เงินเยนยังอ่อนต่อเนื่องจากการตรึงดอกเบี้ยที่ต่ำและปัญหาด้านอื่น ๆ
เงินเยนอ่อนลงจนถึงระดับ 150 เยนต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นการอ่อนค่าลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2533 ซึ่งการอ่อนค่าลงในครั้งนี้มาจากการใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินแบบพิเศษ (Ultra-loose Policy) ท่ามกลางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก
เงินเยนที่อ่อนค่าลงทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นใช้มาตรการแทรกแซงตลาดเพื่อพยุงค่าเงินเยน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นโตเกียวพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มส่งออกที่ได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินเยน
นายปิแอร์-โอลิเวียร์ กูรินชาส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ต้องคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษต่อไป ขณะที่ BOJ จะต้องใช้เวลาเพื่อให้เงินเฟ้อไว้ที่เป้าหมาย 2% แต่ก็ต้องเฝ้าระวังความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นสูงเกินคาด
ทั้งนี้ มีการปรับขึ้นค่าจ้างของญี่ปุ่นในหลาย ๆ บริษัทในเดือนเมษายนที่ผ่านมา จากการที่บริษัทใหญ่ ๆ ปรับขึ้นค่าจ้างนับว่าเป็นการปรับขึ้นค่าจ้างในอัตราที่เร็วที่สุดในรอบ 3 ทศวรรษ เนื่องจากมีความต้องการที่อยากให้มีการขึ้นเงินเดือนของคนงานเพื่อให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น แต่ด้านการใช้จ่ายของครัวเรือนยังคงอ่อนแออยู่และแสดงถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังไม่แข็งแรงมากนัก
ข้อมูลเผยว่า เงินเดือนของพนักงานประจำมีการปรับฐานเพิ่มขึ้น 1.1% ในเดือนเมษายน ถือว่าเร็วที่สุดในรอบ 4 เดือน แต่ในขณะเดียวกัน เงินค่าทำงานล่วงเวลาลดลง 0.3% นับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี โดยข้อมูลเงินเดือนของญี่ปุ่นได้รับการจับตามองอย่างมากจากตลาด เนื่องจากผู้กำหนดนโยบายยึดหลักการที่ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นจะสามารถขับเคลื่อนด้วยค่าจ้างที่เพิ่มมากขึ้น
ทาเคชิ มินามิ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของสถาบันวิจัยโนรินชุกินกล่าวว่า "เรายังต้องรอจนถึงเดือนพฤษภาคมเพื่อดูภาพรวมและผลลัพธ์ที่ได้จากการเจรจาด้านแรงงาน แต่ทางด้านการเติบโตในเดือนเมษายนไม่ได้แข็งแกร่งตามที่คาดไว้"
แต่ก็มีข้อมูลอีกด้านที่ได้เปิดเผยให้เห็นถึงการใช้จ่ายของครัวเรือนญี่ปุ่นลดลง 4.4% ในเดือนเมษายนจากปีก่อนหน้า ซึ่งมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะลดลงเพียงแค่ 2.3% และถือเป็นการลดลงที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ด้านการใช้จ่ายด้านบริการก็มีการปรับลดลง 1.9% ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 13 เดือน ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าลดลง 3.4% เมื่อเทียบรายไตรมาส
โดยข้อมูลการใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ที่อ่อนแอนั้น บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงอ่อนไหวอยู่ และจะเริ่มดีขึ้นเมื่อภาคการบริโภคจะเริ่มดีขึ้น เนื่องจากการชะลอตัวทั่วโลกส่งผลต่อภาคการส่งออกของญี่ปุ่นอย่างมีนัยสำคัญ
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 139.63, 139.75, 139.80
แนวรับสำคัญ: 139.47, 139.41, 139.30
ที่มา: Investing.com
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 139.30 | 139.41 | 139.47 | 139.58 | 139.63 | 139.75 | 139.80 |
Fibonacci | 139.41 | 139.48 | 139.52 | 139.58 | 139.64 | 139.68 | 139.75 |
Camarilla | 139.48 | 139.50 | 139.51 | 139.58 | 139.55 | 139.56 | 139.58 |
Woodie's | 139.28 | 139.40 | 139.45 | 139.57 | 139.61 | 139.74 | 139.78 |
DeMark's | - | - | 139.45 | 139.57 | 139.61 | - | - |
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 45.806 | ถือหุ้นไว้ |
STOCH(9,6) | 32.598 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 9.535 | ขายมากเกินไป |
MACD(12,26) | -0.060 | ขาย |
ADX(14) | 21.612 | ขาย |
Williams %R | -83.823 | ขายมากเกินไป |
CCI(14) | -114.4580 | ขาย |
ATR(14) | 0.3990 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | -0.2698 | ขาย |
Ultimate Oscillator | 48.036 | ขาย |
ROC | -0.251 | ขาย |
Bull/Bear Power(13) | -0.4500 | ขาย |
ซื้อ:0 ขาย:8 ถือหุ้นไว้:1 สรุป:ขายทันที |