เยนยังคงมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอีก
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) รายงานไว้ในวันนี้ว่า อัตราเงินเฟ้อในภาคค้าส่งของญี่ปุ่นชะลอตัวลงในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกได้ว่าต้นเหตุที่ทำเกิดต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นและส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคสูงขึ้นอาจลดลง
ดัชนีราคาสินค้าภาคเอกชน (CGPI) ซึ่งใช้วัดราคาที่บริษัทต่างๆ เรียกเก็บจากกันและกันสำหรับสินค้าและบริการ เพิ่มขึ้นเป็น 5.1% ในเดือนพฤษภาคม เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.5% และปรับตัวลดลงจาก 5.9% ในเดือนเมษายน เนื่องจากราคาไฟฟ้า, เชื้อเพลิง, โลหะและสินค้าเคมีภัณฑ์ที่ลดลง
ด้านราคาสินค้าอาหารและเครื่องดื่มในญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นถึง 7.9% ในเดือนพฤษภาคม เมื่อเทียบรายปี และราคาอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 5.5% ในเดือนพฤษภาคม โดยสิ่งนี้บ่งบอกได้ว่าอัตราเงินเฟ้อในภาคธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งรวมถึงภาคร้านค้าปลีกและภาคร้านอาหารยังไม่มีสัญญาณว่าจะชะลอตัวลดลงเลยแม้แต่น้อย
จากประสบการณ์ของญี่ปุ่นที่ได้ต่อสู้กับภาวะเงินฝืดนานหลายสิบปี กำลังมีผลต่อการพิจารณาของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่จะดำเนินการขั้นตอนแรกในการถอนนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากเป็นพิเศษ แม้ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อและค่าจ้างเพิ่มขึ้นก็ตาม
มีการคาดการณ์ของ BOJ ต่ออัตราเงินเฟ้อที่ได้ประกาศออกมาในเดือนที่แล้วที่ 3.5% ว่าจะปรับตัวลดลงในอีกหลายเดือนข้างหน้า ในขณะเดียวกันกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกปรับตัวลดลงเช่นกัน ทั้งนี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า BOJ มีแนวโน้มที่จะคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากเป็นพิเศษไว้ตามเดิมในการประชุมวันที่ 15-16 มิถุนายน และ BOJ อาจจะคาดการณ์ตามเดิมว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะฟื้นตัวขึ้นปานกลาง
นายจิน เคนซากิ จากธนาคารโซซิเอเต เจเนอเรล คาดว่า BOJ จะยังคงนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC) ไว้ตามเดิมในการประชุมสัปดาห์นี้ แต่บีโอเจอาจจะขยายกรอบอัตราดอกเบี้ยให้กว้างขึ้นในการประชุมเดือนกรกฎาคม
ในวันพรุ่งนี้เวลา 19:30 น. (ณ เวลาประเทศไทย) ทางธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะมีการประกาศตัวเลขของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งการตัวเลขคาดไว้จะอยู่ที่ 4.1% โดยทางนักลงทุนได้มีการคาดการณ์แล้วไว้ว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคมจะปรับตัวลดลงและจะมีการขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอย่างน้อยอีกหนึ่งครั้งด้วย นึ่งจึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลว่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงในวันนี้
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 139.54, 139.82, 140.01
แนวรับสำคัญ: 139.07, 138.88, 138.60
ที่มา: Investing.com
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 138.60 | 138.88 | 139.07 | 139.35 | 139.54 | 139.82 | 140.01 |
Fibonacci | 138.88 | 139.06 | 139.17 | 139.35 | 139.53 | 139.64 | 139.82 |
Camarilla | 139.12 | 139.16 | 139.21 | 139.35 | 139.29 | 139.34 | 139.38 |
Woodie's | 138.54 | 138.85 | 139.01 | 139.32 | 139.48 | 139.79 | 139.95 |
DeMark's | - | - | 138.97 | 139.30 | 139.44 | - | - |
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 47.600 | ถือหุ้นไว้ |
STOCH(9,6) | 52.388 | ถือหุ้นไว้ |
STOCHRSI(14) | 54.675 | ถือหุ้นไว้ |
MACD(12,26) | -0.100 | ขาย |
ADX(14) | 25.953 | ถือหุ้นไว้ |
Williams %R | -61.140 | ขาย |
CCI(14) | -60.7076 | ขาย |
ATR(14) | 0.4009 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0000 | ถือหุ้นไว้ |
Ultimate Oscillator | 44.159 | ขาย |
ROC | -0.650 | ขาย |
Bull/Bear Power(13) | -0.3200 | ขาย |
ซื้อ:0 ขาย:6 ถือหุ้นไว้:5 สรุป:ขายทันที |