงกดดันด้านห่วงโซ่อุปทานลดลงในเดือนพฤษภาคม ซึ่งช่วยบรรเทาแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ผลักดันอัตราเงินเฟ้อทั่วโลก
ในทางกลับกัน ดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หลังการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยที่เหนือความคาดหมาย จึงคาดว่าอาจส่งผลให้ดอลลาร์ออสเตรเลียมีการปรับตัวกลับลงเล็กน้อยไปจนถึงทรงตัวในกรอบก่อนการประชุมนโยบายจากเฟดที่จะถึง
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6682, 0.6686, 0.6694
แนวรับสำคัญ : 0.6666, 0.6662, 0.6654
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6661 - 0.6666 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6666ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6687 และ SL ที่ประมาณ 0.6658 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6682 - 0.6687 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6700 และ SL ที่ประมาณ 0.6662 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6682 - 0.6687 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6682ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6666 และ SL ที่ประมาณ 0.6690 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6661 - 0.6666 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6650 และ SL ที่ประมาณ 0.6678 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jun 07, 2023 09:41AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6647 | 0.6654 | 0.6667 | 0.6674 | 0.6687 | 0.6694 | 0.6707 |
Fibonacci | 0.6654 | 0.6662 | 0.6666 | 0.6674 | 0.6682 | 0.6686 | 0.6694 |
Camarilla | 0.6676 | 0.6677 | 0.6679 | 0.6674 | 0.6683 | 0.6685 | 0.6686 |
Woodie's | 0.6651 | 0.6656 | 0.6671 | 0.6676 | 0.6691 | 0.6696 | 0.6711 |
DeMark's | - | - | 0.6671 | 0.6676 | 0.6691 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2