BOJ ยังคงนโยบายแบบผ่อนคลาย
ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) มีแนวโน้มที่จะคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ รวมถึงนโยบายการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนในสัปดาห์นี้ เช่นเดียวกับการคาดการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระดับปานกลาง เนื่องจากการใช้จ่ายที่แข็งแกร่งของภาคธุรกิจและครัวเรือนซึ่งช่วยชดเชยผลกระทบของอุปสงค์ในต่างประเทศที่ชะลอตัว
นอกจากนี้ BOJ อาจปรับเพิ่มการคาดการณ์ราคาในเดือนกรกฎาคม หากพบอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยคาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการ BOJ ได้ชี้แจงว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการตั้งราคาขององค์กร อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดไว้ และย้ำถึงความมุ่งมั่นของธนาคารกลางเพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทต่างๆได้มีการปรับขึ้นค่าจ้างอย่างเพียงพอ ในการถ่วงดุลอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและอาจส่งผลกระทบต่อภาคครัวเรือน
อย่างไรก็ดี BOJ ได้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านราคาอย่างยั่งยืน ซึ่งบ่งชี้ว่าอาจมีการคงนโยบายที่แบบผ่อนคลายเป็นพิเศษไว้อย่างต่อเนื่องในระยะเวลาอันใกล้นี้ โดยคาดว่า BOJ มีแนวโน้มที่จะรอหลักฐานที่แสดงถึงความสามารถในการรักษาวงจรเชิงบวกของญี่ปุ่นได้ จากการปรับขึ้นของราคาที่จะนำไปสู่ค่าจ้างที่สูงขึ้น และกำลังซื้อที่มากขึ้นสำหรับภาคครัวเรือน ก่อนที่จะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะสั้น
นอกจากนี้ เนื่องจากความต้องการที่ลดลงของสหรัฐฯ และจีน BOJ คาดว่าจะปรับมุมมองเชิงบวกลดลงเล็กน้อยเกี่ยวกับการส่งออกและผลผลิต เมื่อเทียบกับการประชุมครั้งก่อนในเดือนเมษายน
โดยจากการประมาณการเบื้องต้น การส่งออกสุทธิคาดว่าจะอยู่ที่ -0.3% แม้ว่าจะพบการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นเดือนที่สามติดต่อกันในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตของการส่งออกแตะระดับต่ำสุดในรอบสองปี จากตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดสำคัญสำหรับผู้ผลิตญี่ปุ่นอ่อนแอลง ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการสร้างผลกำไรที่เพียงพอ ในการรองรับการปรับขึ้นค่าจ้างในปีหน้า
อย่างไรก็ตาม การส่งออกรถยนต์ที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการบรรเทาปัญหาคอขวดของอุปทาน คาดว่าจะช่วยชดเชยการลดลงของการส่งออกสินค้าอื่นๆ เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ได้บางส่วน
ทั้งนี้ ในไตรมาสแรก เศรษฐกิจของญี่ปุ่นขยายตัวอย่างแข็งแกร่งเกินคาดที่ 2.7% โดยได้แรงหนุนจากอุปสงค์ในประเทศที่แข็งแกร่งและการลงทุนในภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์และบริษัทอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ โดย GDP ของญี่ปุ่นเติบโตมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ครั้งแรกในเดือนมกราคมถึงมีนาคม ซึ่งบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาดจากการใช้จ่ายภายในประเทศ และความพร้อมของสินค้าคงคลังของบริษัท ซึ่งช่วยชดเชยผลกระทบของอุปสงค์ทั่วโลกที่ชะลอตัวลง
ทางด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสดและเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น 4.1% ในเดือนเมษายนเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งเป็นอัตราที่เร็วที่สุดในรอบ 40 ปี
ในขณะเดียวกัน การปรับขึ้นของค่าจ้างอย่างต่อเนื่องได้มีความสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในอนาคต หลังจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นสูงในรอบสี่ทศวรรษ ส่งผลให้ทั้งธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นและรัฐบาลมุ่งมั่นและยึดการปรับขึ้นของค่าจ้างเป็นวัตถุประสงค์หลักของนโยบาย แม้อัตราค่าจ้างจริงที่ไม่รวมอัตราเงินเฟ้อจะมีการลดลง 3.0% ในเดือนเมษายน ซึ่งนับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 และตอกย้ำถึงกำลังซื้อของครัวเรือนที่ลดลงเรื่อยๆ
ทางด้านการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของญี่ปุ่น ขยายตัว 0.5% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ +0.6% เล็กน้อย ในขณะที่การใช้จ่ายด้านบริการต่างๆ เช่น ร้านอาหารและโรงแรมยังคงส่งผลดีต่อการขยายตัวของ GDP ในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม
ในทางกลับกัน อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯล่าสุดที่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี ส่งผลให้นักลงทุนเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะหยุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยชั่วคราว ซึ่งส่งผลให้ตลาดหุ้นพุ่งสูงขึ้นและเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง
นอกจากนี้ การผ่อนคลายนโยบายของจีนได้มีส่วนทำให้สินทรัพย์เสี่ยงพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากที่ธนาคารกลางลดอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนสำรองเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน ซึ่งอาจตามมาด้วยอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานที่ลดลงในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม คาดว่าสกุลเงินเอเชีย รวมถึงเงินเยนญี่ปุ่นจะยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดัน เนื่องจากการคาดการณ์ของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯที่จะยังคงอยู่ในระดับที่สูงต่อไปในปีนี้ ในขณะที่แน้วโน้มระยะสั้นอาจพบการปรับตัวขึ้นลงได้ตามความแข็งแกร่งของมตินโยบายและข้อมูลเศรษฐกิจที่เผยแพร่
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 140.22, 140.30, 140.43
แนวรับสำคัญ : 139.96, 139.88, 139.75
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 139.86 – 139.96 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 139.96 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 140.24 และ SL ที่ประมาณ 139.81 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 140.22 – 140.32 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 140.48 และ SL ที่ประมาณ 139.88 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 140.22 – 140.32 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 140.22 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 139.90 และ SL ที่ประมาณ 140.37 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 139.86 – 139.96 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 139.68 และ SL ที่ประมาณ 140.30 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jun 14, 2023 09:54AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 139.56 | 139.75 | 139.90 | 140.09 | 140.24 | 140.43 | 140.58 |
Fibonacci | 139.75 | 139.88 | 139.96 | 140.09 | 140.22 | 140.30 | 140.43 |
Camarilla | 139.97 | 140.00 | 140.03 | 140.09 | 140.09 | 140.12 | 140.15 |
Woodie's | 139.54 | 139.74 | 139.88 | 140.08 | 140.22 | 140.42 | 140.56 |
DeMark's | - | - | 139.83 | 140.06 | 140.17 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2