ยุโรปยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาทั้งหมด 7 ครั้งติดต่อกันและมีดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 3.75% และนักลงทุนก็คาดว่า ECB อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมวันที่ 15 มิ.ย. และอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่งในการประชุมวันที่ 27 ก.ค.ด้วย ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของยูโรโซนอาจจะใช้เวลาอีกนานหลายปีก่อนจะชะลอตัวลงสู่ระดับเป้าหมายที่ 2%
อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในช่วงนี้เกิดจากการที่ค่าแรงมีการปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว และจากอุปสงค์ในภาคบริการยังคงอยู่ในภาวะแข็งแกร่งอยู่ ทั้งนี้ นายคลาส น็อต ประธานธนาคารกลางเนเธอร์แลนด์ได้แสดงความเห็นต่อปัญหาภาวะเงินเฟ้อในทุกวันนี้ไว้ว่า ยุโรปอาจผ่านพ้นช่วงเลวร้ายที่สุดของปัญหาภาวะเงินเฟ้อไปแล้ว ถึงอย่างนั้น อาจจะต้องใช้เวลานานระยะหนึ่งก่อนที่ภาวะเงินเฟ้อจะอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเต็มที่
นอกจากนี้ ECB ได้มีการเปิดเผยผลสำรวจรายเดือนโดยการสอบถามความคิดเห็น 14,000 คนในยูโรโซน โดยผลสำรวจระบุว่า การคาดการณ์เงินเฟ้อสำหรับช่วง 12 เดือนข้างหน้าปรับลดลงสู่ 4.1% ในเดือนเม.ย. จาก 5.0% ในเดือนมี.ค. และการคาดการณ์เงินเฟ้อสำหรับช่วง 3 ปีข้างหน้าลดลงสู่ 2.5% ในเดือนเม.ย. จาก 2.9% ในเดือนมี.ค. และมีการคาดว่าค่าแรงจะปรับขึ้นเล็กน้อยในอนาคต, การว่างงานลง และปรับลดการคาดการณ์ในทางลบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซนอีกด้วย
ทั้งนี้ การเติบโตของเศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสที่ผ่านมาหดตัวลง 0.1% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบรายไตรมาส หลังจากหดตัวลง 0.1% ในไตรมาส 4/2022 ซึ่งเท่ากับว่าเศรษฐกิจยูโรโซนได้เข้าสู่ภาวะถดถอยในทางเทคนิค หรือภาวะที่เศรษฐกิจหดตัวลง 2 ไตรมาสติดต่อกันเรียบร้อยแล้ว
นายมาร์ค วอลล์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ยุโรปของธนาคารดอยช์ แบงก์ระบุว่า "เรามีความกังวลว่า ตลาดแรงงานที่ตึงตัวและการปรับขึ้นค่าแรงอย่างต่อเนื่องอาจจะส่งผลให้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มอยู่สูงกว่าระดับเป้าหมาย" และเขากล่าวเสริมว่า "เมื่อถึงเวลาที่ ECB จัดการประชุมในเดือนก.ย.ปีนี้ ECB ก็อาจจะยังไม่มีความมั่นใจว่า อัตราเงินเฟ้อได้ชะลอตัวลงในระดับที่มากพอที่จะส่งผลให้ ECB หยุดพักจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แล้ว"
นักวิเคราะห์บางรายระบุว่า ถ้าหากธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. นี่ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการกระตุ้นเพื่อให้ ECB ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 27 ก.ค. เช่นกัน เพื่อช่วยรักษาความแข็งแกร่งของค่าเงินยูโร ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินยูโรจะช่วยลดภาวะเงินเฟ้อในยูโรโซนได้โดยผ่านทางการทำให้สินค้านำเข้ามีราคาถูกลง
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.9298, 0.9303, 0.9308
แนวรับสำคัญ: 0.9288, 0.9283, 0.9279
ที่มา: Investing.com
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 0.9279 | 0.9283 | 0.9288 | 0.9293 | 0.9298 | 0.9303 | 0.9308 |
Fibonacci | 0.9283 | 0.9287 | 0.9289 | 0.9293 | 0.9297 | 0.9299 | 0.9303 |
Camarilla | 0.9290 | 0.9291 | 0.9292 | 0.9293 | 0.9294 | 0.9295 | 0.9296 |
Woodie's | 0.9279 | 0.9283 | 0.9288 | 0.9293 | 0.9298 | 0.9303 | 0.9308 |
DeMark's | - | - | 0.9285 | 0.9292 | 0.9295 | - | - |
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 40.951 | ขาย |
STOCH(9,6) | 46.617 | ถือหุ้นไว้ |
STOCHRSI(14) | 50.954 | ถือหุ้นไว้ |
MACD(12,26) | -0.001 | ขาย |
ADX(14) | 27.881 | ขาย |
Williams %R | -84.685 | ขายมากเกินไป |
CCI(14) | -87.4359 | ขาย |
ATR(14) | 0.0021 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | -0.0004 | ขาย |
Ultimate Oscillator | 39.837 | ขาย |
ROC | -0.465 | ขาย |
Bull/Bear Power(13) | -0.0032 | ขาย |
ซื้อ:0 ขาย:8 ถือหุ้นไว้:2 สรุป:ขายทันที |